กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5307-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 20,815.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนฤมล โต๊ะหลัง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 ม.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 20,815.00
รวมงบประมาณ 20,815.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 114 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไป ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ สำหรับโรคมะเร็งเต้านมในสตรีไทย พบว่าสตรีทุก 16 คนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 คนแม้ว่ามะเร็งเต้านม ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นสาเหตุการตายในอัตราที่สูง แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี ถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่ง 80 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งเต้านม สามารถตรวจพบได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถปฏิบัติได้ง่ายด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใดๆช่วยในการตรวจ ประหยัดเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่าย จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาเมื่อระยะของโรคลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว ทั้งนี้เนื่องมาจากสตรีเหล่านี้ไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวมทั้งการขาดความรู้ ความเชื่อมั่น ในการตรวจเต้านม จากผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนพบว่า ในปี 2558 – 2562 มีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 505 คน ได้รับการตรวจ 179 คน คิดเป็นร้อยละ 35.45 ตรวจพบความผิดปกติ จำนวน1คน คิดเป็นร้อยละ 0.55และกลุ่มเป้าหมายที่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมี 623 คน ได้รับการตรวจ 597 คน คิดเป็นร้อยละ 95.83ตรวจพบความผิดปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.33 ซึ่งจะเห็นว่าสตรีวัยเจริญพันธ์ในกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกยังมีจำนวนน้อย ทั้งนี้เนื่องมาจากประชาชน ยังมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตรวจ และความจำเป็นในการประกอบอาชีพ อีกทั้งอาจเข้าใจว่า โรคมะเร็งปากมดลูกไม่เกิดกับทุกคนเพราะในหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ยังพบผู้ป่วยน้อยเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ขึ้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและเป็นการค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำสตรี ได้รับการเรียนรู้และตระหนักในการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี และสามารถนำความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมไปถ่ายทอดแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายได้

ร้อยละ 80 ของแกนนำสตรี มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำไปถ่ายทอดแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายได้

0.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 80 ของสตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม

0.00
3 เพื่อค้นหาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก

ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30 - 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 25 ของสตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 704 2,085.00 2 2,085.00
8 เม.ย. 63 เ5.1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มทำโครงการ 5.1.1 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติและขอสนับสนุนงบประมาณ 5.1.2 ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ , อสม. 5.1.3 ประสานงานขอความร่วมมือกับหน่วยงานทตรียมความพร้อมก่อนเริ่มโครงการ 7 0.00 0.00
20 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 697 2,085.00 2,085.00
20 - 22 เม.ย. 63 อบรมแกนนำสตรี(อสม.) และสตรีกลุ่มเป้าหมาย 5.2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ แกนนำสตรี(อสม.) และสตรีกลุ่มเป้าหมาย 5.2.1 รวบรวมข้อมูลสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 70 ปี 5.2.2 ทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบ 114 18,730.00 18,730.00
114 18,730.00 1 18,730.00

1.จัดทำโครงการเพื่อขอนุมัติและขอสนับสนุนงบประมาณ 2.ประชุมชี้แจงดครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม 3.ประสานงานขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่าย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แกนนำสตรี(อสม.)และสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 70 ปี มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม สามารถแนะนำกลุ่มเป้าหมายได้
2.สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี
3.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหา โรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก
4.สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ และได้รับการรักษาทุกราย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2562 00:00 น.