กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านกลาง


“ โครงการ “ปรับได้ ชีวิตเปลี่ยน” ”

ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นางสาวมารดียะ มะเซ็ง

ชื่อโครงการ โครงการ “ปรับได้ ชีวิตเปลี่ยน”

ที่อยู่ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 63-L2995-1-004 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ “ปรับได้ ชีวิตเปลี่ยน” จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านกลาง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ “ปรับได้ ชีวิตเปลี่ยน”



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ “ปรับได้ ชีวิตเปลี่ยน” " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 63-L2995-1-004 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 17,035.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านกลาง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน ซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเนื่องจาก สภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปีพ.ศ.2556 ขององค์การอนามัยโลก พบว่า 1 ใน 10 ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ1 ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ พบว่าประมาณร้อยละ63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับประเทศไทยรายงานจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2551 – 2553 พบความชุกของโรคเบาหวานในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ6.9 ทั้งนี้พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นเบาหวาน ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานมาก่อน และมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแต่ ไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ3.3 สำหรับความชุกของโรคความดันโลหิตสูง ในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบร้อยละ21.4 โดยพบว่าร้อยละ60 ในชายและร้อยละ40 ในหญิงไม่เคยได้รับได้รับการวินิจฉัยมาก่อนและร้อยละ8-9 ได้รับการวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง (เอกสารข้อมูลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (fact sheet)_สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์) หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าและโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3-8 เท่า และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ขณะที่รายที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้น อาทิ ความเสื่อมสภาพของหลอดเลือดสมอง หัวใจ ตา ไต และเท้า เป็นต้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้นนำไปสู่การสิ้นเปลืองด้านทรัพยากร งบประมาณ อุปกรณ์ ตลอดจนเวชภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาและการจัดการกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว จะต้องควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ และเข้าถึงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน แต่เนื่องด้วยผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิตและมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเบื่อหน่าย ขาดความใส่ใจในการรักษา ไม่ร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการควบคุมอาการของโรค กระทบต่อผู้ป่วยโดยตรงจากการกำเริบอาการของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น     โดยจังหวัดปัตตานีพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีตั้งแต่ ปี 2557-2562 คิดเป็นร้อยละ 5.12 5.03 14.43 15.19 16.41 และ15.92 ตามลำดับ จะเห็นว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ลดลงในปี 2562 เกณฑ์กระทรวงที่ตั้งไว้ ร้อยละ 40 ส่วนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ปี 2557-2562 คิดเป็นร้อยละ 9.02 9.18 18.05 15.59 30.52 และ28.36 ตามลำดับ เกณฑ์กระทรวงที่ตั้งไว้ที่ ร้อยละ 50 เมื่อลำดับความสำคัญของปัญหาในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านกลาง พบว่าโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ โดยพบว่าสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 28 คน ผู้ป่วยเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูงในคนเดียวกัน จำนวน 36 คน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 118 คน และในจำนวนนี้ พบว่า ในปี 2559 - 2562 มีผู้ป่วยที่ควบคุมโรคเบาหวานได้ จำนวน 10 4 3 และ4 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 6.67 3.13 และ 6.25 ตามลำดับ และควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้ จำนวน 38 26 52 และ 70 คน คิดเป็นร้อยละ 28.75, 19.4 35.37 และ 44.87 ตามลำดับ ซึ่งแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กระทรวง     ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น รพ.สต.บ้านกลาง จึงได้จัดทำ โครงการ ปรับได้ ชีวิตเปลี่ยน ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี เช่น การเจาะเลือด การตรวจตา ตรวจเท้า และให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนและมุ่งหวังในการที่จะเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งๆขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเข้าถึงการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 90 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินอาการและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่ และ อสม.
  2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาหาร การออกกำลังกาย และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคเบาหวาน
  3. ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต โดยการเจาะเลือดจากเลือดดำที่แขน โดยให้งดน้ำอาหารก่อนเจาะ 8-10 ชั่วโมง และเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจ ตรวจตา และตรวจเท้า
  4. ประชุมเจ้าหน้าที่และเครือข่าย อสม.ในพื้นที่ เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินการโครงการร่วมกัน ชี้แจงวิธีการสำรวจกลุ้มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 26
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 145
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมโรคได้เพิ่มขึ้น
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี ร้อยละ 90
  3. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจจอประสาทตาและการตรวจเท้า ร้อยละ 70
  4. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลเท้าของตนเอง ป้องกันการเกิดแผลที่เท้าได้
  5. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการดูแลต่อเนื่องแบบองค์รวม
  6. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง เรื่องอาหาร และการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมเจ้าหน้าที่และเครือข่าย อสม.ในพื้นที่ เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินการโครงการร่วมกัน ชี้แจงวิธีการสำรวจกลุ้มเป้าหมาย

วันที่ 30 มกราคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเจ้าหน้าที่และเครือข่าย อสม.ในพื้นที่ เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการร่วมกัน ชี้แจงวิธีการสำรวจกลุ่มเป้าหมาย โดยมีเจ้าหน้าที่และ อสม.จำนวน 26 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เครือข่าย อสม.สามารถกำเนินการตามโครงการอย่างมีคุณภาพ

 

26 0

2. เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินอาการและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่ และ อสม.

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563

กิจกรรมที่ทำ

-เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินอาการและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่ และ อสม. จัดขึ้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2563

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สามรถควบคุมโรคได้เพิ่มขึ้น 2.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี ร้อยละ 90 3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจจอประสาทตาและตรวจเท้า ร้อยละ 70 4.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถดุแลเท้าของตนเอง ป้องกันการเกิดแผลที่เท้าได้ 5.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการดุแลต่อเนื่องแบบองค์รวม 6.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง เรื่องอาหาร และป้องกันการเกิดภสวะแทรกซ้อนได้

 

5 0

3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาหาร การออกกำลังกาย และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคเบาหวาน

วันที่ 17 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

-จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาหาร การออกกำลังกาย และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคเบาหวาน จัดขึ้นในวันที่ 17 มีนาคม  2563 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้เพิ่มขึ้น 2.ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี ร้อยละ 90 3.ได้รับการตรวจจอประสาทตาและการตรวจเท้า ร้อยละ 70 4.สามารถดูแลเท้าของตนเอง 5.ได้รับการดูแลต่อเนื่องแบบอค์รวม 6.มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง เรื่องอาหาร และการป้องกันเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

 

73 0

4. ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต โดยการเจาะเลือดจากเลือดดำที่แขน โดยให้งดน้ำอาหารก่อนเจาะ 8-10 ชั่วโมง และเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจ ตรวจตา และตรวจเท้า

วันที่ 17 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

-ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต โดยการเจาะเลือดจากเลือดดำที่แขน โดยให้งดน้ำอาหารก่อนเจาะ 8-10 ชั่วโมง และเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจ ตรวจตา และตรวจเท้า จัดขึ้นในวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง จำนวน 73 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้เพิ่มขึ้น 2.ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี ร้อยละ 90 3.ได้รับการตรวจจอประสาทตาและการตรวจเท้า ร้อยละ 70 4.สามารถดูแลเท้าของตนเอง 5.ได้รับการดูแลต่อเนื่องแบบอค์รวม 6.มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง เรื่องอาหาร และการป้องกันเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

 

73 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

มีการดำเนินกิจกรรม จำนวน 4 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 -ประชุมเจ้าหน้าที่และเครือข่าย อสม.ในพื้นที่ เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการร่วมกัน ชี้แจงวิธีการสำรวจกลุ่มเป้าหมาย โดยมีเจ้าหน้าที่และ อสม.จำนวน 26 คน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง กิจกรรมที่ 2 -เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินอาการและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่ และ อสม. จัดขึ้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง กิจกรรมที่ 3 -จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาหาร การออกกำลังกาย และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคเบาหวาน จัดขึ้นในวันที่ 17 มีนาคม 2563 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง กิจกรรมที่ 4 -ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต โดยการเจาะเลือดจากเลือดดำที่แขน โดยให้งดน้ำอาหารก่อนเจาะ 8-10 ชั่วโมง และเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจ ตรวจตา และตรวจเท้า จัดขึ้นในวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง จำนวน 73 คน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเข้าถึงการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 90 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 171 26
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 26 26
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 145
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเข้าถึงการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 90      2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินอาการและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่ และ อสม. (2) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาหาร การออกกำลังกาย และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคเบาหวาน (3) ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต โดยการเจาะเลือดจากเลือดดำที่แขน โดยให้งดน้ำอาหารก่อนเจาะ 8-10 ชั่วโมง และเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจ ตรวจตา และตรวจเท้า (4) ประชุมเจ้าหน้าที่และเครือข่าย อสม.ในพื้นที่ เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินการโครงการร่วมกัน ชี้แจงวิธีการสำรวจกลุ้มเป้าหมาย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ “ปรับได้ ชีวิตเปลี่ยน” จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 63-L2995-1-004

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวมารดียะ มะเซ็ง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด