กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓ อ ๒ ส พัฒนาและเข้าถึงระบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อย่างต่อเนื่อง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบองอ
วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 0.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
350.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
350.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเจ็บป่วยเรื้อรังกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลกและในประเทศไทย การเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นภาวะเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาของบุคคลที่เกิดขึ้นอย่างถาวร ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สังคม ครอบครัวต้องรับภาระดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้การดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป ถ้าหากการดูแลผู้ป่วยใช้เวลายาวนานทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลและเศรษฐกิจโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมและวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งสามารถป้องกันและปรับเปลี่ยนได้ ซึ่งพบว่ามีอัตราอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศที่มีประชากรเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เพิ่มขึ้นในทุกๆปี ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 10 ล้านคน ผู้ป่วยเบาหวาน ๓.๒ ล้านคน และพบว่ามีผู้ป่วยเข้าถึงระบบบริการเพียงร้อยละ ๒๙ และ ๔๑ ตามลำดับ
สำหรับในเขตพื้นที่ตำบลบองอ พบการเจ็บป่วยเรื้อรัง ด้วยโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เพิ่มขึ้นทุกปีจากข้อมูลสถิติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลาไม พบจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 321 คนและโรคเบาหวาน จำนวน 119 คน ของประชากรวัยกลางคนและสูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคดังกล่าว และยังพบว่า มีผู้ป่วยติดบ้าน จำนวน 5 คน ซึ่งมีอาการจากโรคหลอดเลือดสมอง เป็นอัมพฤกษ์ การเจ็บป่วยดังกล่าว เกิดจากพฤติกรรมของประชาชนที่ดำเนินชีวิตและบริโภคอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด หวานจัด มีไขมันสูง มาเป็นระยะเวลายาวนาน ปราศจากการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเจ็บป่วยแล้ว ละเลยในการเข้ารับการรักษา อาจจะเข้ารับการรักษาและรักษาไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากระยะทางจากบ้าน ไปยังโรงพยาบาลประจำอำเภอ มีระยะทางมากกว่า ๒๐ กิโลเมตร ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาและเพิ่มการเข้าถึงระบบบริการแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตพื้นที่บองอ ให้สามารถควบคุม ป้องกัน การเกิดโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น ป้องกันความรุนแรงของโรคในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ให้มีคุณภาพ และได้รับการักษาอย่างต่อเนื่อง จากบ้าน ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลประจำอำเภอ ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ศูนย์สุขภาพบ้านบองอ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓ อ ๒ ส พัฒนาและเข้าถึงระบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อย่างต่อเนื่องขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

350.00 350.00
2 1. เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 2. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน สามารถเข้าถึงบริการ ลดจำนวนผู้ป่วยขาดนัดและมารับยาอย่างต่อเนื่อง 3. เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เช่น อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและให้กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน สามารถเข้าถึงบริการ ลดจำนวนผู้ป่วยขาดนัดและมารับยาอย่างต่อเนื่อง  สามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เช่น อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
30 มี.ค. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก3อ2ส 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เข้าถึงบริการ ลดจำนวนผู้ป่วยขาดนัดและมารับยาอย่างต่อเนื่อง และลดจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์และอัมพาต

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2562 00:00 น.