กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง

กิจกรรมที่ 3 การให้บริการสาธารสุขแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติและผู้ดูแล1 กรกฎาคม 2562
1
กรกฎาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) จัดทำแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP) และปรึกษาปัญหารายกรณีกับสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (care conference)
  2. CM จัดแบ่งผู้สูงอายุให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Care Giver ; CG ) แต่ละคนรับผิดชอบดูแล พร้อมจัดทำ CP รายสัปดาห์ และตารางการปฏิบัติงานมอบหมายให้ CG ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ CG 1 คน ดูแลผู้สูงอายุ 2-3 คนต่อวัน วันละไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที โดย กลุ่มที่ 1 ให้บริการอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง กลุ่มที่ 2 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง กลุ่มที่ 3 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง กลุ่มที่ 2 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  3. จัดประชุมวางแผน/ประเมิน/รายงานผล การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ผู้ป่วยติดเตียง)เป็นรายบุคคล แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 4 ครั้ง
  4. CG ทำหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขเบื้องต้น การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน การจัดการสภาพแวดล้อม/บ้าน พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่ญาติและผู้ดูแล ตาม CP และประเมินการเกิดแผลกดทับของผู้สูงอายุและให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้อง
  5. ประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ (Braden’s Score) หากพบว่า ผู้สูงอายุมีแผลกดทับ ให้แจ้ง CM เพื่อทำหน้าที่ประสานงานแก่ทีมสหวิชาชีพในการดูแลอย่างถูกต้อง หรือรับการส่งต่อโรงพยาบาล
  6. CG บันทึกผลการเยี่ยมและการให้บริการสาธารณสุขตามแบบบันทึกการปฏิบัติงาน
  7. ศูนย์จัดหาวัสดุ อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นให้แก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตาม CP เช่น แพมเพิส สำลีก้อน ถุงมือ เป็นต้น
  8. จ้างเหมาบริการหรือจ่ายค่าตอบแทน CG จ่ายค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาหรือค่าเบี้ยเลี้ยงแก่ CM และหรือบุคลากรสาธารณสุขที่มาช่วยปฏิบัติงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 80 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยติดเตียง) และ ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ผู้ป่วยติดเตียง) ที่มีแผลกดทับได้รับการดูแล และฟื้นฟูสภาพแผลกดทับให้ดีขึ้น จนหายเป็นปกติไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับและแบบประเมินระดับของแผลกดทับ (อ้างอิงจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่า ร้อยละ 100 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับได้และร้อยละ 100 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดแผลกดทับ