กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย


“ โครงการส่งเสริมการจัดการลดปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชนแบบมีส่วนร่วม ”

ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางอุไร พงค์จันทรเสถียร

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการจัดการลดปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชนแบบมีส่วนร่วม

ที่อยู่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2563-L3351-02-15 เลขที่ข้อตกลง 20/2563

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 31 กรกฎาคม 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมการจัดการลดปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชนแบบมีส่วนร่วม จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมการจัดการลดปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชนแบบมีส่วนร่วม



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมการจัดการลดปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชนแบบมีส่วนร่วม " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 2563-L3351-02-15 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2562 - 31 กรกฎาคม 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 19,320.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ในรอบหลายปีที่ผ่านมาขยะมีเพิ่มมากขึ้นและเป็นปัญหาสำหรับชุมชน หากขยะในครัวเรือนไม่ได้มีการจัดการที่ถูกต้อง จะเป็นปัจจัยเสี่ยงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรค คือ หนู แมลงสาป แมลงวัน ยุงลาย เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้เป็นสาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา โรคอุจจาระร่วงโรคฉี่หนูเป็นต้น จากการลงพื้นที่ในชุมชนกรณีที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในตำบลโคกชะงาย พบว่า ครัวเรือนมีปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมภายนอกบ้าน โดยเฉพาะขยะ และภาชนะเหลือใช้ เช่น ขวดน้ำ แก้วน้ำพลาสติก ยางรถยนต์ กระถาง กะละมัง เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการทำลายอีกทั้งประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 จนถึงปัจจุบัน อำเภอเมืองพัทลุง มีนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) ซึ่งเน้นการแก้ปัญหาเรื่องขยะและสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนงาน ตำบลโคกชะงายรับทราบนโยบายดังกล่าวและพร้อมดำเนินการในพื้นที่ ในปีงบประมาณ 2562 ที่ผ่าน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จัดกิจกรรมคัดเลือกครัวเรือนเป็นต้นแบบในการจัดการขยะ ทั้งหมด 11 ครัวเรือน เพื่อเป็นต้นแบบให้ครัวเรือนอื่น การแก้ไขปัญหาเรื่องขยะและปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งในครัวเรือนและชุมชนให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคประชาชน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการร่วมวิเคราะห์ปัญหา ร่วมคิดหามาตรการในการปรับปรุง แก้ไขปัญหาเรื่องขยะในชุมชนและครัวเรือนของตำบลโคกชะงาย
ดังนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกชะงายจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชนและครัวเรือนแบบมีส่วนร่วมขึ้น เพื่อแก้ปัญหาขยะในชุมชน เพื่อสร้างมาตราการให้ปฎิบัติในแนวเดียวกัน มีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง และจะได้มีครัวเรือนต้นแบบในการคัดแยกขยะและจัดการขยะที่ถูกต้อง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีมาตรการการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน
  2. เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  3. เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ทุกหมู่บ้านให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมประชุมประชาคมหมู่บ้าน
  2. กิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์คัดแยกขยะและมาตรการการจัดการขยะของชุมชน
  3. กิจกรรมประเมินครัวเรือนต้นแบบ 2 ครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 300
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ทุกหมู่บ้านมีมาตรการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน
  • ทุกหมู่บ้านมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมประชุมประชาคมหมู่บ้าน

วันที่ 12 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประชาคม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

บรรลุตามวัตถุประสงค์

 

0 0

2. กิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์คัดแยกขยะและมาตรการการจัดการขยะของชุมชน

วันที่ 15 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชาสัมพันธ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

บรรลุตามวัตถุประสงค์

 

0 0

3. กิจกรรมประเมินครัวเรือนต้นแบบ 2 ครั้ง

วันที่ 17 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประเมินครัวต้นแบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไม่สามารถดำเนินการณ์ได้  เนื่องจากสถานการณ์  covid - 19

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านโคกชะงาย โครงการส่งเสริมการจัดการลดปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชนแบบมีส่วนร่วมขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีมาตรการการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชนเพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการและเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ทุกหมู่บ้านให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค             ตัวชี้วัดความสำเร็จ ทุกหมู่บ้านมีมาตรการการจัดการขยะและมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะในครีัวเรือนและชุมชน โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะที่ถูกต้อง อันตรายและภัยสุขภาพที่มาจากขยะ และร่วมกับวิเคราะห์ปัญหาขยะในหมู่บ้าน ร่วมกันหามาตรการการจัดการขยะของตนเอง โครงการดังกล่าวประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ ประชุมประชาคมหมู่บ้าน  กิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์คัดแยกขยะ และมาตรการการจัดการขยะของชุมชน และกิจกรรมประเมินครัวเรือนต้นยแบบ 2 ครั้ง             ลักษณะกิจกรรม กรประชุมหารือหามาตรการการจัดการขยะในชุมชน             ผลการดำเนินงาน ประชุมประชาคมหมู่่บ้าน แต่ละหมู่บ้าน มีมาตรการการจัดการขยะ แต่ละหมู่บ้านมีครัวเรือน ที่เข้าร่วมโครงการ หมู่ละ 50 ครัวเรือน รวมทั้งหมด 300 ครัวเรือน ประชาสัมพันธ์มาตรการการจัดการขยะของแต่ละหมู่บ้านโดยการจัดทำป้ายมาตรการชุมชน และผ่านเวทีประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน ของแต่ละหมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 2  (1)ธนาคารขยะ (2)ขยะแลกไข่รับซื้อขยะวันประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน หมู่ที่ 3  (1)จิตอาสาร่วมเก็บขยะ เดือน ละ 2 ครั้ง (2)รณรงค์คีัดแยกขยะในครัวเรือน หมู่ที่ 4  (1)ทุกครัวเรือนทำถังขยะเปียก ขยะแห้ง(2)ธนาคารขยะ หมู่ที่ 5  (1)จัดทำถังขยะเปียก ปุ๋ยหมักในครัวเรือน(2)ห้ามทิ้งขยะตลอดแนว หมู่ที่ 6  (1)จิตอาสาร่วมเก็บขยะ 2 เดือน / ครั้ง(2)รณรงค์คัดแยกขยะในครัวเรือน หมู่ที่ 8  (1)ธนาคารขยะ(2)ถนนปลอดขยะ(3)ทุกครัวเรือนมีกระสอบคัดแยกขยะ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีมาตรการการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน
ตัวชี้วัด : จำนวนหมู่บ้านที่มีมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง
4.00 6.00 6.00

หมู่บ้านมีมาตรการขยะ

2 เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
ตัวชี้วัด : ทุกหมู่บ้านมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
4.00 270.00 300.00

 

3 เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ทุกหมู่บ้านให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
ตัวชี้วัด : ประชาชนในครัวเรือนต้นแบบได้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นลดการเกิดโรคต่างๆในชุมชน
4.00 300.00 300.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 300 300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 300 300
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 0

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีมาตรการการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน (2) เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 (3) เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ทุกหมู่บ้านให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมประชุมประชาคมหมู่บ้าน (2) กิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์คัดแยกขยะและมาตรการการจัดการขยะของชุมชน (3) กิจกรรมประเมินครัวเรือนต้นแบบ 2 ครั้ง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมการจัดการลดปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชนแบบมีส่วนร่วม จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2563-L3351-02-15

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางอุไร พงค์จันทรเสถียร )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด