กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
รหัสโครงการ 63 - l5169 - 2 - 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านโคกพยอม
วันที่อนุมัติ 12 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 31 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2563
งบประมาณ 32,190.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางณัชชา บุญสิริธนา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกพยอม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.886,100.442place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2562 31 มี.ค. 2563 32,190.00
รวมงบประมาณ 32,190.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมอนามัยได้ดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนด้านนสุขภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านการศึกษา โดยการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนให้เป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์กลางของการ พัฒนาสุขภาพ รวมทั้งพัฒนาชุมชนให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว ตั้งแต่ปีพ.ศ.2541 และเพื่อให้โรงเรียนมีแนวทางการดำเนินงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน กรมอนามัยได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐาน การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้ครอบคลุมทั้ง 10 องค์ประกอบโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพขึ้นในพ.ศ.2545 โดยแบ่งระดับการรับรองโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็น 3 ระดับ คือระดับทอง เงิน และทองแดง และจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรขึ้นในพ.ศ.2552 ตั้งแต่ พ.ศ.2545 จวบจนปัจจุบัน
      การพัฒนานักเรียนตามแนวทางของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้แนวคิดการมี ส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชนเพื่อให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์รวมของการพัฒนาสุขภาพในชุมชน เป็นกลยุทธ์ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมดำเนินการกับฝ่ายการศึกษามาตั้งแต่ปี 2541 ก่อให้เกิดผลเป็นที่น่าพอใจ โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการและสามารถพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพจนผ่านการประเมินรับรองเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้นทุกปีติดต่อกันเป็นลำดับสำหรับเกณฑ์ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่ใช้ในช่วงที่ผ่านมา เป็นเกณฑ์ที่ประกอบด้วย ตัวชี้วัดภายใต้องค์ประกอบ 10 ประการ ซึ่งส่วนใหญ่เน้นด้านกระบวนการของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อเป็นทิศทางแก่โรงเรียน แต่ยังมิได้ให้ความสำคัญกับการวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพมากนัก ดังนั้นเมื่อการพัฒนางานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดำเนินมาจนถึงโรงเรียนบรรลุเกณฑ์ค่อนข้างสูงดังกล่าว ในปี 2551 กรมอนามัยจึงเห็นสมควรที่จะยกระดับเกณฑ์ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง โดยจัดทำเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ให้มีตัวชี้วัดที่เน้นการการวัดผลทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน และผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการขึ้นเพื่อพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ไปสู่เป้าหมายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรต่อไป ซึ่งโรงเรียนบ้านโคกพยอมได้ผ่านการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรเมื่อปี 2560 เป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยกรมอนามัย ดังนั้นควรจะรักษาระดับคุณภาพต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนด้านสุขภาพอันจะนำไปสู่กันพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาอย่างยั่งยืน
      โรงเรียนบ้านโคกพยอมได้จัดทำโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรยั่งยืนขึ้น โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2ส่วน ส่วนแรกคือการดำเนินงานในด้านความปลอดภัยภายในสถานศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพของการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร และได้จัดกิจกรรมในส่วนที่สองคือ กิจกรรมของนักเรียนแกนนำเด็กไทยทำได้และอย.น้อย เ คอยขับเคลื่อนการทำงานผ่านแกนนำนักเรียน โดยการขอความร่วมมือจากองค์กร หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง อสม. และเครือข่ายการดำเนินงานของนักเรียนอย.น้อย  จากการเล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล โดย เป้าหมาย คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอม ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน มีการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน โดยจะมีรูปแบบในการดำเนินกิจกรรมเป็นภาคีเครือข่ายในระดับสถานศึกษา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

นักเรียนร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

90.00
2 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในเรื่องการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน

สมาชิกชมรมอย.น้อย ให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนหน้าเสาธงหรือใช้เสียงตามสายอาทิตย์ละ 1 ครั้ง

100.00
3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี

นักเรียนมีความสุขในการมาเรียน  สถิติขาดเรียนลดน้อยลง

100.00
4 เพื่อให้สมาชิกชมรม อย.น้อยตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสารเจือปนประเภทสารบอแรกซ์ สารฟอกขาวและจุลินทรีย์ต่างๆได้

สมาชิกชมรม อย.น้อย สามารถสุ่มตรวจวิเคราะห์อาหารในห้องครัวและโรงอาหารอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,190.00 2 32,190.00
2 ต.ค. 62 - 31 มี.ค. 63 ปรับปรุงห้องปฎิบัติการ และอุปกรณ์ด้านสุขภาพ 0 5,390.00 5,390.00
1 พ.ย. 62 - 31 มี.ค. 63 เด็กไทยทำได้และอย.น้อย 0 26,800.00 26,800.00

ปรับปรุงห้องปฎิบัติการ และอุปกรณ์ด้านสุขภาพเพื่อให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา ได้แก่อ่างแปรงฟัน ห้องพยาบาล ห้องสุขา ห้องครัว เชิญวิทยากรจากสาธารณะสุขให้ความรู้เรื่องสถานการณ์ความปลอดภัยทางด้านอาหารของคนไทยในปัจจุบัน เชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลคลองหอยโข่งให้ความรู้เรื่องการอ่านฉลากยา เครื่องดื่ม อาหาร และสาธิตการทดสอบอาหารด้วยสารทดสอบตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและแกนนำอย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยกันมากขึ้น
  2. นักเรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน
  3. สมาชิกชมรม อย.น้อยสามารถตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสารเจือปนประเภทสารบอแรกซ์ สารฟอกขาวและจุลินทรีย์ต่างๆได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2562 13:35 น.