กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวบ้านหารร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5211-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านหาร
วันที่อนุมัติ 24 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 88,735.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมู่เน๊าะ เทศอาเส็น, นางณิชชา สุวรรณชูโชค
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.075,100.45place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2562 30 ก.ย. 2563 88,735.00
รวมงบประมาณ 88,735.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรค นอกจากจะเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยแล้วยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศไทยที่เป็นเขตร้อนชื้น เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย ในปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และมีจำนวนมากขึ้นทุกปี โรคนี้มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการและชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าว เป็นต้น
จากสถานการณ์โรคในพื้นที่ตำบลบ้านหาร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวมจำนวนทั้งสิ้น 12 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 345.08 ต่อประชากรแสนคน โดยพบเพศชาย 6 ราย เพศหญิง 6 ราย กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 15 – 24 ปี อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน พบผู้ป่วย ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลบางกล่ำ เท่ากับ 8 ราย และเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลเอกชนเท่ากับ 4 ราย จากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี พบผู้ป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน ใน ปี 2562 นั้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านหาร ซึ่งดูแลสุขภาพอนามัยประชาชนในพื้นที่ ร่วมกับภาคีเครือข่ายเทศบาลตำบลบ้านหาร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร ผู้นำชุมชน ในพื้นที่ตำบลบ้านหาร ตระหนักถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพของประชาชน ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านหารประกอบกับเป็นปัญหาของชุมชนที่ต้องดำเนินการแก้ไขให้รวดเร็ว ให้ทันต่อ สภาวการณ์แพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่กำลังระบาด จึงจัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออกขึ้น โดยมีกิจกรรมการรณรงค์ ป้องกัน ควบคุมโรค อย่างจริงจังให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทุกครัวเรือน เพื่อกำจัดยุงลายทั้งลูกน้ำยุงลาย และยุงตัวเต็มวัย ซึ่งเป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก และเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
2 เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหนะของโรค

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนได้ตื่นตัว ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร
  2. ประชุมชี้แจงโครงการฯ แก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง อสม.ทุกหมู่บ้าน และผู้นำชุมชน
  3. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  4. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อสม.ทุกหมู่บ้าน และผู้นำชุมชน
  5. จัดทำมุม Dengue Coner ในสถานบริการ
  6. กำหนดวันดำเนินการกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมกำจัดลูกน้ำยุงลาย เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 11 ครั้ง ในพื้นที่ตำบลบ้านหาร
  7. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ และสื่อประชาสัมพันธ์ สื่อความรู้ต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมลงพื้นที่ดำเนินการกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมกำจัดลูกน้ำยุงลาย ในพื้นที่ตำบลบ้านหาร
  8. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงข้อมูลและกิจกรรมดำเนินการทุกหมู่บ้าน ก่อนวันดำเนินการ
  9. ดำเนินการกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมกำจัดลูกน้ำยุงลาย ในพื้นที่ตำบลบ้านหาร
  10. ประเมินผลการดำเนินการทุกกิจกรรม
  11. สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จำนวนอัตราผู้ป่วย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  2. HI-CI (ดัชนีลูกน้ำยุงลาย) ลดลงเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินการ
  3. การปฏิบัติงานป้องกันแก้ไขโรคไข้เลือดออกเป็นผลสำเร็จเกิดความร่วมมืออันดีระหว่างภาคีเครือข่ายกับชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2562 13:34 น.