กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้25 กันยายน 2563
25
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง
  2. จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

กิจกรรมที่ 4 ประชุม/ติดตามผล22 มกราคม 2563
22
มกราคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมติดตามการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงาน และปรับแผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล
  2. ประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ (Braden’s Score)
  3. ประเมินระดับของแผลกดทับ
  4. ประเมินความรู้ในการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุม/ติดตามการดำเนินงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ โดยคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ จำนวน 1 ครั้ง พบว่า ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่ภาวะพึ่งพิงได้ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานและได้มีการประเมิน การเกิดแผลกดทับพบว่า ร้อยละ 100 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับได้และร้อยละ 100 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดแผลกดทับ

กิจกรรมที่ 2 อบรมฟื้นฟูความรู้แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และ ญาติ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง18 พฤศจิกายน 2562
18
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม เรื่องการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

  2. บรรยาย/สาธิต ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ช่วยเหลือตัวเองได้และนอนติดเตียง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 90 ของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ โดยใช้แบบประเมินก่อน-หลังอบรม จำนวน 10 ข้อ ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า

ก่อนการอบรม

  • ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในกลุ่มไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 23

  • ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในกลุ่มผ่านเกณฑ์พอใช้ จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 73

  • ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในกลุ่มผ่านเกณฑ์ดี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4

หลังการอบรม

  • ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผ่านเกณฑ์ดี จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 93

  • ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในกลุ่มอยู่ในกลุ่มผ่านเกณฑ์พอใช้ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 7

โดยผู้เข้ารับการอบรม มีคะแนนหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม จึงสรุปได้ว่าการจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมีความรู้เพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่ 3 การให้บริการสาธารสุขแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติและผู้ดูแล1 กรกฎาคม 2562
1
กรกฎาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) จัดทำแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP) และปรึกษาปัญหารายกรณีกับสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (care conference)
  2. CM จัดแบ่งผู้สูงอายุให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Care Giver ; CG ) แต่ละคนรับผิดชอบดูแล พร้อมจัดทำ CP รายสัปดาห์ และตารางการปฏิบัติงานมอบหมายให้ CG ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ CG 1 คน ดูแลผู้สูงอายุ 2-3 คนต่อวัน วันละไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที โดย กลุ่มที่ 1 ให้บริการอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง กลุ่มที่ 2 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง กลุ่มที่ 3 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง กลุ่มที่ 2 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  3. จัดประชุมวางแผน/ประเมิน/รายงานผล การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ผู้ป่วยติดเตียง)เป็นรายบุคคล แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 4 ครั้ง
  4. CG ทำหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขเบื้องต้น การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน การจัดการสภาพแวดล้อม/บ้าน พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่ญาติและผู้ดูแล ตาม CP และประเมินการเกิดแผลกดทับของผู้สูงอายุและให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้อง
  5. ประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ (Braden’s Score) หากพบว่า ผู้สูงอายุมีแผลกดทับ ให้แจ้ง CM เพื่อทำหน้าที่ประสานงานแก่ทีมสหวิชาชีพในการดูแลอย่างถูกต้อง หรือรับการส่งต่อโรงพยาบาล
  6. CG บันทึกผลการเยี่ยมและการให้บริการสาธารณสุขตามแบบบันทึกการปฏิบัติงาน
  7. ศูนย์จัดหาวัสดุ อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นให้แก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตาม CP เช่น แพมเพิส สำลีก้อน ถุงมือ เป็นต้น
  8. จ้างเหมาบริการหรือจ่ายค่าตอบแทน CG จ่ายค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาหรือค่าเบี้ยเลี้ยงแก่ CM และหรือบุคลากรสาธารณสุขที่มาช่วยปฏิบัติงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 80 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยติดเตียง) และ ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ผู้ป่วยติดเตียง) ที่มีแผลกดทับได้รับการดูแล และฟื้นฟูสภาพแผลกดทับให้ดีขึ้น จนหายเป็นปกติไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับและแบบประเมินระดับของแผลกดทับ (อ้างอิงจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่า ร้อยละ 100 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับได้และร้อยละ 100 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดแผลกดทับ

กิจกรรมที่ 1 สำรวจผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง1 กรกฎาคม 2562
1
กรกฎาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • สำรวจผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ปีละ 1 ครั้ง

  • ประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล

  • สรุปข้อมูลผู้สูงอายุที่มีคะแนนประเมินเอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง

กลุ่มที่ 2 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่มีภาวะสับสนทางสมอง

กลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่ายหรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง

กลุ่มที่ 4 เหมือนกลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว โดยใช้แบบประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีผู้สูงอายุทั้งหมด 2,342 คน ได้รับ  การประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน  ตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล ทั้งหมด 2,342 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยผู้สูงอายุที่มีคะแนนประเมินเอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 จำนวน 25 คน โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง จำนวน 14 คน

กลุ่มที่ 2 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่มีภาวะสับสนทางสมอง จำนวน 8 คน

กลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่ายหรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง จำนวน 3 คน

กลุ่มที่ 4 เหมือนกลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต จำนวน 0 คน