กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนตำบลเกาะจัน ปีงบ 2563
รหัสโครงการ 63-L3001-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเกาะจัน
วันที่อนุมัติ 5 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 25,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเกาะจัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบทอีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจหรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังมีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆในการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคคลและอาจมีอายุสั้นกว่าปกติถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การตรวจ ดังนั้นการควบคุมป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการควบคุมการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังนั้นต้องประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การผ่อนคลายอารมณ์เครียดและการใช้ยาร่วมด้วยซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้สามารถควบคุมโรคและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จากการสำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมสำนักโรคไม่ติดต่อ ปี พ.ศ 2560 พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน๒66,903คน และโรคเบาหวานจำนวน๒๒๐,๔๑๓คน ซึ่งจากการสำรวจปัญหาสุขภาพชุมชนโดยการสืบค้นในระบบ Hosxp_pcu ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะจัน ปี 2562 พบว่าประชากรในตำบลเกาะจัน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานีมีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน 315 คนพบโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด จำนวน 233 คน และโรคเบาหวาน จำนวน 72 คน ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนย้อนหลัง๓ปีตั้งแต่ พ.ศ. 2560 – 2562พบว่า ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.เกาะจัน มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางด้านสมอง ส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตตามมา จำนวน 2,3 และ 2 คน ตามลำดับ ภาวะเบาหวานขึ้นตา จำนวน 1,3,4 คน ตามลำดับ และมีแผลที่เท้า จำนวน 2, 2 , 3 คน ตามลำดับ ภาวะไตวายเรื้อรังระดับ 4 ขึ้นไป จำนวน 2,1 และ 1 คน ตามลำดับจากจำนวนดังกล่าว ทำให้เห็นถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะจันจึงจัดทำโครงการโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.และผู้ดูแลคนไข้โรคเรื้อรัง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนตำบลเกาะจัน ปี๒๕๖3 ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน สามารถเฝ้าระวัง ควบคุมพฤติกรรมต่างๆที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังห่างไกลจากภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ อสม .และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลป้องกันเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

ร้อยละของ อสม .และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลป้องกันเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

50.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 180 25,400.00 1 25,400.00
17 ส.ค. 63 อบรมให้ความรู้อสม.และผู้ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง 180 25,400.00 25,400.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ดูแลและอสม.สามารถนำความรู้ในเรื่องของการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2562 15:21 น.