กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนนาทอน อ่อนหวาน ดันดี ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5294-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 49 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น เนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้น จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยฯครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 พบว่าสัดส่วนของผู้เป็นเบาหวานที่ไม่ทราบว่าตนองเป็นเบาหวาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 31.2 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 43.1 ในปี 2557 และ ผู้ที่เป็นความดันฯสูงไม่ทราบว่าตนเองเป็นความดันฯสูง จากร้อยละ 50.3 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 44.7 ในปี 2557 แสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่ไทยที่เป็นเบาหวานและ/หรือความดันฯสูง มากกว่าร้อยละ 40 ไม่ได้รับการวินิจฉัยจากวิธีการคัดกรองที่ผ่านมา ดังนั้น แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560 และแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562 จึงได้กำหนดวิธีการคัดกรอง วินิจฉัย ขึ้นทะเบียนและรักษา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว การคัดกรอง-วินิจฉัยและประเมินความเสี่ยงฯ ทำให้สามารถพบกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค กลุ่มสงสัยป่วยหรือกลุ่มป่วยแล้วแต่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง-วินิจฉัยแต่แรก การดูแลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยดังกล่าว ทั้งที่มีและไม่มีอาการ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสมอย่างเข้มข้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง สามารถป้องกันและยืดระยะเวลาการเป็นโรคออกไปได้ถึงร้อยละ 50 จึงเป็นวิธีการป้องกันการเกิดโรคฯ ที่ดีที่สุด พบความชุกของโรคเบาหวานในประชาไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 6.9 ทั้งนี้พบว่าหนึ่งในสามของผู้ที่เป็นเบาหวานไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานมาก่อน และมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับการรักษา คิดเป็นร้อยละ 3.3 สำหรับความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบร้อยละ 21.4 โดยพบว่าร้อยละ 60 ในชาย และร้อยละ 40 ในหญิง ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน และร้อยละ 8-9 ได้รับการวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการรักษาทั้งนี้สถิติจากประเทศต่างๆ พบว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค Metabolic โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค ในกลุ่มเป้าหมายคือ ประชากรกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปทุกราย ด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม (Verbal Screening) การวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูง และการวัดเส้นรอบพุง เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง และค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น กลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการตรวจยืนยันความเสี่ยงต่อโรค Metabolic โดยบุคลากรสาธารณสุข เพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ส่วนกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคก็ส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกราย ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรคในรายที่ป่วยแล้ว และกำหนดให้มีการบันทึกข้อมูลลงตามโปรแกรมคัดกรองความเสี่ยงโรค Metabolic ปี 2559 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย สถานการณ์โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของรพ.สต.นาทอนปี 2561 และปี 2562 พบว่า มีผู้ป่วยดังนี้ โรคเบาหวาน จำนวน 121 , 119 ราย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 121 , 119 ราย กลุ่มเสี่ยงป่วยดังนี้ โรคเบาหวาน จำนวน 449 , 395 ราย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 312 , 287 ราย ตามลำดับ จึงได้จัดทำโครงการคนนาทอน อ่อนหวาน ดันดี ประจำปีงบประมาณ 2563 ในประชากรกลุ่มอายุ15 – 34 ปีและ 35 ปีขึ้นไป เพื่อให้การดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยง บรรลุตามตัวชี้วัด เป็นการค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรม เข้าใจหลักการดำเนินชีวิตที่ปลอดภัยจากโรคเรื้อรัง สามารถนำไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองและครอบครัวกลุ่มผู้ป่วยได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ลดปัญหาค่าใช้จ่ายที่ต้องเป็นภาระตลอดไป ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน และคิดค้นนวัตกรรมแบบคัดกรองโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อออกแบบเครื่องมือการคัดกรอง

มีแบบคัดกรอง 1 ชิ้น

0.00
2 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับความรู้และทักษะการปฏิบัติตน

กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีความรู้และทักษะการปฏิบัติตน

0.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน

จำนวนผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวานลดลง

0.00
4 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน

เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00 30,000.00
??/??/???? เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 0 0.00 - -
??/??/???? ประชุมชี้แจงโครงการแก่ จนท.และอสม. 0 0.00 - -
??/??/???? ประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่ ม.1, ม.2, ม.3, ม.6, และม.7ต.นาทอน 0 0.00 - -
??/??/???? จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานแบะความดันโลหิตสูง 0 0.00 - -
??/??/???? จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง 0 8,180.00 - -
??/??/???? ติดตามวัดความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงป่วยที่บ้าน (วันละ 4 ครั้ง เช้า 2 ครั้ง ก่อนนอน 2 ครั้งนาน 7 วัน) 0 12,500.00 - -
??/??/???? ประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการทดลองใช้แบบคัดกรองที่คิดค้นขึ้นใหม่ 0 1,260.00 - -
??/??/???? สรุปและรวบรวมผลการดำเนินงาน 0 0.00 - -
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อออกแบบคัดกรอง และให้ความรู้ อสม. จำนวน 63 คน 0 8,060.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 30,000.00 0 0.00 30,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นวัตกรรมแบบคัดกรองโรค
2.กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีความรู้และทักษะการปฏิบัติตน
3.จำนวนผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงลดลง
4.กลุ่มเสี่ยงป่วยโรคความดันโลหิตได้รับการติดตามวัดความดันที่บ้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2563 22:42 น.