กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
ประชุมถอดบทเรียนและพัฒนานวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา15 ตุลาคม 2563
15
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย อะหมัด หลีขาหรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ตัวแทนผู้นำชุมชน ตัวแทน อสอช. และตัวแทนผู้ประกอบอาชีพ จำนวน 20 คน ประชุมร่วมกันเพื่อถอดบทเรียนและพัฒนานวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกิดบทเรียนจากการดำเนินงานส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา
  2. เกิดนวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา
อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ10 ตุลาคม 2563
10
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย อะหมัด หลีขาหรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลแค จำนวน 20 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลแค มีความรู้ ทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และพัฒนามาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ7 ตุลาคม 2563
7
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย อะหมัด หลีขาหรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมเชิงปฏิบัติการตัวแทนผู้นำชุมชน ตัวแทน อสอช. และตัวแทนผู้ประกอบอาชีพ จำนวน 20 คน ระยะเวลา 2 วัน
วันที่ 1 ร่วมกันพัฒนารูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
วันที่ 2 ร่วมกันพัฒนามาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
  2. เกิดมาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ดังนี้
    1. ให้เจ้าของสวนยางพาราตัดหญ้าภายในสวนให้โล่งเตียนเดือนละ 1 ครั้ง อย่างพร้อมเพรียงกัน
    2. ให้ผู้กรีดยางสวมอุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น ถุงมือ เสื้อแขนยาว รองเท้าบู๊ท
    3. ให้ผู้กรีดยางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการนอน
สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา5 ตุลาคม 2563
5
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย อะหมัด หลีขาหรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา โดยใช้แบบสำรวจและบันทึกข้อมูลลงในแอพลิเคชั่นและเว็บไซต์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ในรูปแบบสารสนเทศ

อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย(อสอช.) ตำบลแค1 ตุลาคม 2563
1
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย อะหมัด หลีขาหรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย ให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้งานแอพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล

กำหนดการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย(อสอช.)ตำบลแค
ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ตำบลแค
1 ตุลาคม 2563 ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านแคเหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 10.45 น. บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก
โดยนายธนพนธ์ จรสุวรรณ ผอ.รพ.สต.ท่าหมอไทร
10.45 - 11.00 น. รับประทานอาหารว่าง
11.00 - 12.00 น. เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการใช้งานแอพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล
โดยนายธนพนธ์ จรสุวรรณ ผอ.รพ.สต.ท่าหมอไทร
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.45 น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพสวนยางพารา โดยนายธนพนธ์ จรสุวรรณ ผอ.รพ.สต.ท่าหมอไทร
14.45 - 15.00 น. รับประทานอาหารว่าง
15.00 - 16.00 น. นำเสนอผลการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงและร่วมกันอภิปราย
16.00 น. ปิดการอบรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกิดกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ตำบลแค จำนวน 20 คน
  2. ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้งานแอพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล