กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ห้วยกระทิง


“ โครงการประชาชนห้วยกระทิงใส่ใจ ต้านภัยโรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562 ”

อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
ชมรม อสม.ตำบลห้วยกระทิง

ชื่อโครงการ โครงการประชาชนห้วยกระทิงใส่ใจ ต้านภัยโรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562

ที่อยู่ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 62-L4115-02-06 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 23 สิงหาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการประชาชนห้วยกระทิงใส่ใจ ต้านภัยโรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562 จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ห้วยกระทิง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการประชาชนห้วยกระทิงใส่ใจ ต้านภัยโรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการประชาชนห้วยกระทิงใส่ใจ ต้านภัยโรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562 " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 62-L4115-02-06 ระยะเวลาการดำเนินงาน 23 สิงหาคม 2562 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 36,450.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ห้วยกระทิง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้มาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค ซึ่งโรคไข้มาลาเรียจะมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค ส่วนโรคไข้เลือดออกจะมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งทั้ง 2 โรคนี้ เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละปี และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ในทุก ๆ ปี โดยทุกภาคส่วนได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคตลอดมา ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ก็พบว่าปัญหาโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงอย่าเห็นได้ชัดมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในหลาย ๆ พื้นที่ตลอดมา การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมากด้วย เพราะอาศัยแค่ภาครัฐและเอกชนอย่างเดียว ทำให้การควบคุมและการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก ประสบความสำเร็จได้ล่าช้า และไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ ซึ่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ได้นำนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขมาใช้ในการรณรงค์ป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ โดยใช้มาตรการ 3 เก็บ ได้แก่ 1.เก็บบ้าน ให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่อยู่อาศัยของยุง 2.เก็บขยะรอบบ้านโดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 3.เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำต้องปิดฝาให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงวางไข่ และใช้มาตรการ 5 ป. 1 ข. ได้แก่ 1.ปิดภาชนะน้ำกิน น้ำใช้ให้มิดชิดหลังการตักใช้น้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันยุงลงไปวางไข่ 2.เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วันเพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง 3.ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำ ในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว ถังซีเมนต์เก็บน้ำขนาดใหญ่ 4.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย 5.ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย และ 1 ข. ขจัดไข่ยุง การขัดไข่ยุงลายในภาชนะด้วย โดยใช้ใยขัดล้าง หรือแปรงชนิดนุ่มช่วยในการขัดล้าง และทิ้งน้ำที่ขัดล้างนั้นบนพื้นดินเพื่อให้ไข่แห้งตาย การระบาดของโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง ยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกมีอัตราป่วยที่สูงขึ้นและลดลงในแต่ละปีสลับกันเป็นวงรอบ จากสถิติ 5 ปี ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2557 – ปี 2561 มีอัตราป่วยโรคมาลาเรีย 1,314.2 /68.11 /1088.06 /423.09/201.25 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และมีอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก 22.62 /45.41 /101.21 /24.88/ 67.08 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ดังนั้นการควบคุมและป้องกันโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือ ทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานเชิงรุกโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคดังกล่าว การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค จึงต้องเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ กระทิง พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกยังมีผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกระทิง เห็นถึงผลกระทบของโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรค ซึ่งจำเป็นต้องมีการควบคุมและป้องกันโรค ตลอดจนการรณรงค์ให้ประชาชนในตำบลมความรู้ และตระหนักในการดูแลตนเองและชุมชน จึงได้จัดทำโครงการประชาชนห้วยกระทิงใส่ใจ ต้านภัยโรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562 ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญในการป้องกัน ดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ข้อที่ 1 เพื่อควบคุมจำนวนผู้ป่วยมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ให้ลดน้อยลง
  2. ข้อที่2 เพื่อให้ประชาชนและนักเรียนมีความรู้ และมีพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และมาลาเรียที่ถูกต้อง
  3. ข้อที่3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดระดับการระบาดของโรค

