กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแต ”
ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง



หัวหน้าโครงการ
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชุมชนตำบลปันแต




ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแต

ที่อยู่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 60-L3321-3-2 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2560 ถึง 30 กันยายน 2560

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแต จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแต



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแต " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 60-L3321-3-2 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 216,485.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีจำนวนผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ประมาณ 10 ล้านคน จำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจำนวนผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21 และร้อยละ 24 ของประชากรรวมในอีกสิบปีและสิบสี่ปีข้างหน้า ตามลำดับ และสังคมไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ขณะเดียวกันสัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลายก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกันอายุเฉลี่ยของหญิงไทยอยู่ที่78.4 ปี ในขณะที่ชายไทยมีอายุเฉลี่ย 71.6 ปี (ข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยและสถาบันวิจัยประชากรและสังคม2558)ซึ่งจากการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุจำนวน6,394,022 คน ในปี 2558โดยกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ร้อยละ 79 (5 ล้านคน )คือผู้สูงอายุติดสังคมหรือกลุ่มที่ยังช่วยเหลือตนเองได้ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้และอีกร้อยละ 21 ( 1.3 ล้านคน) คือผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงหรือเรียกว่า กลุ่มติดบ้านติดเตียงและต้องการการดูแลทั้งด้านสุขภาพและสังคม ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557(3) เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคการฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนดเป็นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณและองค์การบริหารส่วนตำบลปันแตได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแตเรียบร้อยแล้วเมื่อปีงบประมาณ2559 องค์การบริหารส่วนตำบลปันแตและศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแต ได้เล็งเห็นความสำคัญและมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องระยะยาวจึงได้จัดโครงการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแตขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน
  2. 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลและชะลอเกิดภาวะแทรกซ้อนให้น้อยที่สุด
  3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การดูแลสุขภาพ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  4. เพื่อให้ผู้อายุมีสุขภาพจิตมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ 1,120
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 36
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 180
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2 ประชุมชี้แจงและประสานภาคีเครือข่ายผู้เกี่ยวข้อง 3 วางแผนการดำเนินงาน 4 จัดกิจกรรมและดำเนินการตามแผน 5ติดตามและประเมินผล/สรุปโครงการและรายงานผล


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    1.  ผลการดำเนินงาน 1.1  กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพึง 1)  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ทั้งสิ้น  18 คน 2)  จัดกิจกรรม ดังนี้
    - วันที่ 24 – 26 เมษายน 2560 อบรมเชิงปฏิบัติการ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลควนขนุน - วันที่ 8 – 9 พฤษภาคม 2560 ฝึกปฏิบัติดูแลผู้สูงอายุในโรงพยาบาลควนขนุน - วันที่ 11, 15, 16, 18 พฤษภาคม 2560 ฝึกปฏิบัติดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในพื้นที่ตำบลปันแต
    3)  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีความรู้ความเข้าใจ มีความมั่นใจ และมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ สามารถพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนให้เหมาะสม 4)  งบประมาณในการจัดกิจกรรม จำนวน 41,070 บาท - ค่าอาหาร/อาหารว่างและเครื่องดื่ม  เป็นเงิน  15,300  บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร เป็นเงิน  15,000  บาท - ค่าป้ายไวนิล ประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน      600  บาท
    - ค่าคู่มือฝึกอบรม เป็นเงิน  2,040  บาท - ค่ากระเป๋าเอกสาร เป็นเงิน  3,000  บาท - ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน  1,000  บาท - ค่าวัสดุที่จำเป็นในการฝึกอบรม เป็นเงิน  1,700  บาท - ค่าฝึกปฏิบัติในการดูแลผู้สูงอายุ เป็นเงิน  2,430  บาท งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 46,485  บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง 41,070  บาท  คิดเป็นร้อยละ 88.35 งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ   5,415  บาท  คิดเป็นร้อยละ 11.65

    1.2  กิจกรรมรวมพลผู้สูงอายุ 1)  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ทั้งสิ้น  339 คน 2)  จัดกิจกรรม วันที่ 17 สิงหาคม 2560  ณ สนามโรงเรียนวัดควนปันตาราม 3)  ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง มีสุขภาพจิตที่ดี และตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง

    4)  งบประมาณในการจัดกิจกรรม จำนวน 44,870 บาท -  ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน      670  บาท -  ค่าตอบแทนวิทยากร เป็นเงิน    1,800  บาท -  ค่าอาหารว่าง เป็นเงิน  10,400  บาท -  ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน  13,000  บาท -  ค่าเครื่องเสียงและดนตรี เป็นเงิน  11,000  บาท -  ค่าเช่าเต็นท์ โต๊ะ พร้อมเก้าอี้ เป็นเงิน    5,000  บาท
    -  ค่าเช่าสถานที่ เป็นเงิน    1,000  บาท -  ค่าจัดเตรียมสถานที่ เป็นเงิน    2,000  บาท งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 45,000  บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง 44,870  บาท  คิดเป็นร้อยละ 99.70 งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ     130  บาท  คิดเป็นร้อยละ 0.30 1.3  กิจกรรมจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง  จำนวน 5 ชุด  งบประมาณ  60,000  บาท ไม่ได้ดำเนินการ 1.4  กิจกรรมส่งเสริมและฟื้นฟูผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายในชุมชน งบประมาณ 35,000 บาท ไม่ได้ดำเนินการ 1.5  ค่าบริหารจัดการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุฯ งบประมาณ 30,000  บาท ไม่ได้เบิกจ่าย 2. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด • บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ • ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ  เพราะ ....................................................................... ............................................................................................................................................................................. 3. การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 216,485  บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง   85,940  บาท  คิดเป็นร้อยละ 39.70 งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ 130,545  บาท  คิดเป็นร้อยละ 60.30

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน
    ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุและคนพิการ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

     

    2 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลและชะลอเกิดภาวะแทรกซ้อนให้น้อยที่สุด
    ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลมีคุภาพชีวิตที่ดีขึ้น

     

    3 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การดูแลสุขภาพ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    ตัวชี้วัด : สามารถดูแลสุขภาพตนเองและดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยได้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

     

    4 เพื่อให้ผู้อายุมีสุขภาพจิตมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
    ตัวชี้วัด : ผู้อายุมีสุขภาพจิตมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1336
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ 1,120
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 36
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 180
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน (2) 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลและชะลอเกิดภาวะแทรกซ้อนให้น้อยที่สุด (3) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การดูแลสุขภาพ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (4) เพื่อให้ผู้อายุมีสุขภาพจิตมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแต จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 60-L3321-3-2

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชุมชนตำบลปันแต )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด