กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ หนูน้อยกินผัก รักสุขภาพ
รหัสโครงการ 62-L5247-3-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ทุ่งหมอ
วันที่อนุมัติ 8 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กรกฎาคม 2562 - 31 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 27 เมษายน 2563
งบประมาณ 12,257.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอานนท์ ทองน้อย
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวกรอุไร ใบตาเย็บ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.745,100.378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 89 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 3-5 ปี มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ (น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง) มากกว่าเกณฑ์
9.80
2 ร้อยละของเด็ก 3-5 ปี มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ (น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง) ต่ำกว่าเกณฑ์
2.45
3 ร้อยละของเด็ก 3-5 ปี มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ (น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง) ตามเกณฑ์
86.76

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในเด็กไทยเป็นปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยวัยเรียน ผอม เตี้ย อ้วน เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การกินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ กินผัก ผลไม้น้อยลง การบริโภคขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเพิ่มขึ้น และกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายน้อยลง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กไทย โดยเฉพาะอาหารที่ไม่เป็นที่โปรดปรานของเด็ก เห็นจะไม่พ้นผัก และผลไม้ ซึ่งเป็นอาหารที่จะให้สารพวกวิตามินทั้งหลาย อันเป็นตัวการสำคัญในกระบวนการเจริญเติบโต และพัฒนาการต่างๆ ของเด็ก โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยเป็นระยะร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็ก แต่ในปัจจุบันเด็กก่อนวัยเรียนไม่ค่อยชอบทานผัก หรือถ้าหารได้ทานผัก ผักส่วนใหญ่ผู้ปกครองซื้อมากจากตลาด ทำให้เด็กอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหารผัก ที่ไม่ปลอดภัยไม่ปลอดสารพิษ ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคและการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้ และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายที่กระตุ้นให้เด็ก และผู้ปกครอง ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลสุขภาพที่สามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมกิจกรรมทางสุขภาพที่มีความหลากหลายวิธีควบคู่กันไป จะช่วยสร้างโอกาสให้สุขภาพเด็กไทยได้รับการคุ้มครองอย่างปลอดภัย ในการนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของประโยชน์ของผัก ภาวะโภชนาการและการดูแลสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการ หนูน้อยกินผัก รักสุขภาพขึ้นใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอ เพื่อให้เด็กได้ลงมือปลูกผักด้วยตัวเอง ได้ทานผักที่ปลอดสารพิษ เพื่อจะได้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์อายุ

เด็กร้อยละ 80 มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์อายุ

80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

เด็กร้อยละ 80 มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

80.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการรับประทานผัก

พฤติกรรมการทานผักของเด็ก (เด็กทานผักเหลือร้อยละ 0 ) (เด็กร้อยละ 90 ทานผักหมดจาน)

90.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปฏิบัติหน้ที่ผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ทุ่งหมอ มีความรู้ ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็ก

เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการของเด็กร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 96 12,257.00 4 12,257.00
1 - 30 มิ.ย. 62 สำรวจข้อมูลภาวะโภชนาการ 0 0.00 0.00
1 - 31 ส.ค. 62 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลือกผักที่ปลอดสารพิษ การจัดอาหารและภาวะโภชนาการในเด็ก 96 4,157.00 4,157.00
1 - 31 ส.ค. 62 กิจกรรมการปลูกผักสวนครัวและเพาะเห็ดนางฟ้า 0 8,100.00 8,100.00
1 - 31 ส.ค. 62 กิจกรรมการพัฒนาติดตามในรายที่มีปัญหาทางโภชนาการและส่งเสริมการจัดเมนูอาหารให้นักเรียนได้รับประทานผักมากขึ้น 0 0.00 0.00
  1. วิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการ 1.1 เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการนักเรียนภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอ 1.2 ติดตามชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงเด็ก ทุกเดือน และแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-6 ปี กรมอนามัย 1.3 เก็บรวบรวมข้อมูล พฤติกรรมการทานผักของเด็กๆ ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน
  2. จัดทำแผนแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง ครู โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แม่ครัว 2.1 สอดแทรกความรู้ ประโยชน์ของผัก ในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กลงในแผนการจัดประสบการณ์ 2.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่ ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบอาหารกลางวัน และผู้ปกครอง เกี่ยวกับประโยชน์ของการทานผัก วิธีการเลือกผักที่ปลอดสารพิษ การจัดอาหารและภาวะโภชนาการในเด็ก
  3. พัฒนาติดตามในรายที่มีปัญหาโภชนาการพร้อมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการพื้นฐานให้กับเด็กโดยครู
  4. จัดเมนูอาหารกลางวันที่เน้นให้เด็กได้รับประทานผัก
  5. จัดกิจกรรมการปลูกผักและดูแลผัก (ปลูกผักสวนครัวและเพาะเห็ดนางฟ้า)
  6. คืนข้อมูลโภชนาการของเด็กแต่ละคนสู่ผู้ปกครอง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอ มีภาวะโภชนาการตามวัย
  2. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอมีเจตคติที่ดีต่อการรับประทานผัก
  3. ครู ผู้ปกครองและผู้ประกอบอาหารให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2562 13:23 น.