กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างฝันพัฒนาจินตนาการเด็กสานปลาตะเพียนใบเตยหนาม ตะกร้อ ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-LNK-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองช้าง
วันที่อนุมัติ 16 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กันยายน 2562 - 17 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2562
งบประมาณ 3,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปาอิสะ ขามิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางประภัสสร ขวัญกะโผะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.744,101.155place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ก.ย. 2562 17 ก.ย. 2562 3,300.00
รวมงบประมาณ 3,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คนไทยรู้จักใช้เตยมาทําเป็นเครื่องจักสานเพื่อประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ในครัวเรือนมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเฉพาะการสานเสื่อเพื่อใช้สําหรับปูนั่ง ปูนอน และเป็นสิ่งสําคัญที่ใช้ในพิธีแต่งงานของชาวไทยมุสลิม เนื่องจากเตยมีคุณสมบัติที่เหนียวและทน ประกอบกับเป็นพืชที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นเรามักพบต้นเตยเจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ชื้นแฉะและมีดินทรายปนอยู่ หรือในพื้นที่ที่มีสภาพเป็นป่าบริเวณลําธาร และริมชายหาด มีเตยหลายชนิดที่สามารถนํามาใช้จักสานได้ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ PANDANACEAE ซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ได้แก่ เตยหนาม เตยปาหนัน หรือเตยลําเจียก ซึ่งพบมากในภาคใต้เนื่องจากเส้นใยของใบเตยมีคุณสมบัติที่เหนียวและทนเหมาะต่อการนํามาเครื่องจักสาน เช่น เตยหนาม (PentaspadonvelutinusHook.f.) จังหวัดสตูล เรียกว่า “เตยนะ” จังหวัดระนองเรียกว่า “เตยหนาม” หรือ “เตยน้ำ” ลักษณะของใบและการแตกกอคล้ายต้นสับปะรด ใบใหญ่ หนา และยาวประมาณ 1.5-2 เมตรริมใบมีหนามมาก ส่วน เตยปาหนัน (PandanusodoratissimusLinn.f.) ภาคกลางเรียกว่า “ลําเจียก” หรือ “การะเกด” ประเทศมาเลเซียและจังหวัดนราธิวาสเรียกว่า “ปาแนะ” ต้นเจริญขึ้นเป็นกอ ใบเป็นพุ่มและแตกกิ่งใบยาว พบมากบริเวณริมหาด ชายทะเล ป่าโกงกาง ชาวบ้านนิยมนําใบเตยมาจักสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เสื่อ กระเป๋า และหมวก
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการศึกษา ให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กบ้านคลองช้างมีจินตนาการในการคิดที่มีลักษณะที่พึ่งประสงค์และการมีส่วนร่วมการพัฒนาของเด็กโดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการสร้างฝันพัฒนาจินตนาการเด็กสานปลาตะเพียนใบเตยหนาม ตะกล้อแก่เด็กเพื่อการปลูกฝังภูมิปัญญาชาวบ้านให้คงอยู่ต่อไป และการพัฒนาท้องถิ่น การศึกษา โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ.2542 มาตรา 67 ข้อ 8 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา ๑๖(๑๑)การสร้างสรรค์งานหัตถกรรมจากใบเตย เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาโดยช่างฝีมือพื้นบ้านจนเป็นงานหัตถกรรมประจําถิ่นที่สร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในภาคใต้นั้น สามารถพบได้ในหลายจังหวัด เช่น ตรัง กระบี่ ระนอง ยะลา และนราธิวาส ซึ่งมีการรวมกลุ่มกันเพื่อทําเครื่องจักสานสร้างรายได้เป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม ซึ่งในบางท้องถิ่น ภูมิปัญญาด้านนี้อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญหาย ซึ่งมีผู้สืบสานภูมิปัญญาการทําเครื่องจักสานจากใบเตยหนามอยู่เพียงหนึ่งครัวเรือนเท่านั้น ซึ่งทางสภาวัฒนธรรมอบต.นาเกตุตระหนักแล้วเห็นว่า หากภูมิปัญญาด้านนี้ไม่ได้รับการส่งเสริม คงสูญหายไป เนื่องจากลักษณะและสภาพโครงสร้างทางสังคม แนวความคิด ค่านิยมของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย มีการพึ่งพาผลผลิตจากเทคโนโลยีกันมากขึ้น จึงทําให้งานช่างฝีมือด้านนี้ค่อยๆ เลือนหายไป ปัจจุบันสภาวัฒนธรรมจังหวัดระนองได้ส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านงานหัตถกรรมนี้แก่กลุ่มเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้และเข้าใจวิถีชีวิตของบรรพบุรุษที่สืบทอดภูมิปัญญาต่อๆกันมา และอนุรักษ์ภูมิปัญญานี้ให้คงอยู่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการน้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 10 มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

 

0.00
2 เพื่อเป็นการสร้างสายใย สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว

 

0.00
3 เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่ม สร้างความสามัคคีภายในชุมชน

 

0.00
4 เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองและเด็กเกิดจินตนาการส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 3,300.00 1 3,300.00
17 ก.ย. 62 อบรมและฝึกปฏิบัติการสานปลาตะเพียนใบเตยหนาม ตะกร้อ 0 3,300.00 3,300.00

1.กำหนดโครงการ/กิจกรรม       2.ประชุมคณะกรรมการ       3.แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติงาน       4.ดำเนินการตามโครงการ       5.ประเมินผล/สรุป/รายงานผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.การน้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 10 มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน 2.ป็นการสร้างสายใย สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว
3..ให้เกิดการรวมกลุ่ม สร้างความสามัคคีภายในชุมชน 4.สนับสนุนให้ผู้ปกครองและเด็กเกิดจินตนาการส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2562 10:51 น.