กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรอง ประเมินพัฒนาการและโภชนาการเด็กปฐมวัย 0-5 ปี
รหัสโครงการ 62-L1504-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนานิน
วันที่อนุมัติ 8 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 17,005.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมภพ ทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.404,99.626place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พัฒนาการที่สมวัยเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กไทย การที่เด็กจะมีพัฒนาการสมวัยในทุกๆด้านนั้น ต้องงอาศัยความร่วมมือของหลายๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่แม่ หรือครอบครัวที่ต้องการให้ดูแลที่ถูกต้องตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณและสัดส่วนที่เพียงพอ การออกกำลังกาย การตรวจครรภ์ตามนัด ภายหลังคลอดแล้วมีการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ การให้อาหารเสริมตามวัย ในส่วนของสถานบริการจะส่งเสริมสุขภาพและให้ความช่วยเหลือแม่ และครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งครอบครัว และชุมชนเป็นสถานที่สำหรับเตรียมความพร้อม ทั้งด้านการเคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการเข้าใจภาษา และด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคมให้แก่เด็ก เมื่อครอบครัวและชุมชนมีการเลี้ยงดูเด็กที่ดีแล้ว จะเป็นการวางรากฐานในการพัฒนาคนให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต แต่ในปัจจุบันพ่อแม่ผู้ปกครองมีการทำงานนอกบ้านเพิ่มมากขึ้น ปล่อยให้อยู่กับตากับยาย ปล่อยให้อยู่ตามยถากรรม มีฐานะยากจนเพิ่มมากขึ้น มีหนี้ล้นตัว จึงไม่ค่อยมีเวลาให้กับลูกและยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับตรวจพัฒนาการของลูกตัวเองจึงทำให้ยังตรวจพัฒนาการไม่สมบูรณ์ และชุมชนไม่ค่อยเล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก มีความคิดที่ว่าพอเด็กเข้าโรงเรียน ก็จะมีคุณครูสอนเอง   ทางหน่วยงานได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 0 – 5 ปี จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 0 – 5 ปีขึ้นเพื่อต้องการให้ครอบครัวและชุมชนได้เข้าใจและให้ความสำคัญในการช่วยคัดกรอง ดูแล ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้มีคุณภาพมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กตามกลุ่มเป้าหมาย มีพัฒนาการและโภชนาการที่สมวัย 2.เพื่อให้เด็กตามกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย 3.เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง แกนนำ อสม. ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการและมีทักษ 4.เพื่อให้ผู้ปกครอง แกนนพ สมอ. มีการเฝ้าระวังและกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาเด็กที่มีความผิดปกติโดยการติดตามเยี่ยมบ้านและประเมินพัฒนาการซ้ำกลังจากนั้น 1 เดือนะในการส่งเสริมประเมินพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ได้อย่างถูกต้อง 5.เด็กกลุ่มเป้าหมาย ที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้มีการส่งต่อ หลังจากประเมินซ้ำ 1 เดือน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมาย   2. จัดการฝึกอบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะการตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก โดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance & Promotion Manual) ให้กับผู้ปกครอง แกนนำ อสม. กำหนดเนื้อหา ดังนี้     - การเตรียมความพร้อมก่อนการตรวจคัดกรองพัฒนาการ     - การสร้างสัมพันธภาพกับเด็กเพื่อการคัดกรองพัฒนาการ     - ขั้นตอนการคัดกรองและการกระตุ้นพัฒนาการ โดยปฏิบัติกับเด็กกลุ่มเป้าหมายจริงที่เข้าอบรม     - การบันทึกผลการประเมินพัฒนาการ การบันทึกในแบบรายงานและสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก     - เรื่อง โภชนาการเด็ก     - เรื่อง การสร้างภูมิคุ้มกันในเด็ก     - โรคที่เกิดบ่อยในเด็ก   3.จัดอบรมโดยการแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ตามกลุ่มวัย     -สาธิตการประเมินพัฒนาการในด้านต่างๆ คือ ด้านการเคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษา ด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม   4.ให้แกนนำ อสม.นำข้อมูลที่ได้รับการอบรมไปเผยแพร่โดยใช้หลักการใกล้บ้าน 3 ค 5 บ คือเผยแพร่กับ อสม.ใกล้เคียงจำนวน 3 คน และผู้ปกครองท่านอื่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 5 บ้าน ที่ไม่ได้เข้าร่วมการอบรม พร้อมทั้งจัดทำทะเบียนเด็กปฐมวัยในพื้นที่รับผิดชอบ และคัดกรองประเมินพัฒนาการเด็กในพื้นที่รับผิดชอบ   5.แกนนำ อสม.สรุปผลการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กในพื้นที่รับผิดชอบ ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อคัดกรอง ส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กตามกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองประเมินพัฒนาการและโภชนาการร้อยละ 100   2. ผู้ปกครอง แกนนำ อสม. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการและมีทักษะในการส่งเสริมประเมินพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80   3. ผู้ปกครอง แกนนำ อสม. มีการเฝ้าระวังและกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความผิดปกติโดยการติดตามเยี่ยมบ้านและประเมินพัฒนาการซ้ำหลังจากนั้น 1 เดือนทุกคน   4. เด็กกลุ่มเป้าหมาย ที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้มีการส่งต่อทันที หลังจากประเมินซ้ำ 1 เดือน ร้อยละ 100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2562 16:00 น.