กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด ”
ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง



หัวหน้าโครงการ
นางวิภาดา เต็มยอด กรรมการและเลขานุการกองทุน




ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด

ที่อยู่ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 113,950.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ 6 กำหนดให้องค์กรปกครองส่่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้มีกองทุนหลักประกันสุขภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื้น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ในประเด็นต่าง ๆ คือ (1) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข (2) เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสขภาพและการป้องกันโรคขององค์กรหรือกลุ่มประชาชนและหน่วยงานอื้น (3) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์พัฒนาเด็กเล้ก หรือศูนย์ที่ดำเนินการกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการกองทุน (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุข และนอกเหนือจากการพิจารณาอนุมัติโครงการแล้ว คณะกรรมการกองทุน ยังมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติแผนการเงินประจำปี การออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน สนับสนุนให้บุคคลในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งในที่บ้าน ในใชุมชน หรือหน่วยบริการให้คำแนะนำในการจัดทำข้อมูลและโครงการหรือกิจกรรมที่เกียวกับงานสาธารณสุขของกลุ่มเป้าหมาย แก่หน่วยงาน องค์กรหรือกลุ่มประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนพิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงาน รายงานการรับเงิน การจ่ายเงิน และเงินคงเหลือกองทุน และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานอื้น ๆ ตามความเหมาะสม
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว คณะกรรมการกองทุน และการดำเนินงานของสำนักงานเลขานุการกองทุนจึงเป็นกลไกสำคัญในความสำเร็จของการดำเนินงานของกองทุน การพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเข้าใจในระเบียบของกองทุน จะสามารถทำให้การดำเนินงานของกองทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การพิจารณาอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มีความถูกต้อง ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์และได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด ประจำปี 2563 ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน
  2. เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล
  3. เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ
  4. เพื่อให้คณะอนุกรรมการคณะต่าง ๆ ได้มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานของกองทุน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. การบริหารจัดการกองทุน
  2. ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
  3. ประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ
  4. กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการกองทุน
  5. จัดซื้อวัสดุสำนักงาน
  6. อบรมเพ่ิมศักยภาพคณะกรรมการกองทุน/คณะอนุกรรมการ
  7. กิจกรรมจัดทำแผนสุขภาพชุมชนกองทุนตำบล
  8. ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
  9. ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
  10. ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
  11. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 18

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คณะกรรมการได้รับการพัฒนาศักยภาพ ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานกองทุน สามารถดำเนินงานกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการต่าง ๆ ดำเนินการถูกต้อง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุน
หน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ตำบลนาโหนด ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการในเรื่องของสุขภาพไม่น้อยกว่า 5 หน่วยงาน
สามารถติดตาม และรายงานผลการดำเนินการตามโครงการได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณทั้งหมด คณะอนุกรรมการ มีความเข้าใจในบทบาทและอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง ทำให้การดำเนินงานกองทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการกองทุน

วันที่ 24 ธันวาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.กำหนดวันประชุม พร้อมจัดทำหนังสือเชิญประชุม และระเบียบวาระการประชุม 2.จัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุม 3.จัดส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมเอกสารระเบียบวาระการประชุม 4.จัดประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ในวันที่ 24 ธันวาคม 2562 ได้จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 1 ประจำปี 2563 (ครั้งที่ 5/2562) โดยมีคณะกรรมการเข้าประชุม จำนวน 17 คน และมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 3 คน มติที่ประชุมรับทราบ และเห็นชอบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1.รับทราบผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของหน่วยงาน  กลุ่ม องค์กรต่าง ๆ ซึ่งได้รับงบประมาณดำเนินโครงการในปี 2562 จำนวน 25 โครงการ
2.เห็นชอบร่างแผนสุขภาพชุมชนกองทุนตำบล (เพิ่มเติม ครั้งที่ 1/2563) 3. เห็นชอบร่างแผนการเงินประจำปี 2563 (แก้ไขเปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 1) 4.อนุมัติโครงการและงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการของโรงเรียนวัดหัวหมอน หมู่ที่ 2 ตำบลนาโหนด จำนวน 1 โครงการ งบประมาณ 30,000 บาท
5.อนุมัติโครงการและงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการของโรงเรียนวัดบ่วงช้าง หมู่ที่ 9 ตำบลนาโหนด จำนวน 1 โครงการ งบประมาณ 10,000 บาท

 

18 0

2. ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำหนังสือเชิญประชุม จัดประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ที่ประชุมมีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่่นที่มีภาวะพึ่งพิง ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชนเทศบาลตำบลนาโหนด ซึ่งเป็นบุคคลในเขตบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร จำนวน 23 ราย โดยในวันดังกล่าว มีคณะอนุกรรมการ เข้าประชุม จำนวน 9 คน และผู้เกี่ยวข้อง 1 คน รวม 10 คน

 

10 0

3. จัดซื้อวัสดุสำนักงาน

วันที่ 17 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง โดยดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ.2560

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กล่องพลาสติกสำหรับจัดเก็บเอกสาร จำนวน 2 กล่อง
ทำให้การจัดเก็บเอกสารเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เอกสารมีความปลอดภัย ง่ายต่อการค้นหา

 

