กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
สำรวจข้อมูลภาวะโภชนาการ 1 มิ.ย. 2562 22 ก.ค. 2562

 

ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง พร้อมทั้งแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 2-7 ปี และสรุปผล

 

  1. จากการติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเป็นประจำทุกเดือน พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 62 คน ในเดือนมิถุนายน 2562 เป็น 73 คน ในเดือนมกราคม 2563 คิดเป็นร้อยละ 89.02

 

จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลือกผักที่ปลอดสารพิษ การจัดอาหารและภาวะโภชนาการในเด็ก 1 ส.ค. 2562 9 ธ.ค. 2562

 

เชิญวิทยากรเชิญวิทยากรด้านโภชนาการมาให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็ก โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

 

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการอบรม และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็ก

 

กิจกรรมการปลูกผักสวนครัวและเพาะเห็ดนางฟ้า 1 ส.ค. 2562 5 ส.ค. 2562

 

  1. ครูร่วมกันวางแผนงานในการจัดทำกิจกรรมและมอบหมายหน้าที่ที่รับผิดชอบ
  2. จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ โดยให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมและลงมือทำ
  3. การเพาะเห็ดนางฟ้า ให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ เช่น การจัดวางก้อนเห็ด การเฝ้าติดตามผลผลิตและการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยครูจะคอยดูแลให้คำแนะนำ
  4. การปลูกผักต่างๆ ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ตั้งแต่การเตรียมดิน การเพาะปลูกเมล็ดพันธ์ุ การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยครูคอยดูแลให้คำแนะนำ

 

ผลปรากฎว่า เมื่อนำผักที่เด็กๆ ปลูกมาปรุงเป็นอาหารกลางวัน เด็กๆ ก็รับประทานอย่างภาคภูมิใจและมีพฤติกรรมการทางผักที่ดีขึ้น สังเกตได้จากเด็กที่ไม่รับประทานผักมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีและมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ

 

กิจกรรมการพัฒนาติดตามในรายที่มีปัญหาทางโภชนาการและส่งเสริมการจัดเมนูอาหารให้นักเรียนได้รับประทานผักมากขึ้น 1 ส.ค. 2562 3 ก.พ. 2563

 

  1. ปรับปรุงเมนูอาหารกลางวันให้เด็กได้มีโอกาสรับประทานผักมากขึ้น
  2. ส่งเสริมให้เด็กรับประทานผัก โดยผ่านการร่วมกิจกรรมต่างๆของโครงการ "หนูน้อยกินผัก รักสุขภาพ" และสอดแทรกในกระบวนการจัดประสบการณ์ 3.นำผัก ผลผลิต จากการจัดกิจกรรมของโครงการ "หนูน้อยกินผัก รักสุขภาพ" มาปรุงเป็นอาหารกลางวันให้เด็กได้รับประทาน

 

ผลปรากฎว่า เมื่อนำผักที่เด็กๆ ปลูกมาปรุงเป็นอาหารกลางวัน เด็กๆ ก็รับประทานอย่างภาคภูมิใจและมีพฤติกรรมการทางผักที่ดีขึ้น สังเกตได้จากเด็กที่ไม่รับประทานผักมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีและมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