กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผมสะอาด ชีวีเป็นสุข (Clean Hair:Happy Life)
รหัสโครงการ 62-L 5245-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 80 (วังปริงเพ็ชรไพศาล)
วันที่อนุมัติ 7 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 สิงหาคม 2562 - 28 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,260.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกมลวรรณ หมัดอะดำ
พี่เลี้ยงโครงการ นายณัฏฐเกียรติ ชำนิธุรการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขามีเกียรติ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.774,100.524place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 44 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 155 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 46 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเหา เป็นโรคที่พบบ่อยมากใเด็กนักเรียนอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น โดยเฉพาะนักเรียนหญิง เกิดจากความไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องนอนเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไปและยังทำให้สุขภาพไม่ดี เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็น เนื่องจากคันหนังศีรษะ จากการสำรวจสุขภาพของผู้นำนักเรียนด้านการส่งเสริมสุขภาพ พบว่า นักเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 80 (วังปริงเพ็ชรไพศาล) เป็นเหาจึงได้จัดทำการศึกษาค้นคว้าภูมิปัญญาท้องถิ่่น พบว่า ใบน้อยหน้าสามารถกำจัดเหาได้ดีมาก โดยไม่เป็นอันตรายและไม่มีอาการแพ้เหมือนใช้สารเคมีซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้มาใช้ในการกำจัดเหา และอีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้รู้จักใช้ภุมิปัญญาและสมุนไพรท้องถิ่น ในการรักษาเด็กที่เป็นเหาและป้องกันโรคเหาลดการระบาดต่อไป   ดังนั้นโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 80 (วังปริงเพ็ชรไพศาล) จึงร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และผู้ปกครองเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบบลเขามีเกียรติ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียน สามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายของตนเอง ข้อที่ 2 เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับปรุงใช้ให้เกิดประโยชน์ ข้อที่ 3 เพื่อป้องกันไม่ได้เกิดเหาในนักเรียนรายใหม่ ข้อที่ 4 เพื่อลดการระคายเคืองหนังศีรษะในเด็กที่เป็นเหา แทนการใช้ยาปัจจุบัน
  1. ผู้ปกครองและนักเรียน สามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายของตนเอง
  2. มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับปรุงใช้ให้เกิดประโยชน์
  3. นักเรียนรายใหม่ไม่เกิดเหา 4.ไม่เกิดการระคายเคืองหนังศีรษะในเด็กที่เป็นเหา
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำยากำจัดเหาภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. กำจัดเหาในเด็กนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยการทำน้ำยาสกัดใบน้อยหน่า ที่เตรียมไว้สระผมให้ทั่วแล้วสวมหมวกพลาสติกหมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จึงล้างออกฟอกด้วยยาสระผมอีกครั้ง ใช้หวีเสนียดสาวเอาตัวและไข่เหาออก ข้อระวังอย่าให้น้ำน้อยหน่าเข้าตา เพราะจะทำให้แสบตา ทำเช่นนี้ทุกวันติดต่อกัน 3 วัน
  3. สาธิตการทำน้ำยากำจัดเหาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้แก่ผู้ปกครองและนักเรียนที่เข้าร่วมอบรม
  4. ให้ความรู้และคำแนะนำทั้งเด็กนักเรียนและผู้ปกครองในการดูแลรักษาความสะอาด ที่อยู่อาศัย ผ้าห่ม หมอน ที่นอน ผ้าเช็ดตัว การสระผมและการทำความสะอาดร่างกาย การใช้เครื่องใช้แยกกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว หวี เป็นต้น
  5. โรงเรียน และ อสม. ร่วมกันออกตรวจเยี่ยมบ้านเด็กนักเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองช่วยสังเกตและมีส่วนร่วมในการดูแลพฤติกรรมการรักษาความสะอาดตนเองที่บ้านและให้หายจากโรคเหา
  6. ครูประจำชั้นและครูผู้รับผิดชอบอนามัยโรงเรียน ดูแล ติดตาม พฤติกรรมการรักษาความสะอาดของเด็กนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งนักเรียนปลอดเหาและไม่กลับมาเป็นอีก
  7. สำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมในการทำโครงการเรื่องนี้ และประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันและกำจัดเหาของนักเรียน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองและนักเรียน สามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายของตนเองได้ถูกต้อง
  2. ผู้ปกครองและนักเรียน สามารถนำสมุนไพรท้องถิ่นมาใช้กับนักเรียนในการกำจัดเหาได้
  3. ไม่มีการเกิดเหาในนักเรียนรายใหม่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2562 08:57 น.