กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความรู้และปรับพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง

ชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยมีความชุกและอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบท สอดคล้องกับข้อมูลผู้ป่วยโรคความดันโลหิต โรคเบาหวานทางรพ.สต.บ้านปิเหล็ง ที่เพิ่มขึ้นทุกปี จากกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 35 ปี หรือกลุ่มเสี่ยง
โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่ ไขมันในเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ขาดการอกกำลังกาย ภาวะอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญและพบบ่อยของโรคหลอดเลือดสมอง การค้นหาผู้มีปัจจัยเสี่ยง และควบคุมการรักษา ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ จากการสอบถามข้อมูลในปี พ.ศ. 2562 พบว่าประชาชน35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็งพบว่าประชาชนร้อยละ 60 มีพฤติกรรมทานหวาน เค็ม มันเป็นประจำอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์การบริโภคอาหารไม่ถูกสัดส่วน และขาดการออกกำลังกายเป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวล้วนส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ได้มากยิ่งขึ้นอีกทั้งในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน ที่ไม่สามารถคุมได้ก็ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจหลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาต จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าคนปกติเช่นกัน
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็งและองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออกเห็นความสำคัญเพื่อป้องกันและลดกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด จึงได้จัดโครงการส่งเสริมความรู้และปรับพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิต โดยมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงติดตามผลการปรับพฤติกรรมต่อเนื่องที่บ้าน โดยทีมอาสามัครสาธารณสุข(อสม.) เพื่อประเมินผลการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงและป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน อีกทั้งทีม อสม.ดังกล่าวจะได้รับการฟื้นฟูทักษะการวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดเบาหวานจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในกิจกรรมโครงการครั้งนี้ด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิต มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเอง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ได้รับการอบรมให้ความรู้

100.00 100.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับการปรับพฤติกรรมและติดตามผลการปรับพฤติกรรมต่อเนื่องติดต่อกัน 3 เดือนโดยอสม.

ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับการปรับพฤติกรรมและติดตามผลการปรับพฤติกรรมต่อเนื่องติดต่อกัน 3 เดือนโดยอสม.

100.00 100.00
3 อสม.ทุกคนได้รับการฟื้นฟูทักษะวัดความดันโลหิต และการเจาะเบาหวาน

ร้อยละ 100  อสม.ทุกคนได้รับการฟื้นฟูทักษะวัดความดันโลหิต และการเจาะเบาหวาน

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิต หัวใจและหลอดเลือดแก่กลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิต หัวใจและหลอดเลือดแก่กลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 100 คน x 60 บาท X 1 มื้อเป็นเงิน 6,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 100 คน x 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท 3.ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ใบขนาด 1X2 ตร.ม. เป็นเงิน 500 บาท เป็นเงิน 11,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคเบาหวานและความดันโลหิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11500.00

กิจกรรมที่ 2 ฟื้นฟูทักษะ

ชื่อกิจกรรม
ฟื้นฟูทักษะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.ทุกคนฟื้นฟูทักษะการวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดเบาหวาน พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลการปรับพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงจำนวน 4 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้ อสม.มีทักษะในการวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดเบาหวานแก่กลุ่มเสี่ยงในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตาม

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำแผนการติดตามกลุ่มเสี่ยงที่บ้านโดยอสม./อาทิตย์ละ 1 วัน จำนวนติดต่อกัน 3 เดือน จำนวน 4 ครั้ง 1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 59 คน x 25 บาท X 4 มื้อ
เป็นเงิน 5,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5900.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผล

ชื่อกิจกรรม
สรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการปรับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน     ความดันโลหิต

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ได้รับการอบรมให้ความรู้
2.กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับการปรับพฤติกรรมและติดตามผล
3.อสม.ทุกคนได้รับการฟื้นฟูทักษะวัดความดันโลหิต และการเจาะเบาหวาน


>