0 0

4. ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

วันที่ 19 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำหนังสือเชิญประชุม แจ้งนัดประชุม พร้อมจัดส่งเอกสารประกอบการประชุม ดำเนินการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  ในวันที่ 19 มิถุนายน 2563 เวลา 09.03 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลนาโหนด โดยมีคณะอนุกรรมการ และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม จำนวน 9 คน
มติที่ประชุม -เห็นชอบข้อเสนอการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง และแผนการดูแลรายบุคคลของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร จำนวน 22 คน เป็นเงิน 110,000 บาท
-เห็นชอบข้อเสนอการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง และแผนการดูแลรายบุคคลของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด จำนวน 28 คน เป็นเงิน 140,0000 บาท
โดยเริ่มแผนการดูแลตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2563 ถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2564

 

12 0

5. ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

วันที่ 3 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1.จัดทำหนังสือเชิญประชุม
2.จัดประชุม 3.สรุปผลการประชุม แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในวันที่ 3 สิงหาคม 2563 โดยมีคณะอนุกรรมการและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน ที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
-เห็นชอบข้อเสนอการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผุ้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และแผนการดูแลรายบุคคล ฯ ของศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชนเทศบาลตำบลนาโหนด จำนวน 65 คน ดังนี้
ข้อเสนอการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผุ้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร จำนวน 32 คน โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2564 จำนวน 21 คน งบประมาณ 105,000 บาท และมีระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2563-5 กันยายน 2564 จำนวน 11 คน งบประมาณ 55,000 บาท
ข้อเสนอการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผุ้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด  จำนวน 31 คน โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 6  กันยายน 2563 ถึงวันที่ 5  กันยายน  2564 จำนวน 31 คน งบประมาณ 154,500 บาท รวมงบประมาณอนุมัติ 314,500 บาท

 

11 0

6. อบรมเพ่ิมศักยภาพคณะกรรมการกองทุน/คณะอนุกรรมการ

วันที่ 1 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดอบรมให้ความรู่้แก่คณะกรรมการ อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินดำเนินงาน และบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ บทบาท อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ แนวทางขั้นตอนการเขียนโครงการเพื่อขอรับทุน หน่วยงานที่ขอรับทุน  และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกองทุน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการ อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ผู้แทน กลุ่ม องค์กรต่าง ๆ จำนวน 35 คน ในวันที่ 1 กันยายน 2563 ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลนาโหนด โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุน มีความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนเพิ่มมากขึ้น จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างกองทุนที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าช้าง อ.บางกล่ำ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 11 กันยายน 2563 โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 17 คน

 

40 0

7. กิจกรรมจัดทำแผนสุขภาพชุมชนกองทุนตำบล

วันที่ 1 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดอบรม/ประชุมเชิงปฏิบัติการ แก่คณะกรรมการ อนุกรรมการ ผู้แทนกลุ่ม องค์กร หน่วยงานต่าง  ๆ โรงเรียน ผู้แทนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุน จำนวน 40 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดอบรม/ประชุมเชิงปฏิบัติการแก่คณะกรรมการ อนุกรรมการ ผู้แทนกลุ่ม องค์กร ผู้แทนโรงเรียน ผู้แทนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้แทน อสม. ผู้แทนผู้สูงอายุ จำนวน 35 คน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนำเสนอข้อมูลปัญหาในพื้นที่ สามารถนำข้อมูลที่ได้ มาจัดทำเป็นร่่างแผนสุขภาพชุมชนกองทุนตำบลได้

 

40 0

8. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุน

วันที่ 30 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำหนังสือเชิญประชุม จัดประชุม แจ้งมติที่ประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ทต.นาโหนด ในวันที่ 30 กันยายน 2563 เวลา 10.30 น. เป็นต้นไป โดยมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม 13 คน ที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบ เรื่่องต่าง ๆ ดังนี้
1.เห็นชอบรายงานการเงิน 2.เห็นชอบแผนกองทุนสุขภาพชุมชนกองทุนตำบล ประจำปี 2564 3.เห็นชอบแผนการเงินกองทุนฯ ประจำปี 2564 4.เห็นชอบโครงการบริหารจัดการกองทุน ประจำปี 2564

 

18 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน
ตัวชี้วัด : มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ จำนวน 20 คน
2.00 20.00 18.00

 

2 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล
ตัวชี้วัด : จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ อย่างน้อย 5 หน่วยงาน
1.00 5.00 7.00

 

3 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ
ตัวชี้วัด : จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ ร้อยละ 80 ของโครงการ
1.00 80.00 72.00

 

4 เพื่อให้คณะอนุกรรมการคณะต่าง ๆ ได้มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานของกองทุน
ตัวชี้วัด : คณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง
2.00 90.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 18 18
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 18 18

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน (2) เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล (3) เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ (4) เพื่อให้คณะอนุกรรมการคณะต่าง ๆ ได้มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานของกองทุน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การบริหารจัดการกองทุน (2) ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (3) ประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ (4) กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการกองทุน (5) จัดซื้อวัสดุสำนักงาน (6) อบรมเพ่ิมศักยภาพคณะกรรมการกองทุน/คณะอนุกรรมการ (7) กิจกรรมจัดทำแผนสุขภาพชุมชนกองทุนตำบล (8) ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (9) ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (10) ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (11) กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางวิภาดา เต็มยอด กรรมการและเลขานุการกองทุน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด