กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ( โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา covid-19) ”
ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง



หัวหน้าโครงการ
นางสงบ ลักษณะ




ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ( โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา covid-19)

ที่อยู่ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2563-L3310-5-01 เลขที่ข้อตกลง 1/63

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ( โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา covid-19) จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ( โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา covid-19)



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ( โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา covid-19) " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 2563-L3310-5-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 23,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนในร่างกาย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเป็นจากตัวเชื้อโรคเอง หรือพิษที่เชื้อโรคนั้นปล่อยออกมา เชื้อโรคจะติดต่อถ่ายทอดจากผู้ป่วยโดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่คนปกติ บางครั้งเรียกว่า โรคติดเชื้อแทนคำว่า โรคติดต่อ สำหรับในเขตร้อน อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปี และมีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคต่างๆ ชุกชุม เมื่อมีการติดต่อถ่ายทอดไปยังผู้อื่น ก็จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น จึงจะต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน และมีมาตรฐาน ในแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอื่นที่อุบัติใหม่ ฯลฯ เป็นต้น ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมากดังนั้น เพื่อให้การป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังโรคระบาดประจำท้องถิ่นและกรณีภัยพิบัติในพื้นที่ตำบลเขาชัยสนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาชัยสน ได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง เป็นการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดต่อในชุมชน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ควบคุม ป้องกัน แก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กิจกรรมการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ดำเนินไปด้วยความราบรื่น


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการในตำบลเขาชัยสนประกอบด้วย แกนนำชุมชน อสม. หน่วยงานราชการ โรงเรียน และ ศพด. ในพื้นที่ให้ความสนใจ และร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบให้ความร่วมมือดี มีผู้เข้าร่วมโครงการเกินเป้าหมายที่วางไว้ 50 คน มีผู้ร่วมโครงการจำนวน 71 คน ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานประมาณ ครึ่งวัน กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะด้านการตัดเย็บหน้ากากอนามัย
สามารถผลิตหน้ากากอนามัย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ป้องกันตนเองจากมลภาวะ และรองรับสถานการณ์โรคติดต่อจากโรคไวรัสโคโรนา กลุ่มผู้เข้าร่วมให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการผลิตหน้ากากอนามัย เป็นอย่างดี
วิธีดำเนินการ
-อบรมให้ความรู้โดยวิทยากรผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยา โรงพยาบาลเขาชัยสน
-กิจกรรมการสอนขั้นตอนการการล้างมือ
-กิจกรรมสอนตัดเย็บหน้ากากอนามัย ระยะเวลาดำเนินการ 13.00 – 16.30
สถานที่ดำเนินการ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ
-ได้รับความรู้ความเข้าใจ เรื่องการป้องกันโรคไวรัสโคโรนาและการดูแลสุขภาพที่ทันเหตุการณ์ สามารถดูแลสุขภาพ  ตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้ -ทีมวิทยากร ทีมครู อสม. มีความรู้และทักษะในการตัดเย็บหน้ากากอนามัยไว้ใช้เองในครัวเรือน และถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนสอนวิธีการทำให้แก่ประชาชนได้ -เป็นการกระตุ้นให้แต่ละพื้นที่เห็นความสำคัญ และร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา -เกิดการประสานงาน และความร่วมมือที่ดีต่อกันในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ความยั่งยืนของการดำเนินการ -มีกลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชน อสม. หน่วยงานราชการ โรงเรียน และ ศพด. ในพื้น ที่ให้ความสนใจ กระตือรือร้นที่จะเข้าร่วม โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ -มีทีมภาคีเครือข่าย โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่มีการสนับสนุนด้านวิชาการและด้านอื่นๆในการดำเนินโครงการโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ -มีภาคประชาชน เช่น อสม.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ส.อบต. แกนนำสุขภาพฯที่มีจิตอาสาในการช่วยเหลือประสานงานฯ -มีหน่วยงานราชการ เช่น รพ.เขาชัยสน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่สนับสนุนและเข้าร่วมโครงการ -มีกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาชัยสน ที่สนับสนุนงบประมาณ
-อบต.เขาชัยสน คณะผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพของประชาชน อำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ร่วมกันดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี


บทเรียนที่ได้รับ
โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ เป็นการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวัง ป้องกันตนเอง เพื่อตอบโต้สถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา และอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการทำผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันตนเอง โดยผ้าปิดจมูกดังกล่าวสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยต้องหมั่นซัก และทำความสะอาดอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพ ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง ให้กับแกนนำชุมชน อสม. หน่วยงานราชการ โรงเรียน และ ศพด. ในพื้นที่ เพื่อนำความรู้และทักษะในการจัดทำผ้าปิดจมูกไปใช้เอง และถ่ายทอดองค์ความรู้ตลอดจนสอนวิธีการจัดทำหน้ากากอนามัยให้แก่ประชาชน

ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด การบรรลุตามวัตถุประสงค์  บรรลุตามวัตถุประสงค์ 1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดในพื้นที่ได้
๒.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพ เฝ้าระวังป้องกันตนเอง เรื่องโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) และสามารถเย็บผ้าปิดจมูกสำหรับใช้เองได้ พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชนได้

จำนวนผู้เข้าร่วมใน แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม 71 คน การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 23,000 บาท
งบประมาณเบิกจ่ายจริง เบิกครั้งทื่ ๑ จำนวน 12,685 บาท คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๑๕ งบประมาณเบิกจ่ายจริง เบิกครั้งทื่ ๒ จำนวน 10,315 บาท คิดเป็นร้อยละ 44.85 งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ - บาท คิดเป็นร้อยละ – ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน □ ไม่มี มี ปัญหา/อุปสรรค
นโยบายคำสั่งมีความเร่งด่วน ทำให้การทำงานไม่รอบคอบ ไม่รัดกุม
การใช้จ่ายงบประมาณมีข้อจำกัด เนื่องจากเป็นกรณีที่เร่งด่วนและไม่มีแผนงานโครงการในข้อบัญญัติตำบล
แนวทางการแก้ไข
    ระดมความคิดในการวางแผนให้รัดกุมให้มากที่สุด
    ใช้งบประมาณของกองทุน อบต.เขาชัยสน แทนงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่
ตัวชี้วัด : ร้อยละ ๘๐ กิจกรรมการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ดำเนินไปด้วยความราบรื่น
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ควบคุม ป้องกัน แก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ( โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา covid-19) จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2563-L3310-5-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสงบ ลักษณะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด