โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนอ.เมืองจ.สตูลปีงบประมาณ 2563

4.2.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามเด็กกลุ่มเสี่ยง อายุแรกเกิด ถึง 2 ปี
๑) ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนร่วมกันค้นหาเด็กแรก
เกิดถึงปีในพื้นที่และแนะนำเข้าร่วมกิจกรรมโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต
๒) จัดบริการคัดกรองค้นหาเด็กที่มีภาวะเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ โดยกำหนดเกณฑ์เสี่ยง
ในเด็กแรกเกิดถึง 2 ปี ดังนี้
- มีภาวะความพิการแต่กำเนิด
- มีประวัติมีภาวะขาดอออกซิเจนในระยะแรกเกิด
- น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม
- มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อน 37 สัปดาห์)
- มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (เต้ย,ผอม) หรือเกินเกณฑ์ (อ้วน)
- มีภาวะซีด ( Hct. <33% หรือ Hb <11gms)
- เด็กอยู่ในภาวะยากลำบาก (ไม่มีผู้เลี้ยงดู/ครอบครัวหย่าร้าง/เด็กมีประวัติถูกกระทำความรุนแรง)
- แม่อายุน้อยกว่า 17 ปี
๓) จัดทำเอกสารข้อมูลและแผนดูแลสำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยงรายบุคคล (Individual Care
plan)
๔) จัดทำแผนปฏิบัติงานการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามเด็กกลุ่มเสี่ยง
ประจำเดือน
๕) จัดกิจกรรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดูเด็ก ตาม
หลักสูตรเนื้อหา การส่งเสริมสุขภาพ 1,000 แรกแห่งชีวิต (เนื้อหาหลักประกอบด้วย พันธะสัญญา 1,000วัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารตามวัย วิธีการออกกำลังกายและการพักผ่อน การสร้างสมาธิด้วยจิตประภัสสร วิธีการสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวทางในคู่มือ DSPM ศักยภาพสมองเด็ก การวัดและประเมินการเจริญเติบโต การป้องกันอุบัติเหตุในเด็ก และอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาพบแพทย์)
๖) ติดตามเยี่ยมเด็กกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการฯ เดือนละครั้ง
- อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน (Excusive Breast Feeding) ร้อยละ 60
- เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี จำนวน 94 คน ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ จำนวน 90 คน
คิดเป็นร้อยละ 95.74 - เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี จำนวน 94 คน สูงดีสมส่วน จำนวน 75 คน
คิดเป็นร้อยละ 79.79 ของเด็ก 0-2 ปี สูงดีสมส่วน - เด็กกลุ่มที่มีความเสี่ยงได้รับการติดตาม จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 100

4.2.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ขึ้นทะเบียน มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่ง
ชีวิต)
๑) ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนร่วมกันค้นหาหญิง
ตั้งครรภ์และแนะนำเข้าร่วมกิจกรรมโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต
๒) จัดทำเอกสารข้อมูลและแผนดูแลสำหรับหญิงตั้งครรภ์รายบุคคล (Individual Care
plan)
๓) จัดกิจกรรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะหญิงตั้งครรภ์และสามีตามหลักสูตรเนื้อหา
การส่งเสริมสุขภาพ 1,000 แรกแห่งชีวิต (เนื้อหาหลักประกอบด้วย พันธะสัญญา 1,000 วัน อาหาร การพักผ่อน วิธีการออกกำลังกาย การสร้างสมาธิด้วยจิตประภัสสร การประเมินความเครียดและวิธีการจัดการความเครียด วิธีการส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต ศักยภาพสมองเด็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิธีการสังเกตอาการเจ็บครรภ์เตือนอาการเจ็บครรภ์คลอด และอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาพบแพทย์
๔) ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการฯ
๑.1 ร้อยละ 100 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และทักษะในการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และส่งเสริมพัฒนาการ และเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
1.2 ร้อยละ 100ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงในการตั้งครรภ์และการคลอด โดยการซักประวัติ และการตรวจร่างกาย
1.3 ร้อยละ 100 หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
1.4อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 6.9

4.2.1 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข (เนื้อหาประกอบด้วย การค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ การดูแลและติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับยาวิตะมินเสริมธาตุเหล็กตามแผนการรักษา ประโยชน์ของการฝากครรภ์ การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การดูแลหญิงหลังคลอด การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก และติดตามเด็กกลุ่มปกติ
ร้อยละ 100 ของ อสม.ได้รับความรู้และทักษะในการแนะนำกลุ่มเป้าหมาย และการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ การดูแลและติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับยาวิตะมินเสริมธาตุเหล็กตามแผนการรักษา ประโยชน์ของการฝากครรภ์ การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การดูแลหญิงหลังคลอด การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก และติดตามเด็กกลุ่มปกติ