โครงการพัฒนาความรู้ การดูแลสุขภาพแรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาความรู้ การดูแลสุขภาพแรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา |
รหัสโครงการ | 63-L3069-11(2)-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ปุโละปุโย |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ปุโละปุโย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ | 30.00 | ||
2 | จำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน | 5.00 | ||
3 | ร้อยละของแรงงานนอกระบบมีความรูเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง | 30.00 | ||
4 | ร้อยละของแรงงานนอกระบบมีการป้องกันโรคจากการทำงานและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน | 10.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามที่รัฐบาลได้มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานและบริการอาชีวะอนามัยในสถานประกอบการของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึง 2564 ตลอดจนการดำเนินการพัฒนาด้านอาชีวอนามัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา และการยกระดับมาตรฐานในด้านความปลอดภัยในการทำงานและการบริการอาชีวอนามัยในสถานประกอบการสำหรับสถานที่ต่างๆ เช่น สถานที่ราชการ สถานที่ประกอบการเอกชน ตลาด ร้านอาหาร โรงงาน เป็นต้น เพื่อให้สถานที่ต่างๆได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานตามที่กำหนดอันจะทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการบริการด้านความปลอดภัยในการทำงานและการบริการอาชีวอนามัยในสถานประกอบการเพิ่มขึ้น โรคที่เกิดจากการทำงาน หรือโรคจากการประกอบอาชีพ เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทั้งส่วนบุคคลครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติเมื่อเกิดกับบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานและมีบทบาทความรับผิดชอบสำคัญของครอบครัวย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครอบครัวและสังคม ทั้งในทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดกับผู้ประกอบอาชีพอิสระนอกระบบ เช่น เกษตรกร ประมง ร้านอาหาร/ขนม ซ่อมรถ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ก่อสร้าง เป็นต้น เพราะผู้ที่ประกอบอาชีพเหล่านี้เป็นเจ้าของกิจการเองไม่ได้รับค่าจ้างจากผู้อื่นในลักษณะของเงินเดือนหรือค่าแรงประจำ และรับผิดชอบต่อการดำเนินการทั้งในส่วนของกำไร หรือขาดทุน หากเกิดการเจ็บป่วยหรือประสบเหตุอันตรายไม่สามารถทำงานได้ ย่อมขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในครัวเรือนและคุณภาพชีวิตของสมาชิกในครอบครัว ดังนั้นการส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องด้านสุขภาพและป้องกันโรคให้กับผู้ประกอบอาชีพ จึงเป็นเรื่องสำคัญ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในครัวเรือนของผู้ประกอบอาชีพ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาความรู้ การดูแลสุขภาพแรงงานนอกระบบ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคจากการทำงาน สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและลดความเสี่ยงจากการทำงานให้กับกลุ่มอาชีพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง |
30.00 | 5.00 |
2 | เพื่อให้กลุ่มแรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพาราได้ความรู้เกียวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง ร้อยละ 70 ของกลุ่มแรงงานนอกระบบที่ได้รับการอบรมได้รับรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง |
30.00 | 0.00 |
3 | เพื่อกลุ่มแรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา ได้รับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน และสามารถนำไปปฏิบัติได้ ร้อยละ 60 ของแรงงานนอกระบบมีการป้องกันตนเองในการประกอบอาชีพเกษตรกรสวนยางพารา |
10.00 | 0.00 |
4 | เพื่อสร้างแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ในพื้นที่ มีแกนนำ อสอช. อย่างน้อย 10 คน |
60.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 100 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | |
19 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 | กิจกรรม อบรมให้ความรู้ ส่งเสริมและป้องกันโรคของผู้ใช้แรงงานนอกระบบ ในกลุ่มของเกษตรกรสวนยางพารา | 45 | 14,560.00 | - | ||
19 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 | 3 กิจกรรม ตรวจสุขภาพกลุ่มผู้ใช้แรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล ในการประเมินสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลต่อไป | 45 | 0.00 | - | ||
19 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 | กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัยให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัย | 10 | 5,440.00 | - |
1.ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 2.จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัคาอาชีวอนามัยชุมชนในพื้นที่ 3.เก็บข้อมูลรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพาราในพื้นที่ (ใช้แบบสำรวจข้อมูลของ สปสช.) 4.จัดระบบฐานข้อมูล 5.คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นแรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา 6.ตรวจสุขภาพพร้อมทั้งประเมินสุขภาพแรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา 7.ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่กลุ่มแรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา 8.สรุป-รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะผู้บริหารและคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปุโละปุโย
1.แรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพามีการเจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพลดลง 2.กลุ่มแรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพาราได้ความรู้เกียวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง 3.กลุ่มแรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา ได้รับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน และสามารถนำไปปฏิบัติได้ 4.เกิดแกนนำ อสอช. ในองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย อย่างน้อย 10 คน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2562 00:00 น.