กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจิตเวชฉุกเฉินแบบบูรณาการและมีส่วนร่วมในชุมชน ตาบล แว้ง
รหัสโครงการ 63-L8300-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลแว้ง
วันที่อนุมัติ 2 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มีนาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 29 มกราคม 2564
งบประมาณ 9,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางไซนะ มรรคาเขต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 ต.ค. 2563 31 ธ.ค. 2563 9,000.00
รวมงบประมาณ 9,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของระบบสุขภาพประเทศไทย โดยประมาณการว่าประชากร 1 ใน 5 มีปัญหาสุขภาพจิตจากรายงานสถิติของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โรคจิตเวชเป็นปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนึ่งที่นับวันมีจำนวน มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งโรคจิตเวชก่อให้เกิดความผิดปกติทางด้านความคิด อารมณ์ การรับรู้และพฤติกรรม บกพร่องในการดูแลตนเอง ขาดทักษะพื้นฐานในการแก้ปัญหาโรงพยาบาลแว้ง มีจำนวนผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่เข้ามารับบริการ เดือนละประมาณ 80 ราย โดยเป็นรายใหม่ 3-5 รายต่อเดือน ผู้ป่วยทางจิตเวชที่มารับบริการ ในโรงพยาบาลแว้ง ปี 2560-2562 จำนวน 569,600,652 ราย ตามลำดับ ในเขตรับผิดชอบของตำบลแว้ง มีผู้ป่วยจิตเวช ในปี2560-2562 จำนวน 106,118 130,ราย ตามลำดับ จากการทบทวน พบว่า แต่ยังมีผู้ป่วยบางราย            ยังไม่เห็นความสำคัญในการรักษา รักษาไม่ต่อเนื่อง อาการกำเริบซ้ำ เครือข่ายชุมชนยังขาดทักษะเจราจาต่อรอง ขาดทักษะช่วยเหลือภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช ทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บและผู้ช่วยเหลือได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยที่มีอาการฉุกเฉินทางจิตเวช หมายถึง มีพฤติ กรรมก้าวร้าว ทำร้ายตนเองและผู้อื่นในชุมชนแต่ยังไม่ถึงการรักษา ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตรุนแรงหรือมีลักษณะเสี่ยงต่อการก่อพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่นการให้การพยาบาลต้องดูแลอย่างรีบด่วนเพื่อช่วยลดอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรือบุคคลรอบข้าง(ปราโมทย์ และมนัส, 2552 )
ดังนั้นทางงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลแว้ง ได้เห็นความสำคัญโรคจิตเวช จึงได้จัดทำโครงการจิตเวชฉุกเฉินแบบบูรณาการและมีส่วนร่วมในชุมชน ตำบลแว้ง เพื่อให้หน่วยงานทุกภาคส่วนตลอดจนประชาชนเห็นความสำคัญและมีทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน ลดภาวะเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้น ก่อนนำส่งโรงพยาบาล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรงได้รับการกำจัดพฤติกรรมได้ถูกต้อง

อุบัติการณ์ผู้ป่วยจิตเวชมีพฤติกรรมรุนแรงได้รับบาดเจ็บจากการกำจัดพฤติกรรม 0 ราย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 35 9,000.00 1 0.00
4 มี.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 อบรมเชิงปฎิบัติการคัดกรอง ประเมินผู้ป่วยจิตเวชที่มีภาวะฉุกเฉินและการกำจัดพฤติกรรมรุนแรงแก่เครือข่ายชุมชนตำบลแว้ง 35 9,000.00 0.00

1.จัดทำโครงการเสนอและขออนุมัติโครงการ 2.ประชุมวางแผนดำเนินงาน 3.เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินงาน           4.ประสานเครือข่ายในการดำเนินโครงการฯ
5.เตรียมจัดสถานที่ในการจัดทำโครงการ
6.จัดทำโครงการตามกิจกรรมที่กำหนด 7.สรุป ติดตามประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เพื่อให้เครือข่ายมีทักษะการคัดกรองและประเมินผู้ป่วยจิตเวชที่มีภาวะฉุกเฉินและกำจัดพฤติกรรมรุนแรง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2563 15:34 น.