กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าแก่บ่อหิน


“ พัฒนาศักยภาพและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ”

ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
สำนักงานเลขานุการกองทุนฯ โดยนางวิภารัตน์ เอี้ยวซิโป กรรมการและผู้ช่วยเลขนุการกองทุนฯ

ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ที่อยู่ ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 63-L5295-4-01 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"พัฒนาศักยภาพและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าแก่บ่อหิน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
พัฒนาศักยภาพและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน (2) เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯและองค์กรผู้รับทุน (4) เพื่อสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ๑. ส่งเสริมให้มีการใช้ เงินกองทุนฯ สนับสนุนงบประมาณให้แก่ผู้ขอรับทุน (2) พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ (3) สนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ๑ ความล่าช้าในการดำเนินโครงการและการรายงานผลการดำเนินโครงการ มีการขอขยายเวลาในการดำเนินการและรายงานผล จำนวน ๕ โครงการ จาก ๑๙ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๓๒ ของจำนวนโครงการทั้งหมด

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน อีกทั้งสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง และสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง
          ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๓(๓) มาตรา ๑๘(๔) (๘) (๙) และมาตรา ๔๗ ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสนับสนุน ประสาน และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนรวมถึงสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไรดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่
          องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแก่บ่อหินเข้าร่วมดำเนินการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับ ท้องถิ่นขึ้น โดยจัดกิจกรรมบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ การรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก(ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต) ของประชาชนในพื้นที่ตำบลป่าแก่บ่อหิน ให้ได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง โดยการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในพื้นที่ ซึ่งการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนและการบริหารจัดการกองทุน เป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ           เพื่อให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและจิต ดังนั้นคณะกรรมการจึงจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ สร้างจิตสำนึกร่วมกัน ร่วมเป็นเจ้าของและร่วมกันบริหารจัดการกองทุนเพื่อให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน และเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและจิตใจ ดังนั้นคณะกรรมการจึงจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ สร้างจิตสำนึกร่วมกัน ร่วมเป็นเจ้าของและร่วมกันบริหารจัดการกองทุน ดังนั้นคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพจึงมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการบริหารจัดการกองทุน ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.๒๕๖๑ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๑ และเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน การจัดทำบัญชี และรายงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ใช้งบประมาณตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ข้อ ๑๐ (๔) สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯให้มีประสิทธิภาพ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน
  2. เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯและองค์กรผู้รับทุน
  4. เพื่อสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ๑. ส่งเสริมให้มีการใช้ เงินกองทุนฯ สนับสนุนงบประมาณให้แก่ผู้ขอรับทุน
  2. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ
  3. สนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 21

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กองทุนฯสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๙๐ ๒. ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลน้อยกว่า ๑๐ ๓. โครงการที่รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯสามารถติดตาม และรายงานผลการ ดำเนินงานได้สำเร็จ ๑๐๐% ๔. คณะกรรมการกองทุนฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ ครบ ๑๐๐%


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ๑. ส่งเสริมให้มีการใช้ เงินกองทุนฯ สนับสนุนงบประมาณให้แก่ผู้ขอรับทุน

วันที่ 2 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแผนงาน/โครงการ 4 ครั้งต่อปี
-แต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆในการติดตามประเมินผลโครงการ -จัดทำแผนงานโครงการ/แผนการใช้จ่าายเงินปีงบประมาณ 2564

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อจัดทำแผนงาน/โครงการ แผนการใช้จ่ายเงินจำนวน 1 ครั้ง มีการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อพิจารณาโครงการ/ติดตามประเมินผลโครงการจำนวน 3 ครั้ง ประชุมคณะอนุกรรมการLtcเพื่อพิจารณา Care plane จำนวน 1 ครั้ง

 

21 0

2. ๑. ส่งเสริมให้มีการใช้ เงินกองทุนฯ สนับสนุนงบประมาณให้แก่ผู้ขอรับทุน

วันที่ 2 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแผนงาน/โครงการ 4 ครั้งต่อปี
-แต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆในการติดตามประเมินผลโครงการ -จัดทำแผนงานโครงการ/แผนการใช้จ่าายเงินปีงบประมาณ 2564

