กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาความรู้ การดูแลสุขภาพแรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบตงปุโละปุโย

1.นายมามะ หะยีสามะ
2.นายอารีดี ปากบารา
3.นางสาวกฤติยา ประถมปัทมะ
4.นางสาวสุปรานี ชูกลับ
5.นางสาวรุสมีมี อาแว

อบต.ปุโละปุโย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ (คน)

 

20.00
2 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

 

30.00
3 จำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

 

5.00

ตามที่รัฐบาลได้มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานและบริการอาชีวะอนามัยในสถานประกอบการของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึง 2564 ตลอดจนการดำเนินการพัฒนาด้านอาชีวอนามัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา และการยกระดับมาตรฐานในด้านความปลอดภัยในการทำงานและการบริการอาชีวอนามัยในสถานประกอบการสำหรับสถานที่ต่างๆ เช่น สถานที่ราชการ สถานที่ประกอบการเอกชน ตลาด ร้านอาหาร โรงงาน เป็นต้น เพื่อให้สถานที่ต่างๆได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานตามที่กำหนดอันจะทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการบริการด้านความปลอดภัยในการทำงานและการบริการอาชีวอนามัยในสถานประกอบการเพิ่มขึ้น โรคที่เกิดจากการทำงาน หรือโรคจากการประกอบอาชีพ เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทั้งส่วนบุคคลครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติเมื่อเกิดกับบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานและมีบทบาทความรับผิดชอบสำคัญของครอบครัวย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครอบครัวและสังคม ทั้งในทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดกับผู้ประกอบอาชีพอิสระนอกระบบ เช่น เกษตรกร ประมง ร้านอาหาร/ขนม ซ่อมรถ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ก่อสร้าง เป็นต้น เพราะผู้ที่ประกอบอาชีพเหล่านี้เป็นเจ้าของกิจการเองไม่ได้รับค่าจ้างจากผู้อื่นในลักษณะของเงินเดือนหรือค่าแรงประจำ และรับผิดชอบต่อการดำเนินการทั้งในส่วนของกำไร หรือขาดทุน หากเกิดการเจ็บป่วยหรือประสบเหตุอันตรายไม่สามารถทำงานได้ ย่อมขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในครัวเรือนและคุณภาพชีวิตของสมาชิกในครอบครัว ดังนั้นการส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องด้านสุขภาพและป้องกันโรคให้กับผู้ประกอบอาชีพ จึงเป็นเรื่องสำคัญ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในครัวเรือนของผู้ประกอบอาชีพ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาความรู้ การดูแลสุขภาพแรงงานนอกระบบ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคจากการทำงาน สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและลดความเสี่ยงจากการทำงานให้กับกลุ่มอาชีพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง

30.00 5.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ เพิ่มขึ้น(คน)

20.00 25.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตราการ ในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

มีจำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน เพิ่มขึ้น

5.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย ให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัย การประเมินความเสี่ยงความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้แอพพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย ให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัย การประเมินความเสี่ยงความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้แอพพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย ให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัย การประเมินความเสี่ยงความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้แอพพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล
1.2 กิจกรรมการสำรวจข้อมูลแรงงานนอกระบบ งบประมาณ ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท.x 1 คน x 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000 บาท ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 18คนๆละ.x 50 บาท เป็นเงิน 900 บาท ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 x 18 คน เป็นเงิน 900 บาท ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 3 ม. จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720 บ. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เป็นเงิน 1,330 บาท ค่าตอบแทนการสำรวจ จำนวน 180 ชุด x ชุดละ 15 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท รวมเป็นเงิน9,550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อบต.ปุโละปุโย มีระบบฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบด้านอาชีพและระบบสุขภาพในพื้นที่ เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาต่อไป 2.เกิดแกนนำ อสอช.ในองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย อย่างน้อยจำนวน 18 คน 3.กลุ่มแรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา ได้รับความรู้ได้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน และสามารถนำไปปฏิบัติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9550.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม อบรมให้ความรู้ ส่งเสริมและป้องกันโรคของผู้ใช้แรงงานนอกระบบ ในกลุ่มของเกษตรกรสวนยางพารา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้ ส่งเสริมและป้องกันโรคของผู้ใช้แรงงานนอกระบบ ในกลุ่มของเกษตรกรสวนยางพารา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท.x 1 คน x 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000 บาท ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 50 คนๆละ.x 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 x 50 คน เป็นเงิน 2,500  บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เป็นเงิน 2,450 บาท รวมเป็นเงิน   10,450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อบต.ปุโละปุโย มีระบบฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบด้านอาชีพและระบบสุขภาพในพื้นที่ เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาต่อไป 2.เกิดแกนนำ อสอช.ในองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย อย่างน้อยจำนวน 18 คน 3.กลุ่มแรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา ได้รับความรู้ได้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน และสามารถนำไปปฏิบัติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10450.00

กิจกรรมที่ 3 3 กิจกรรม ตรวจสุขภาพกลุ่มผู้ใช้แรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล 3.1 ตรวจสุขภาพประจำเดือนในกลุ่มเกษตรกรสวนยางพารา เดือนละ 2 ครั้ง 3.2 ประเมินสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลต่อไป

ชื่อกิจกรรม
3 กิจกรรม ตรวจสุขภาพกลุ่มผู้ใช้แรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล 3.1 ตรวจสุขภาพประจำเดือนในกลุ่มเกษตรกรสวนยางพารา เดือนละ 2 ครั้ง 3.2 ประเมินสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลต่อไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ตรวจสุขภาพประจำเดือนในกลุ่มเกษตรกรสวนยางพารา เดือนละ 2 ครั้ง 3.2 ประเมินสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลต่อไป งบประมาณ
-ไม่ใช้งบประมาณ-

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อบต.ปุโละปุโย มีระบบฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบด้านอาชีพและระบบสุขภาพในพื้นที่ เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาต่อไป 2.เกิดแกนนำ อสอช.ในองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย อย่างน้อยจำนวน 18 คน 3.กลุ่มแรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา ได้รับความรู้ได้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน และสามารถนำไปปฏิบัติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อบต.ปุโละปุโย มีระบบฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบด้านอาชีพและระบบสุขภาพในพื้นที่ เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาต่อไป
2.เกิดแกนนำ อสอช.ในองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย อย่างน้อยจำนวน 18 คน
3.กลุ่มแรงงานนอกระบบเกษตรกรสวนยางพารา ได้รับความรู้ได้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน และสามารถนำไปปฏิบัติได้


>