กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง
รหัสโครงการ 2562 – L8010 – 3 - 2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
วันที่อนุมัติ 22 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มิถุนายน 2562 - 30 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 125,135.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากปัจจุบันมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงด้านระบาดวิทยาของการเจ็บป่วยของประชาชนจากโรคติดต่อแบบเฉียบพลันเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องได้รับบริการดูแลแบบต่อเนื่อง จากการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุทุก 1 ใน 4 คน จะมีภาวะทุพพลภาพ โดยที่ร้อยละ 76 เป็นผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพระยะยาวส่งผลให้ปัญหาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและมีการใช้ทรัพยากรต่างๆในอัตราที่สูงขึ้น

  พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีประชากรทั้งหมด 13,659 คน จากการตรวจประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล พบผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ตรวจสอบสิทธิ์การรักษาและเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 25 ราย ราย แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 (เคลื่อนไหวได้บ้าง มีปัญหาการกิน/การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสน) จำนวน 14 คน กลุ่มที่ 2 (เคลื่อนไหวได้บ้างมีภาวะสับสน และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่าย) จำนวน 8 คน กลุ่มที่ ๓ (เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่ายหรือเจ็บป่วยรุนแรง) จำนวน 3 คน และกลุ่มที่ 4 (เคลื่อนไหวเองไม่ได้ เจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต) จำนวน 0 คน ซึ่งผู้สูงอายุในกลุ่มที่ 2 และ 3 มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวและเป็นผู้ป่วยที่นอนติดเตียง จะส่งให้เกิดแผลกดทับได้ โดยผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 70 ปี เมื่อเกิดแผลกดทับจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 4-6 เท่า เมื่อผู้สูงอายุเกิดแผลกดทับจะทำให้แผลหายช้า เนื่องจากเซลล์ผิวหนังมีจำนวนลดลง ปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลกดทับได้แก่ แรงเสียดสี แรงเฉือน ความชื้น โดยเฉพาะแรงกดทับ เมื่อมีการกดทับผิวหนังที่ทาบกระดูกเป็นเวลานานกว่า 2-6 ชั่วโมง จะทำให้เกิดการอุดกั้นการไหลเวียนเลือดเกิดการตายของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ดังนั้นการลดระยะเวลาของการเกิดแรงกดหรือการกระจายแรงกดรวมถึงการลดระยะเวลาของการเกิดแรงกดที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง จึงเป็นวิธีการป้องกันแผลกดทับที่ดีที่สุด ซึ่งในปัจจุบัน การใช้ที่นอนลม จะช่วยลดและกระจายแรงกดที่จะกดทับลงบนผิวหนังที่ทาบกับปุ่มกระดูก ส่งผลให้แรงกดระหว่างที่นอนกับผิวหนังลดลง ซึ่งสามารถลดการเกิดแผลกดทับได้

  ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ได้สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและพบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงนอนติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือดูแลตัวเองได้ ยังขาดที่นอนลม เนื่องจากหน่วยบริการมีที่นอนลมมีอยู่จำกัด จึงทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมากขึ้น ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงได้รับการคัดกรอง ความสามารถในการดำเนินเนินชีวิตประจำวันและได้มีวัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับได้ ผู้สูงอายุและผู้ดูแลได้รับการบริการสาธารณสุขอย่างครอบคลุมและทั่วถึง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยติดเตียง)
  1. ร้อยละ 80 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยติดเตียง)

  2. ร้อยละ 90 ของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ

  3. ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว

  4. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ผู้ป่วยติดเตียง) ที่มีแผลกดทับได้รับการดูแลและฟื้นฟูสภาพแผลกดทับให้ดีขึ้น จนหายเป็นปกติไม่มีภาวะแทรกซ้อน

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 125,135.00 5 88,837.00
1 ก.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 กิจกรรมที่ 1 สำรวจผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง 0 0.00 0.00
1 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 2 อบรมฟื้นฟูความรู้แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และ ญาติ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 0 15,935.00 13,345.00
1 ก.ย. 62 - 31 ธ.ค. 62 กิจกรรมที่ 3 การให้บริการสาธารสุขแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติและผู้ดูแล 0 94,500.00 69,365.00
1 ธ.ค. 62 - 30 มิ.ย. 63 กิจกรรมที่ 4 ประชุม/ติดตามผล 0 12,700.00 5,127.00
1 มิ.ย. 63 กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 2,000.00 1,000.00

ขั้นเตรียมการ

  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

  2. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง

  3. ประชุมชี้แจงให้คณะกรรมการศูนย์พัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงทราบ

  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ


    ขั้นดำเนินการ


    กิจกรรมที่ 1 สำรวจผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

    1) สำรวจผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

    2) ประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล และสรุปข้อมูลผู้สูงอายุที่มีคะแนนประเมินเอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข


    กิจกรรมที่ 2 อบรมฟื้นฟูความรู้แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และ ญาติ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

    1) ทำแบบประเมินความรู้ก่อน และหลังการอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

    2) บรรยาย/สาธิตให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง


    กิจกรรมที่ 3 การให้บริการสาธารสุขแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติและผู้ดูแล

    1) ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) จัดทำแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP) และปรึกษาปัญหารายกรณีกับสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (care conference)

    2) CM จัดแบ่งผู้สูงอายุให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Care Giver ; CG ) แต่ละคนรับผิดชอบดูแล พร้อมจัดทำ CP รายสัปดาห์ และตารางการปฏิบัติงานมอบหมายให้ CG ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ CG 1 คน ดูแลผู้สูงอายุ 2-3 คนต่อวัน วันละไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที

โดย กลุ่มที่ 1 ให้บริการอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง

  กลุ่มที่ 2 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

  กลุ่มที่ 3 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

  กลุ่มที่ 2 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

3) CG ทำหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขเบื้องต้น การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน การจัดการสภาพแวดล้อม/บ้าน พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่ญาติและผู้ดูแล ตาม CP และประเมินการเกิดแผลกดทับของผู้สูงอายุและให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้อง

4) ประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ (Braden’s Score) หากพบว่า ผู้สูงอายุมีแผลกดทับ ให้แจ้ง CM เพื่อทำหน้าที่ประสานงานแก่ทีมสหวิชาชีพในการดูแลอย่างถูกต้อง หรือรับการส่งต่อโรงพยาบาล

5) CG บันทึกผลการเยี่ยมและการให้บริการสาธารณสุขตามแบบบันทึกการปฏิบัติงาน

6) ศูนย์จัดหาวัสดุ อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นให้แก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตาม CP

7) จ้างเหมาบริการหรือจ่ายค่าตอบแทน CG จ่ายค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาหรือค่าเบี้ยเลี้ยงแก่ CM และหรือบุคลากรสาธารณสุขที่มาช่วยปฏิบัติงาน


กิจกรรมที่ 4 ประชุม/ติดตามผล

1) ประชุมติดตามการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงาน และปรับแผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล

2) ประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ (Braden’s Score)

3) ประเมินระดับของแผลกดทับ

4) ประเมินความรู้ในการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง


กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

5.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

5.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุทุกคนได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี
  2. ผู้สูงอายุได้รับการบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง และครอบคลุม
  3. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียง และได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง
  4. ทุกชุมชน มีระบบสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้อยู่ในครอบครัวได้อย่างมีความสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2562 13:11 น.