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อจัดทำแผนงาน/โครงการ แผนการใช้จ่ายเงินจำนวน 1 ครั้ง มีการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อพิจารณาโครงการ/ติดตามประเมินผลโครงการจำนวน 3 ครั้ง ประชุมคณะอนุกรรมการLtcเพื่อพิจารณา Care plane จำนวน 1 ครั้ง

 

21 0

3. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ

วันที่ 31 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ทบทวนความรุ้แนวทางการบริหารกองทุนฯภายใต้ระเบียบ สปสช.ในวาระการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯแต่ละครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ มิได้ไปอบรมพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการกองทุนฯ แต่มีการทบทวนความรู้ แนวทางการดำเนินงานของกองทุนตามประกาศฯปี๒๕๖๑ จากฝ่ายเลขานุการกองทุนฯในวาระการประชุมในแต่ละครั้งแทนการไปอบรมนอกสถานที่

 

23 0

4. สนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

วันที่ 11 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมพิจารณาอนุมัติโครงการแผนการดูแลรายบุคคลและค่าใช้จ่ายตามแผนการดูแล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง ได้รับการดูแลตามแผนการดูแลรายบุคคล ครบ ๑๐๐%

 

10 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

๑.๑ มีการจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาโครงการ ติดตามการดำเนินงานของกองทุนฯ จำนวน ๔ ครั้ง ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ๑.๒ มีกิจกรรม/โครงการที่ของบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม ทั้งสิ้น ๑๙ โครงการ - ได้รับการอนุมัติงบประมาณ จำนวน ๑๙ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ของโครงการที่ขอสนับสนุนงบประมาณ ๑.๓ ระยะเวลาในการนำเสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณอยู่ในไตรมาสที่ ๑ –ไตรมาสที่ ๒ ซึ่งมีการนำเสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณได้ไม่มีความล่าช้า สามารถทำการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อสนับสนุนงบประมาณแก่ผู้ขอสนับสนุนงบประมาณได้รวดเร็ว แต่เนื่องจากอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) จึงส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการรวมกลุ่มคน มีการชะงักไป ต้องปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๐๑๙ จึงพบปัญหาในเรื่องของการดำเนินโครงการไม่ทันตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ จึงส่งผลให้ผู้ขอสนับสนุนงบประมาณขอขยายเวลาในการดำเนินโครงการและรายงานผลต่อไปอีก จำนวน ๕ โครงการ
งบประมาณที่สนับสนุนตามวัตถุประสงค์ทั้งสิ้น ๑๙ โครงการ
รายงานผลโครงการได้ตามกำหนดเวลา จำนวน ๑๔ โครงการ ขอขยายเวลาจำนวน ๕ โครงการ คิดเป็นโครงการที่รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ สามารถติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จคิดเป็น ๗๓.๖๘ % ๑.๓ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ จำแนกตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ดังนี้ ข้อ ๑๐(๑) สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
