กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมสำรวจผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว โดยใช้แบบประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีผู้สูงอายุทั้งหมด 2,342 คน ได้รับการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล ทั้งหมด 2,342 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยผู้สูงอายุที่มีคะแนนประเมินเอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 จำนวน 25 คน โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง จำนวน 14 คน

กลุ่มที่ 2 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่มีภาวะสับสนทางสมอง จำนวน 8 คน

กลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่ายหรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง จำนวน 3 คน

กลุ่มที่ 4 เหมือนกลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต จำนวน 0 คน


กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และ ญาติ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 1 ครั้ง หลักสูตร 1 วัน

ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 90 ของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ โดยใช้แบบประเมินก่อน-หลังอบรม จำนวน 10 ข้อ ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในกลุ่มไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 23 ผ่านเกณฑ์พอใช้ จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 73 ผ่านเกณฑ์ดี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4 หลังการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผ่านเกณฑ์ดี จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 93 และอยู่ในกลุ่มผ่านเกณฑ์พอใช้ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 7 โดยผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม จึงสรุปได้ว่าการจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น


กิจกรรมการให้บริการสาธารสุขแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติและผู้ดูแล

ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 80 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยติดเตียง)และ ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ผู้ป่วยติดเตียง) ที่มีแผลกดทับได้รับการดูแล และฟื้นฟูสภาพแผลกดทับให้ดีขึ้น จนหายเป็นปกติไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับและแบบประเมินระดับของแผลกดทับ(อ้างอิงจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่า ร้อยละ 100 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับได้และร้อยละ 100 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดแผลกดทับ


กิจกรรมการประชุม/ติดตามผล

ประชุม/ติดตามการดำเนินงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ โดยคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ จำนวน 1 ครั้ง พบว่า ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่ภาวะพึ่งพิงได้ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานและได้มีการประเมินการเกิดแผลกดทับพบว่า ร้อยละ 100 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับได้และร้อยละ 100 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดแผลกดทับ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยติดเตียง)
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยติดเตียง) 2. ร้อยละ 90 ของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ 3. ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว 4. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ผู้ป่วยติดเตียง) ที่มีแผลกดทับได้รับการดูแลและฟื้นฟูสภาพแผลกดทับให้ดีขึ้น จนหายเป็นปกติไม่มีภาวะแทรกซ้อน
80.00 100.00
  1. ร้อยละ 100 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับได้
  2. ร้อยละ 93 ของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ
  3. ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว
  4. ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ผู้ป่วยติดเตียง) ที่มีแผลกดทับได้รับการดูแลและฟื้นฟูสภาพแผลกดทับให้ดีขึ้นไม่มีภาวะแทรกซ้อน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 25 25
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 25 25
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ปัจจุบันมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงด้านระบาดวิทยาของการเจ็บป่วยของประชาชนจากโรคติดต่อแบบเฉียบพลันเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องได้รับบริการดูแลแบบต่อเนื่อง โดยผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 70 ปี เมื่อเกิดแผลกดทับจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 4-6 เท่า ซึ่งในปัจจุบันการใช้ที่นอนลม จะช่วยลดและกระจายแรงกดที่จะกดทับลงบนผิวหนังที่ทาบกับปุ่มกระดูก ส่งผลให้แรงกดระหว่างที่นอนกับผิวหนังลดลง ซึ่งสามารถลดการเกิดแผลกดทับได้

    ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ได้สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและพบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงนอนติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือดูแลตัวเองได้ ยังขาดที่นอนลม เนื่องจากหน่วยบริการมีที่นอนลมมีอยู่จำกัด จึงทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมากขึ้น โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยติดเตียง) ผลการดำเนินโครงการพบว่า


กิจกรรมสำรวจผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว โดยใช้แบบประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีผู้สูงอายุทั้งหมด 2,342 คน ได้รับการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน  ตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล ทั้งหมด 2,342 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยผู้สูงอายุที่มีคะแนนประเมินเอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 จำนวน 25 คน โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง จำนวน 14 คน

กลุ่มที่ 2 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่มีภาวะสับสนทางสมอง จำนวน 8 คน

กลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่ายหรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง จำนวน 3 คน

กลุ่มที่ 4 เหมือนกลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต จำนวน 0 คน


กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และ ญาติ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 1 ครั้ง หลักสูตร 1 วัน

ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 90 ของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ โดยใช้แบบประเมินก่อน-หลังอบรม จำนวน 10 ข้อ ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในกลุ่มไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 23 ผ่านเกณฑ์พอใช้ จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 73 ผ่านเกณฑ์ดี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4 หลังการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผ่านเกณฑ์ดี จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 93 และอยู่ในกลุ่มผ่านเกณฑ์พอใช้ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 7 โดยผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม จึงสรุปได้ว่าการจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น


กิจกรรมการให้บริการสาธารสุขแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติและผู้ดูแล

ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 80 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยติดเตียง)และ ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ผู้ป่วยติดเตียง) ที่มีแผลกดทับได้รับการดูแล และฟื้นฟูสภาพแผลกดทับให้ดีขึ้น จนหายเป็นปกติไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับและแบบประเมินระดับของแผลกดทับ(อ้างอิงจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่า ร้อยละ 100 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับได้และร้อยละ 100 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดแผลกดทับ


กิจกรรมการประชุม/ติดตามผล

ประชุม/ติดตามการดำเนินงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ โดยคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ จำนวน 1 ครั้ง พบว่า ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่ภาวะพึ่งพิงได้ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานและได้มีการประเมินการเกิดแผลกดทับพบว่า ร้อยละ 100 สามารถป้องกันและแก้ไขการเกิดแผลกดทับได้และร้อยละ 100 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดแผลกดทับ

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh