กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรู้และปรับพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิต
รหัสโครงการ 63-L2480-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง
วันที่อนุมัติ 29 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 17,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดานิช ดิงปาเนาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยมีความชุกและอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบท สอดคล้องกับข้อมูลผู้ป่วยโรคความดันโลหิต โรคเบาหวานทางรพ.สต.บ้านปิเหล็ง ที่เพิ่มขึ้นทุกปี จากกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 35 ปี หรือกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่ ไขมันในเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ขาดการอกกำลังกาย ภาวะอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญและพบบ่อยของโรคหลอดเลือดสมอง การค้นหาผู้มีปัจจัยเสี่ยง และควบคุมการรักษา ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ จากการสอบถามข้อมูลในปี พ.ศ. 2562 พบว่าประชาชน35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็งพบว่าประชาชนร้อยละ 60 มีพฤติกรรมทานหวาน เค็ม มันเป็นประจำอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์การบริโภคอาหารไม่ถูกสัดส่วน และขาดการออกกำลังกายเป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวล้วนส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ได้มากยิ่งขึ้นอีกทั้งในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน ที่ไม่สามารถคุมได้ก็ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจหลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาต จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าคนปกติเช่นกัน
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็งและองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออกเห็นความสำคัญเพื่อป้องกันและลดกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด จึงได้จัดโครงการส่งเสริมความรู้และปรับพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิต โดยมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงติดตามผลการปรับพฤติกรรมต่อเนื่องที่บ้าน โดยทีมอาสามัครสาธารณสุข(อสม.) เพื่อประเมินผลการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงและป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน อีกทั้งทีม อสม.ดังกล่าวจะได้รับการฟื้นฟูทักษะการวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดเบาหวานจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในกิจกรรมโครงการครั้งนี้ด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิต มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเอง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ได้รับการอบรมให้ความรู้

100.00 100.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับการปรับพฤติกรรมและติดตามผลการปรับพฤติกรรมต่อเนื่องติดต่อกัน 3 เดือนโดยอสม.

ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับการปรับพฤติกรรมและติดตามผลการปรับพฤติกรรมต่อเนื่องติดต่อกัน 3 เดือนโดยอสม.

100.00 100.00
3 อสม.ทุกคนได้รับการฟื้นฟูทักษะวัดความดันโลหิต และการเจาะเบาหวาน

ร้อยละ 100  อสม.ทุกคนได้รับการฟื้นฟูทักษะวัดความดันโลหิต และการเจาะเบาหวาน

100.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
23 - 25 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิต หัวใจและหลอดเลือดแก่กลุ่มเสี่ยง 100 11,500.00 11,500.00
23 - 25 ก.ย. 63 ฟื้นฟูทักษะ 100 0.00 0.00
25 ก.ย. 63 ติดตาม 59 5,900.00 5,900.00
25 ก.ย. 63 สรุปผล 0 0.00 0.00
รวม 259 17,400.00 4 17,400.00

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิต หัวใจและหลอดเลือดแก่กลุ่มเสี่ยง กิจกรรมที่ 2 อสม. ทุกคนฟื้นฟูทักษะการวัดความดันโลหิต การเจาะเลือกเบาหวาน พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลการปรับพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงจำนวน 4 ครั้ง กิจกรรมที่ 3 จัดทำแผนการติดตามกลุ่มเสี่ยงที่บ้านโดย อสม. /อาทิตย์ละ 1 วัน จำนวนติดต่อกัน 3 เดือน กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการปรับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิต

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ได้รับการอบรมให้ความรู้ 2.กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับการปรับพฤติกรรมและติดตามผล 3.อสม.ทุกคนได้รับการฟื้นฟูทักษะวัดความดันโลหิต และการเจาะเบาหวาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2562 00:00 น.