จำนวน ๙ โครงการ ดังนี้ ๑.๑ โครงการส่งเสริมสุขภาพและจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน ๑๐,๒๒๑ บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม ๑.๒ โครงการดูแลกันวันละนิด พิชิตฟันสวย จำนวน๒๒,๓๙๑ บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ        รพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม ๑.๓ โครงการร้านค้าคุณภาพ ผู้บริโภคปลอดภัย ใส่ใจคนในชุมชน จำนวน  ๑๑,๓๙๐ บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต. บ้านทุ่งดินลุ่ม ๑.๔ โครงการ อสม.น้อยและผู้ปกครองร่วมมือกันป้องกันโรคติดต่อที่พบบ่อยในชุมชน จำนวน ๖,๖๔๐ บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม ๑.๕ โครงการบ้านสวยด้วยมือเรา ปลอดภัย ปลอดโรค จำนวน ๑๑,๕๕๐ บาท ผู้รับผิดชอบ โครงการ รพ.สต.บ้านเขาแดง ๑.๖ โครงการชุมชนร่วมใจ ต้านภัยโรคไม่ติดต่อแบบยั่งยืน ปี ๖๓ จำนวน ๒๐,๔๒๕ บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม ๑.๗ โครงการวัยรุ่นไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัย แม่ฝากครรภ์ไว ชีวิตลูกปลอดภัยสมบูรณ์ จำนวน
๑๔,๖๕๐ บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านเขาแดง ๑.๘ โครงการเด็กสุขภาพดี ชีวีสดใส จำนวน ๑๐,๓๕๐ บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้าน เขาแดง ๑.๙ โครงการอบรมให้ความรู้ และทักษะชีวิตการป้องกันยาเสพติดในเยาวชน จำนวน ๒๒,๒๕๐ บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านเขาแดง รวมเป็นเงินที่สนับสนุนงบประมาณประเภทที่ ๑ จำนวน ๑๒๙,๘๖๗ บาท ข้อ ๑๐(๒) สนับสนุนการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
จำนวน ๗ โครงการ ดังนี้ ๒.๑ โครงการการจัดการขยะในชุมชน จำนวน ๑๔,๑๐๐ บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ คือ กลุ่ม อสม.หมู่ที่ ๖ บ้านทุ่งขมิ้น   ๒.๒ โครงการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน จำนวน ๑๓,๕๕๐บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ คือ กลุ่ม อสม.หมู่ที่ ๗ บ้านเขาแดง ๒.๓ โครงการจัดการขยะในชุมชน “ถนนสวยด้วยมือทุกคน” จำนวน ๙,๒๑๐บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ คือ กลุ่ม อสม.หมู่ที่ ๑ บ้านป่าแก่บ่อหิน ๒.๔ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพ เพื่อพิชิตโรคอ้วน จำนวน ๙,๑๐๐ บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ คือ กลุ่ม อสม.หมู่ที่ ๔ บ้านขุมทรัพย์ ๒.๕ โครงการดูแลและป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชน จำนวน ๗,๗๕๐ บาทผู้รับผิดชอบโครงการ คือ กลุ่ม อสม.หมู่ที่ ๓ บ้านทุ่งดินลุ่ม ๒.๖ โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน จำนวน ๗,๔๕๐ บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ คือ กลุ่ม อสม.หมู่ที่ ๒ บ้านคลองห้วยบ่า
๒.๗ โครงการคัดแยกขยะจากต้นทางจำนวน ๔,๔๐๐ บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ คือ กลุ่ม อสม.หมู่ที่ ๕ บ้านสะพานวา รวมเป็นเงินที่สนับสนุนงบประมาณประเภทที่ ๒ จำนวน ๖๕,๕๖๐ บาท ข้อ ๑๐(๔) สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
โครงการพัฒนาศักยภาพและบริหารจัดการกองทุนฯ จำนวน ๔๕,๑๐๕ บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้แก่ สำนักงานเลขานุการกองทุนฯ
ใช้งบประมาณไป 23,200 บาท คงเหลืองบประมาณ 21,905 บาท ข้อ ๑๐(๕) สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
๕.๑ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน ๓๒,๓๕๐ บาท (กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ป่าแก่บ่อหิน ผู้ดำเนินการ) ๕.๒ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน ๔๓,๙๓๐ บาท (รพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม ผู้ดำเนินการ)   รวมเป็นเงินที่สนับสนุนงบประมาณประเภทที่ ๕ จำนวน ๗๖,๒๘๐ บาท รวมเป็นเงินที่สนับสนุนงบประมาณปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ทั้งสิ้น ๓๑๖,๘๑๒ บาท คงเหลืองบประมาณจำนวน ๓๒๗.๕๐ บาท


๑.๔ กองทุนฯสามารถบริหารงานสนับสนุนงบประมาณแก่ผู้รับทุนร้อยละ ๙๙.๙๐ ของเงินงบประมาณปีงบประมาณ ๒๕๖๓
๑.๕ สัดส่วนการใช้งบประมาณเทียบจากเงินงบประมาณทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ ๙๒.๙๙ (อนุมัติงบประมาณสนับสนุนทั้งสิ้น ร้อยละ ๙๙.๙๐ เนื่องจากงบประมาณโครงการประเภทที่ ๔ พัฒนาศักยภาพและบริหารจัดการกองทุนฯ ใช้งบประมาณไม่หมด จึงตกเป็นเงินงบประมาณของปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ต่อไป
๑.๖ เงินคงเหลือสะสมของกองทุนฯ ๒๒,๒๓๒.๕๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๗.๓๕

รวม งบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากกองทุนฯ ทั้งสิ้น ๓๑๖,๘๑๒ บาท งบประมาณที่เบิกจ่ายจริงจากกองทุนฯ ทั้งสิ้น ๒๙๔,๙๐๗ บาท คงเหลืองบประมาณ คืนกองทุนฯ(ยังไม่เบิก) ประเภทที่ ๔ จำนวน ๒๑,๙๐๕ บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน
ตัวชี้วัด : - กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 % - กองทุนสุขภาพตำบลสามารถออกเงินสนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุน ภายใน เดือน มี.ค. 2563 จำนวนร้อยละ 70 และภายใน เดือน มิ.ย.63 ร้อยละ 90
4.80 90.00 99.90

กองทุนฯสามารถบริหารงานสนับสนุนงบประมาณแก่ผู้รับทุนร้อยละ ๙๙.๙๐ ของเงินงบประมาณปีงบประมาณ ๒๕๖๓
สัดส่วนการใช้งบประมาณเทียบจากเงินงบประมาณทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ ๙๒.๙๙ (อนุมัติงบประมาณสนับสนุนทั้งสิ้น ร้อยละ ๙๙.๙๐ เนื่องจากงบประมาณโครงการประเภทที่ ๔ พัฒนาศักยภาพและบริหารจัดการกองทุนฯ ใช้งบประมาณไม่หมด จึงตกเป็นเงินงบประมาณของปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ต่อไป

2 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ
ตัวชี้วัด : จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)
13.00 100.00 73.68

การรายงานผลการดำเนินงานล่าช้า ไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ โดยมีการส่งหนังสือขอขยายเวลาจากหน่วยงานที่ขอรับสนับสนุนงบประมาณไปดำเนินการ จำนวน ๕ โครงการ จาก ๑๙ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๗๓.๖๘

3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯและองค์กรผู้รับทุน
ตัวชี้วัด : จำนวนคณะกรรมการบริหารกองทุนฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯโครงการด้านสุขภาพครบ 100%
100.00 100.00

คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ มิได้ไปอบรมพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการกองทุนฯ แต่มีการทบทวนความรู้ แนวทางการดำเนินงานของกองทุนตามประกาศฯปี๒๕๖๑ จากฝ่ายเลขานุการกองทุนฯในวาระการประชุมในแต่ละครั้งแทนการไปอบรมนอกสถานที่

4 เพื่อสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
ตัวชี้วัด : ผูู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตามแผนการดูแลรายบุคคล ครบ 100%
100.00 100.00

ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง ได้รับการดูแลตามแผนการดูแลรายบุคคล ครบ ๑๐๐%

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 21 21
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 21 21

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน (2) เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯและองค์กรผู้รับทุน (4) เพื่อสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ๑. ส่งเสริมให้มีการใช้ เงินกองทุนฯ สนับสนุนงบประมาณให้แก่ผู้ขอรับทุน (2) พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ (3) สนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ๑ ความล่าช้าในการดำเนินโครงการและการรายงานผลการดำเนินโครงการ มีการขอขยายเวลาในการดำเนินการและรายงานผล จำนวน ๕ โครงการ จาก ๑๙ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๓๒ ของจำนวนโครงการทั้งหมด

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


พัฒนาศักยภาพและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 63-L5295-4-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( สำนักงานเลขานุการกองทุนฯ โดยนางวิภารัตน์ เอี้ยวซิโป กรรมการและผู้ช่วยเลขนุการกองทุนฯ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด