กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงด้านระบาดวิทยาของการเจ็บป่วยของประชาชนจากโรคติดต่อแบบเฉียบพลันเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องได้รับบริการดูแลแบบต่อเนื่อง โดยผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 70 ปี เมื่อเกิดแผลกดทับจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 4-6 เท่า ซึ่งในปัจจุบันการใช้ที่นอนลม จะช่วยลดและกระจายแรงกดที่จะกดทับลงบนผิวหนังที่ทาบกับปุ่มกระดูก ส่งผลให้แรงกดระหว่างที่นอนกับผิวหนังลดลง ซึ่งสามารถลดการเกิดแผลกดทับได้

    ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ได้สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและพบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงนอนติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือดูแลตัวเองได้ ยังขาดที่นอนลม เนื่องจากหน่วยบริการมีที่นอนลมมีอยู่จำกัด จึงทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมากขึ้น โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยติดเตียง) ผลการดำเนินโครงการพบว่า


กิจกรรมสำรวจผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว โดยใช้แบบประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีผู้สูงอายุทั้งหมด 2,342 คน ได้รับการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน  ตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล ทั้งหมด 2,342 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยผู้สูงอายุที่มีคะแนนประเมินเอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 จำนวน 25 คน โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง จำนวน 14 คน

กลุ่มที่ 2 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่มีภาวะสับสนทางสมอง จำนวน 8 คน

กลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่ายหรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง จำนวน 3 คน

กลุ่มที่ 4 เหมือนกลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต จำนวน 0 คน


กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และ ญาติ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 1 ครั้ง หลักสูตร 1 วัน

ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 90 ของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ โดยใช้แบบประเมินก่อน-หลังอบรม จำนวน 10 ข้อ ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในกลุ่มไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 23 ผ่านเกณฑ์พอใช้ จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 73 ผ่านเกณฑ์ดี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4 หลังการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผ่านเกณฑ์ดี จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 93 และอยู่ในกลุ่มผ่านเกณฑ์พอใช้ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 7 โดยผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม จึงสรุปได้ว่าการจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น


กิจกรรมการให้บริการสาธารสุขแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติและผู้ดูแล

ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 80 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยติดเตียง)และ ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ผู้ป่วยติดเตียง) ที่มีแผลกดทับได้รับการดูแล และฟื้นฟูสภาพแผลกดทับให้ดีขึ้น จนหายเป็นปกติไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับและแบบประเมินระดับของแผลกดทับ(อ้างอิงจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่า ร้อยละ 100 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับได้และร้อยละ 100 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดแผลกดทับ


กิจกรรมการประชุม/ติดตามผล

ประชุม/ติดตามการดำเนินงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ โดยคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ จำนวน 1 ครั้ง พบว่า ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่ภาวะพึ่งพิงได้ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานและได้มีการประเมินการเกิดแผลกดทับพบว่า ร้อยละ 100 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับได้และร้อยละ 100 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดแผลกดทับ

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
  1. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีจำนวนที่ไม่แน่นอน
  2. ญาติ ผู้ดูแลให้ความสำคัญกับการใช้ที่นอนลมน้อย เนื่องจากลำบากมากกว่าการนอนบนที่นอนธรรมดา
  3. ไม่สามารถจัดประชุมได้ตามกำหนด
  4. กรณีลงเยี่ยมตรวจคัดกรองและสังเกตอาการผู้ถูกกักตัว ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่เสี่ยง จำนวน 14 วัน ประชาชนบางคนไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่
เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