กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์สร้างสิ่งแวดล้อมเชิงรุกในชุมชน ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อม และการรักษาความสะอาด ตามมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค11 สิงหาคม 2563
11
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย รพ.สต.ควนโดน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างสิ่งแวดล้อมเชิงรุกในชุมชน ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อม และการรักษาความสะอาด ตามมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค และการจัดการขยะในครัวเรือน ด้วยหลัก 3 R (Reduce/ Reuse/ Recycle) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมพลังสร้างสุขภาพและป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ ได้แก่ โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ฯลฯ ร่วมสร้างชุมชนสะอาดปราศจากขยะโดยทุกภาคีมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม อาทิ อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำชุมชน นักเรียน ดำเนินกิจกรรมพร้อมกันในพื้นที่ หมู่ 2 บ้านสะพานเคียน, หมู่ 3 บ้านถ้ำทะลุ, หมู่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง, หมู่ 6 บ้านหัวสะพานเหล็ก, หมู่ 7 บ้านบูเก็ตยามู, หมู่ 8 บ้านปลักใหญ่ใจดี, หมู่ 9 บ้านนาปริก, และหมู่ 10 บ้านคลองบาราเกตุ จำนวน 3 ครั้ง

    ครั้งที่ 1  วันที่ 29 กรกฎาคม 2563

                ครั้งที่ 2 วันที่ 5 สิงหาคม 2563                 ครั้งที่ 3 วันที่ 11 สิงหาคม 2563

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 3 พบหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์ ค่า HI ต่ำกว่า 10 ตามเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน  7 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 87.5

จากผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3 ครั้ง ในสถานที่ราชการ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ มัสยิด จำนวน 11 แห่ง พบว่า การสำรวจครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 มีค่า CI = 0 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด

กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก โดยภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการควบคุมพาหะนำโรค6 สิงหาคม 2563
6
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย รพ.สต.ควนโดน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มแกนนำในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้  ส่วนเสียกับการควบคุมพาหะนำโรค กิจกรรมดังกล่าวได้จัดขึ้น วันที่ 6 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30 น. – 16.30 น. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 102 คน ณ อาคารโรงเรียน อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน และได้เชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน  คุณรสนา บินหมาน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เป็นวิทยากรบรรยายในกิจกรรมดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้และสามารถนำไปใช้ในการป้องกันโรคได้อย่างถูกต้อง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจ และความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างดี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชาชนในชุมชนมีความรู้และสามารถนำไปใช้ในการป้องกันโรคได้อย่างถูกต้อง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจ และความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างดี

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ3 สิงหาคม 2563
3
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย รพ.สต.ควนโดน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ และสำรวจลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน แก่แกนนำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 ในโรงเรียนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ อบต. ควนโดน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
โรงเรียนบ้านควนโต๊ะเหลง จำนวนนักเรียน 50 คน จัดกิจกรรมวันที่ 3 สิงหาคม 2563
โรงเรียนบ้านดูสน จำนวนนักเรียน 56 คน จัดกิจกรรมวันที่ 4 สิงหาคม 2563
โรงเรียนบ้านบูเก็ตยามู จำนวนนักเรียน 50 คน จัดกิจกรรมวันที่ 7 สิงหาคม 2563
เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนร้อยละนักเรียนที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ จำแนกตามระดับความรู้ก่อนและหลังการอบรม

กลุ่มเป้าหมาย            ผลการประเมินก่อนเข้าอบรม(ร้อยละ)        ผลการประเมินหลังการอบรม(ร้อยละ)

โรงเรียนบ้านควนโต๊ะเหลง          42.16                            90.21
โรงเรียนบ้านดูสน                  34.17                              84.25
โรงเรียนบ้านบูเก็ตยามู            45.27                            86.24
จากการประเมินผลความรู้เรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ หลังการอบรม พบว่า นักเรียนจากโรงเรียนทั้ง 3 แห่ง มีระดับความรู้ที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ขึ้นไป