กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓ อ ๒ ส พัฒนาและเข้าถึงระบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อย่างต่อเนื่อง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบองอ

หมู่4 บ้านบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

350.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

350.00

การเจ็บป่วยเรื้อรังกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลกและในประเทศไทย การเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นภาวะเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาของบุคคลที่เกิดขึ้นอย่างถาวร ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สังคม ครอบครัวต้องรับภาระดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้การดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป ถ้าหากการดูแลผู้ป่วยใช้เวลายาวนานทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลและเศรษฐกิจโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมและวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งสามารถป้องกันและปรับเปลี่ยนได้ ซึ่งพบว่ามีอัตราอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศที่มีประชากรเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เพิ่มขึ้นในทุกๆปี ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 10 ล้านคน ผู้ป่วยเบาหวาน ๓.๒ ล้านคน และพบว่ามีผู้ป่วยเข้าถึงระบบบริการเพียงร้อยละ ๒๙ และ ๔๑ ตามลำดับ
สำหรับในเขตพื้นที่ตำบลบองอ พบการเจ็บป่วยเรื้อรัง ด้วยโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เพิ่มขึ้นทุกปีจากข้อมูลสถิติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลาไม พบจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 321 คนและโรคเบาหวาน จำนวน 119 คน ของประชากรวัยกลางคนและสูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคดังกล่าว และยังพบว่า มีผู้ป่วยติดบ้าน จำนวน 5 คน ซึ่งมีอาการจากโรคหลอดเลือดสมอง เป็นอัมพฤกษ์ การเจ็บป่วยดังกล่าว เกิดจากพฤติกรรมของประชาชนที่ดำเนินชีวิตและบริโภคอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด หวานจัด มีไขมันสูง มาเป็นระยะเวลายาวนาน ปราศจากการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเจ็บป่วยแล้ว ละเลยในการเข้ารับการรักษา อาจจะเข้ารับการรักษาและรักษาไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากระยะทางจากบ้าน ไปยังโรงพยาบาลประจำอำเภอ มีระยะทางมากกว่า ๒๐ กิโลเมตร
ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาและเพิ่มการเข้าถึงระบบบริการแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตพื้นที่บองอ ให้สามารถควบคุม ป้องกัน การเกิดโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น ป้องกันความรุนแรงของโรคในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ให้มีคุณภาพ และได้รับการักษาอย่างต่อเนื่อง จากบ้าน ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลประจำอำเภอ ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ศูนย์สุขภาพบ้านบองอ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓ อ ๒ ส พัฒนาและเข้าถึงระบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อย่างต่อเนื่องขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

350.00 350.00
2 1. เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 2. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน สามารถเข้าถึงบริการ ลดจำนวนผู้ป่วยขาดนัดและมารับยาอย่างต่อเนื่อง 3. เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เช่น อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและให้กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน สามารถเข้าถึงบริการ ลดจำนวนผู้ป่วยขาดนัดและมารับยาอย่างต่อเนื่อง  สามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เช่น อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 350
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/11/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก3อ2ส

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก3อ2ส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตรจำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน750.- บาท
  • ค่าวิทยากร 6 ชัวโมงๆละ600 บาทจำนวน 5 รุ่นเป็นเงิน 18,000.- บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 350 คน ๆละ 50 บาท(แบ่งเป็น 5 รุ่น) เป็นเงิน 17,500.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 350 คน x 25 บาท x 2 มื้อ จำนวน5 รุ่นเป็นเงิน 17,500.- บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม จำนวน 350 คน x 100 บาท เป็นเงิน 35,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เข้าถึงบริการ ลดจำนวนผู้ป่วยขาดนัดและมารับยาอย่างต่อเนื่อง และลดจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์และอัมพาต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
88750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 88,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เข้าถึงบริการ ลดจำนวนผู้ป่วยขาดนัดและมารับยาอย่างต่อเนื่อง และลดจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์และอัมพาต


>