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. โครงการประชาชนห้วยกระทิงใส่ใจ ต้านภัยโรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 90
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนและนักเรียน มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก     ๒. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีจำนวนลดลง     ๓. ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ตำบลห้วยกระทิงปลอดโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก     ๔. ช่วยให้ให้ประชาชนและนักเรียน มีการตื่นตัว เฝ้าระวังในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. โครงการประชาชนห้วยกระทิงใส่ใจ ต้านภัยโรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562

วันที่ 1 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

๑. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตำบลห้วยกระทิง โดยมี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง เป็นที่ปรึกษาในการจัดโครงการ ๒. ชี้แจงโครงการแก่ผู้รับผิดชอบและสมาชิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกระทิง ๓. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในตำบลห้วยกระทิง ๔. อาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ออกพื้นที่ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนทราบถึงพิษภัยของโรคไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก และร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง พร้อมแจกทรายอะเบท โลชั่นทากันยุง และสเปรย์ไล่ยุง ๕ .อาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ออกพื้นที่ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง พร้อมทั้งค้นหายุงและสำรวจสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และในชุมชน ๖. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะในโรงเรียนและชุมชน ๗. พ่นหมอกควันในโรงเรียน มัสยิด และในชุมชน 6 เดือนครั้ง และหากมีผู้ป่วยในพื้นที่ จะมีการพ่นหมอกควันตามมาตรการ 1 3 7 ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และพ่นสารเคมีตกค้าง ในการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย ๘. ประเมินผลและสรุปผลโครงการ 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันโรคที่มียุง เป็นพาหะในโรงเรียนและชุมชน จำนวน 140 คน - แกนนำเด็กนักเรียนโรงเรียนกูวาและแบหอ จำนวน 90 คน - ประชาชนในตำบลห้วยกระทิง จำนวน 50 คน 2.พ่นหมอกควันและพ่นสารเคมีติดผนังในโรงเรียน มัสยิด และในชุมชน   (ค้นหาลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน และในชุมชน)   - โรงเรียนบ้านกูวา   - โรงเรียนบ้านแบหอ   - ศพด.บ้านบารู   - มัสยิดในตำบลห้วยกระทิง   - ปอเนาะแบหอ ตำบลห้วยกระทิง   - พื้นที่ระบาดของโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในตำบลห้วยกระทิง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๑. ประชาชนและแกนนำนักเรียน มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก         ๒. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีจำนวนลดลง         ๓. ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ตำบลห้วยกระทิงปลอดโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก         ๔. ช่วยให้ให้ประชาชนและแกนนำนักเรียน มีการตื่นตัว เฝ้าระวังในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก

 

70 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อที่ 1 เพื่อควบคุมจำนวนผู้ป่วยมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ให้ลดน้อยลง
ตัวชี้วัด : - ผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียลดลง ร้อยละ 30 จากปีที่ผ่านมา - ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 30 จากปีที่ผ่านมา
0.00

 

2 ข้อที่2 เพื่อให้ประชาชนและนักเรียนมีความรู้ และมีพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และมาลาเรียที่ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : - กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 - กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีพฤติกรรมที่ถูกต้อง ร้อยละ 80
0.00

 

3 ข้อที่3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดระดับการระบาดของโรค
ตัวชี้วัด : - บ้านผู้ป่วยที่เป็นโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออก ได้รับการพ่นหมอกควัน และพ่นสารเคมีติดผนัง ร้อยละ 100 - ประชาชนเข้าร่วมในการทำกิจกรรม ร้อยละ 80
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 140
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 90
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ข้อที่ 1 เพื่อควบคุมจำนวนผู้ป่วยมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ให้ลดน้อยลง (2) ข้อที่2 เพื่อให้ประชาชนและนักเรียนมีความรู้ และมีพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และมาลาเรียที่ถูกต้อง (3) ข้อที่3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดระดับการระบาดของโรค

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) โครงการประชาชนห้วยกระทิงใส่ใจ ต้านภัยโรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการประชาชนห้วยกระทิงใส่ใจ ต้านภัยโรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562 จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 62-L4115-02-06

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ชมรม อสม.ตำบลห้วยกระทิง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด