กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจประเมินคัดกรองภาวะไม่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพ
รหัสโครงการ 63-L4138-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มจิตอาสาผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวตำบลยะลา
วันที่อนุมัติ 21 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 15,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรุสนานี มามุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข ส่งผลให้จำนวนและสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มจากร้อยละ 10.7 ในปี 2550 (7.0 ล้านคน) เป็นร้อยละ 11.8 (75 ล้านคน) ในปี 2553 และร้อยละ 20.0 (14.5๕ ล้านคน) ในปี 2568 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2551) นับว่าอัตราการเข้าสู่ “ภาวะประชากรสูงอายุ (Population Ageing)” เร็วมาก ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยมีเวลาสั้นมากที่จะเตรียมการเพื่อรองรับประชากรผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ผู้สูงอายุต้องการผู้ดูแลในการทำกิจกรรมประจำวัน จากการตรวจสุขภาพโดยการตรวจร่างกายพบว่าผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) ต้องมีคนดูแลบางเวลาร้อยละ 52.2 และต้องมีคนดูแลตลอดเวลา ร้อยละ 10.2 (เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม,2547) อายุยิ่งสูงยิ่งเจ็บป่วย จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี2550 พบว่า ร้อยละ 67.3 ของประชากรในกลุ่มอายุ 60-69 ปี เป็นโรคเรื้อรังและพบเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และเพิ่มขึ้นเป็น 83.3 ในกลุ่มที่มีอายุ 90 ปีขึ้นไป จากสถานการณ์ดังกล่าว อันทำให้ผู้สูงอายุและผู้เตรียมสู่วัยสูงอายุมีแนวโน้มเจ็บป่วยมากและเร็วขึ้น สำหรับผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลา ปีงบประมาณ 2563 มีจำนวน 306 คน ผลการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (ADL) เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคม ร้อยละ 95.09 ติดบ้าน ร้อยละ 4.57 และติดเตียงร้อยละ 0.32
ดังนั้น การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จะเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดี และที่สำคัญ คือการมุ่งลดความเจ็บป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลา ตำบลยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นหน่วยงานบริการสุขภาพปฐมภูมิมีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 3 หมู่บ้าน  จำนวนหลังคาเรือน 702  ประชากรทั้งหมด 3,276 คน  ในจำนวนนี้อยู่ในวัยผู้สูงอายุจำนวน 306 คน  ที่เป็นวัยผู้สูงอายุมักจะเจ็บป่วยได้ง่ายเนื่องจากความเสื่อมตามสภาพร่างงกาย  โรคที่พบได้บ่อยได้แก่ โรคระบบกล้ามเนื้อโครงร่างและกระดูกซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมและการเจ็บป่วย จากสภาวะข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพและสามารถดูแลตนเอง

ร้อยละ 100  ของผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับการตรวจประเมิน ADL และ Healthy Ageing

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

ผู้สูงอายุติดบ้านสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เพิ่มคะแนนกิจวัตรประจำวัน(ADL)

0.00
3 เพื่อให้แกนนำสุขภาพมีความรู้ในการดูแลด้านสุขภาพผู้สูงอายุและสามารถดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ

มีแกนนำสุขภาพ บุคคลในครอบครัวและกลุ่มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ในการดูแลอย่างต่อเนื่องในกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
24 มิ.ย. 63 กิจกรรมคัดกรองผู้สูงอายุ เพื่อคัดกรองปัญหาสุขภาพและภาวะ Genaitric Syndrom พร้อมทั้งให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์แก่ผู้สูงอายุ รุ่นที่1 50 8,300.00 8,300.00
25 มิ.ย. 63 กิจกรรมคัดกรองผู้สูงอายุ เพื่อคัดกรองปัญหาสุขภาพและภาวะ Genaitric Syndrom พร้อมทั้งให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์แก่ผู้สูงอายุ รุ่นที่2 50 7,300.00 7,300.00
รวม 100 15,600.00 2 15,600.00
  1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ อสม. กลุ่มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุ และแกนนำผู้สูงอายุ
  2. เขียนโครงการ/ เสนอโครงการ /ขออนุมัติโครงการ
  3. ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้เกี่ยวข้อง และกลุ่มเป้าหมาย
  4. ดำเนินงานตามโครงการ   4.1 จัดกิจกรรมคัดกรองผู้สูงอายุ เพื่อคัดกรองปัญหาสุขภาพและภาวะ Genaitric Syndrom พร้อมทั้งให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์แก่ผู้สูงอายุ ในเรื่อง 4.1.1 ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณ BMI 4.1.2 ตรวจฟันผู้สูงอายุ 4.1.3 คัดกรองภาวะสมองเสื่อม 4.1.4 ตรวจตา 4.1.5 ประเมินข้อเข่า 4.1.6 ประเมินหกล้ม 4.1.7 ประเมิน ADL 4.1.8 ประเมินซึมเศร้า   4.2 อบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุในเรื่องการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงเบาหวาน อัมพฤษ์อัมพาต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดูแลสุขภาพตนเองและการแก้ไขปัญหาสุขภาพตนเอง โดยจัดเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน
      4.3 อบรมแกนนำผู้สูงอายุจำนวน 50 คน ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพในเขตรับผิดชอบตนเอง
  5. สรุปผลการตรวจคัดกรองในผู้สูงอายุและส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเพื่อการรักษาต่อไป
  6. ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง
  3. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการดูแลต่อเนื่องจากผู้ดูแลและกลุ่มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2562 14:51 น.