กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องโดยการใช้กายอุปกรณ์
รหัสโครงการ 63-L8300-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลแว้ง
วันที่อนุมัติ 2 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มีนาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 29 มกราคม 2564
งบประมาณ 29,610.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุนีย์ มะรีเป็น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 มี.ค. 2563 31 ธ.ค. 2563 29,610.00
รวมงบประมาณ 29,610.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องในชุมชนถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อย่างยั่งยืนโดยมีญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วม เนื่องจากความพิการที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวร่างกายต้องพึ่งพาบุคคลอื่นในระยะยาวจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ผู้ป่วยถูกจำกัดให้ปฎิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติ การที่ผุ้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ลดลงรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือดูแล   กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู งานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลแว้ง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องโดยการรอกชักมือ-เท้า ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มีความต้องการจำเป็นพิเศษด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือบางอย่าง เพื่อช่วยในการฝึกหัดร่างกายและต้องได้รับการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่องและใช้ระยะเวลานาน ทำให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีภาระเรื่องเวลาและหน้าที่การงาน เป็นเหตุให้ผู้ดูแลผู้ป่วยได้ไม่ดีตามความจำเป็นของการรักษา เช่น การบริหารกล้ามเนื้อแขนและขาของผู้ป่วยในเรื่องการรักษาอาการนี้สามารถทำได้ โดยการใช้วิธีกายภาพบำบัด ซึ่งในโรงพยาบาลก็มีการรักษาในลักษณะนี้ แต่อุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษามีราคาสูง ด้วยเหตุนี้จึงนำรอกชักมือนอก-เท้าและแผ่นไม้อัดยืดกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ประยุกต์ให้ออกมาในรูปแบบหนึ่ง ประหยัดพื้นที่และการทำงานไม่ซับซ้อน ผู้ป่วยสามารถทำกายภาพบำบัดได้ด้วยตนเอง เหมาะกับผู้ป่วยที่ญาติไม่สามารถทำหัตถบำบัดให้ผู้ป่วยได้ทุกครั้งและสภาพบ้านที่ไม่มีชื่อก็สามารถใช้รอกชักมือ-เท้า เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพให้ปฎิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ให้ข้อจำกัดดังกล่าวลดลง หรือหมดไปเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสภาพที่เหมาะสมสภาพที่เหมาะสมลดภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป โดยกำหนดเป้าหมาย 50 คน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อเสริมศักยภาพในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่สำคัญในการดำรงชีวิตของผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง
  1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพหลังให้ความรู้ร้อยละ 80
80.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ผูู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องสามารถใช้อุปกรณ์ทำกายบริหารด้วยตนเองได้ง่ายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและลดภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล
  1. ร้อยละ ความพึงพอใจในการใช้รอกชักมือรอก-เท้า ร้อยละ 80
  2. ร้อยละ ความพึงพอใจในการใช้แผ่นไม้อัดยืดกล้ามเนื้อมือ ร้อยละ 80
  3. ร้อยละ ของผู้ใช้กายภาพอุปกรณ์ไม่มีภาวะแทรกซ้อนข้อติดและแผลกดทับ ร้อยละ 80
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
13 ส.ค. 63 จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ป่วยติดเตียง 50 24,110.00 24,110.00
13 - 15 ส.ค. 63 กิจกรรมเยี่ยมติดตามผู้ที่อยู่ระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และมอบรอกชักมือ- เท้าหรือไม้กระดาน 15 5,500.00 5,500.00
รวม 65 29,610.00 2 29,610.00
  1. จัดทำขออนุมัติโครงการฯ
  2. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและมอบหมายหน้าที่
  3. สำรวจและกำหนดสถานที่ในการดำ เนินโครงการ
  4. นำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ
  5. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  6. จัดกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถาพต่อเนื่องโดยการใช้กายภาพอุปกรณ์ 6.1. กิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ป่วยติดเตียง สอนแนะนำผู้ดูแลในครอบครัวเรื่องการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวร่างกาย 6.2. บุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขลงไปประเมินสภาพของผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดุแลต่อเนื่องที่บ้าน และมอบรอกชักมือ- เท้าหรือไม้กระดานที่จำเป็นสำหรับผู้ที่อยู่ในระยะี่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยการพิจารณาโดยบุคคลากรทางการแพทย์เป็นเฉพาะราย สอนและแนะนำผู้ดูแลในครอบครัวเรื่องการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรถรถภาพต่อเนื่องที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวร่างกาย
  7. คณะกรรมการการบริหารกองทุนฯโรงพยาบาลแว้ง และอสม.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องได้รับการฟื้นฟูสภาพที่เหมาะสมลดภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟุสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องสามารถใช้อุปกรณ์กายบริหารด้วยตนเองได้เพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและลดภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2563 15:25 น.