กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มเสี่ยง บ้านคลองปะเหลียน
รหัสโครงการ 62-L1504-2-39
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 2 บ้านคลองปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 25 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 10,360.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางตีม๊ะ สมัครพงษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.404,99.626place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 145 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1097 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งบประมาณ จำนวน 10,360 บาท


หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) อัมพาต หรือ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดและ โรคเบาหวาน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก องค์การอัมพาตโลก (World Stroke Organization: WSO) รายงานว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลก 17 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 6.5 ล้านคน สำหรับในประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียอันเนื่องมาจากการตายก่อนวัยอันควรสูงเป็นอันดับต้นๆ รองลงมาจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและ โรคเบาหวาน จะเห็นได้ว่า อัตราตายด้วย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดและ โรคเบาหวาน นั้นเพิ่มขึ้นทุกปี ในปัจจุบันพบว่าโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดและ โรคเบาหวาน เป็นภัยที่กำลังคุกคามประชากรทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้เพราะโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดและ โรคเบาหวาน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ และยังเป็นโรคที่สามารถ เกิดได้กับประชากรทุกคนและทุกวัย ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคนี้จะได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ในผู้ป่วยบางรายเกิดความพิการกลายเป็นภาระให้กับคนในครอบครัว ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ จึงเป็นปัญหาที่ทุกคนควรตระหนัก       ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณประจำหมู่บ้าน หมูที่ 2 บ้านคลองปะเหลียน เห็นความสำคัญเพื่อให้ประชาชนร่วมกันดูแลป้องกัน แก่ประชาชน ครอบครัว ชุมชน ให้มีความตระหนักและร่วมกันป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโรคหัวใจขาดเลือดและ โรคเบาหวาน โดยเน้นการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดสมองและ โรคหัวใจขาดเลือด การสังเกตสัญญาณเตือนของโรค แนวทางการรับบริการเมื่อพบอาการของโรค และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จึงได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มเสี่ยง (Home BP) ขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการดูแล ป้องกัน ลดปัจจัยเสี่ยง ลดความพิการและเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองต่อไป ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข มีแนวทางการดูแลในกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและ โรคหัวใจขาดเลือด ให้มีการติดตามวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง วันละ 2 ครั้ง เช้าหลังตื่นนอนและก่อนนอน เป็นระยะติดต่อกัน 7 วัน ดังนั้นเพื่อเป็นป้องกันและเฝ้าระวังโรคดังกล่าวข้างต้น จะต้องคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปทุกปี และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ซึ่งจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ ได้เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด เครื่องน้ำหนัก ที่วัดส่วนสูง และและตลับสายวัดรอบเอว แต่จากการสำรวจวัสดุอุปกรณ์เครื่องตรวจวัดต่างๆของชมรมฯ ซึ่งได้ดำเนินการจัดซื้อเมื่อปี 2554 ได้เสื่อมสภาพ ชำรุด ใช้งานไม่ได้ จากการใช้งานมายาวนาน 7-8 ปี จึงมีความจำเป็นต้องมีการซื้อใหม่ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนที่เพียงพอและได้ค่าการตรวจวัดที่เที่ยงตรง ชมรมอาสาสมัครสาธารณประจำหมู่บ้าน หมูที่ 2 บ้านคลองปะเหลียน จึงได้จัดโครงการส่งเสริมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มเสี่ยง (HBPM): Home Blood Pressure Monitoring เพื่อเฝ้าระวังป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ กลุ่มผู้ป่วยเดิมและกลุ่มป่วยใหม่ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและโรคดังกล่าวข้างต้นโดยการสอนและวัดความดันโลหิตที่บ้านด้วยตนเองและ อสม.

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สงสัยป่วยใหม่ HT (B.P.≥ 140/90 mmHg) ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำภายหลัง ได้รับคำแนะนำ/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2. เพื่อเป็นการยืนยันผลการคัดกรอง และได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วย และได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น 3. เพื่อประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดอดในกลุ่มผู้สงสัยป่วยใหม่ความดันโลหิตสูง 4. เพื่อให้บริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความ เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้ผู้สงสัยป่วยใหม่ HT (B.P.≥ 140/90 mmHg) ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำภายหลัง ได้รับคำแนะนำ/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2. เพื่อเป็นการยืนยันผลการคัดกรอง และได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วย และได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น 3. เพื่อประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดอดในกลุ่มผู้สงสัยป่วยใหม่ความดันโลหิตสูง 4. เพื่อให้บริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความ เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. เตรียมรายชื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ กลุ่มผู้ป่วยเดิมและกลุ่มป่วยใหม่
  2. เตรียมรายชื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่จะคัดกรองในปี 2563
  3. สำรวจวัสดุและอุปกรณ์สำหรับที่จะใช้ดำเนินงาน ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด ตลับสายวัดรอบเอวแบบมีค่า BMI เครื่องชั่งน้ำหนัก ที่วัดส่วนสูง 4.จัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับที่จะใช้ดำเนินงาน ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด ตลับสายวัดรอบเอวแบบมีค่า BMI เครื่องชั่งน้ำหนัก ที่วัดส่วนสูง 5.ให้บริการวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง/โดย อสม.ที่บ้าน กลุ่มผู้สงสัยป่วยใหม่ความดันโลหิตสูง (B.P. ≥190/40 mmHg) หลังจาก การคัดกรองความดันโลหิตสูง รายละเอียดการวัดความดันโลหิตด้วย ตนเองที่บ้าน (Home Blood Pressure Monitoring : HBPM) 6.ส่งต่อข้อมูลเพื่อประเมนิความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD risk ) กลุ่มผู้สงสัยป่วยใหม่ความดันโลหิตสูง(B.P. ≥190/40 mmHg) แก่ รพ.สต.บ้านท่าบันได
  4. ให้คำแนะการส่งเสริมสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 8.สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถวัดความดันโลหิตได้ด้วยตนเองถูกต้อง และสามารถทราบถึงอาการและระดับความดันโลหิตที่ต้องมาก่อนนัด     2. ประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง     3. ผู้มีความเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้รับประเมินส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยโรค และได้รับบริการการรักษาเร็ว ลดการเกิด ภาวะแทรกซ้อน     4. ผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับการปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ส่งผลให้อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2562 10:30 น.