กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
อบรมเชิงปฎิบัติการคัดกรอง ประเมินผู้ป่วยจิตเวชที่มีภาวะฉุกเฉินและการกำจัดพฤติกรรมรุนแรงแก่เครือข่ายชุมชนตำบลแว้ง7 ตุลาคม 2563
7
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดทำโครงการเสนอและขออนุมัติโครงการ 2.ประชุมวางแผนดำเนินงาน 3.เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินงาน 4.ประสานเครือข่ายในการดำเนินโครงการฯ
5.เตรียมจัดสถานที่ในการจัดทำโครงการ
6.จัดทำโครงการตามกิจกรรมที่กำหนด 7.สรุป ติดตามประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญปัญหาสำคัญหนึ่งของระบบสุขภาพประเทศไทย โดยประมาณการว่าปรระชากร ๑ ใน ๕ มีปัญหาสุขภาพจิตจากรายงานสถิติของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โรคจิตเวชเป็นปัญหาสุขภาพจิตนับวันมีจำนวนมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งโรคจิตเวชก่อให้เกิดความผิดปกติ ทางด้านความคิด อารมณ์ การรับรู้และพฤติกรรม บกพร่องในการดูแลตนเอง ขาดทักษะพื้นฐานในการมแก้ปัญหาโรงพยาบาลแว้งมีจำนวนผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เข้ามารับบริการเดือนละประมาณ ๑๔๐ ราย โดยเป็นรายใหม่ ๓-๕ รายต่อเดือน ผู้ป่วยโรคจิตเวชสะสมที่มารับบริการโรงพยาบาลแว้ง ปี ๒๕๖๐ - ๒๕๖๒ จำนวน ๕๙๖,๖๐๐ ราย ตามลำดับ ในเขตรับผิดชอบของตำบลแว้ง มีผู้ป่วย ปี ๒๕๖๐ - ๒๕๖๒ จำนวน ๑๐๖,๑๑๘,๑๓๐ ราย ตามลำดับ จากการทบทวนพบว่า ยังมีผู้ป่วยรายใหม่และผู้ป่วยรับยาไม่ต่อเนื่อง มีอาการทางจิตกำเริบฉุกเฉินรุนแรง ซึ่งทำให้เป็นปัญหาของพื้นที่เครือข่ายชุมชนเองยังขาดทักษะเจรจาต่อรอง และทักษะช่วยเหลือภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช ทำให้ผู้ป่วยผู้ช่วยเหลือได้รับบาดเจ็บจากการกำจัดพฟติกรรมและกำจัดพฤติกรรมไม่สำเร็จ ทำให้ผู้ป่วยทำร้ายตนเองและทรัพย์สิ้น
๑. ด้านสภาวะแวดล้อมโครงการในภาพรวม จากสถิติข้อมูลพบว่าจำนวนผู้ป่วยจิตเวชตำบลแว้งที่เข้ารับการบริการโรงพยาบาลแว้ง ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๓ จำนวน ๑๑๘,๑๓๐,๑๔๐ ตามลำดับ และมีผู้ป่วยมีอาการกำเริบ เอะอะโวยวายในพื้นที่ ปี ๒๕๖๓ จำนวน ๙ ราย จากข้อมูลผู้ป่วยโรคจิตเวชตำบลแว้งมีจำนวนมาก และมีอาการฉุกเฉินในพื้นที่ สาเหตุจากยาเสพติด ครอบครัว และเศรษฐกิจ แต่เครือข่ายชุมชนยังขาดทักษะเจรจาต่อรอง และกำจัดพฤติกรรมจิตเวชฉุกเฉิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย งานสุขภาพจิตโรงพยาบาลแว้งได้จัดโครงการจิตเวชฉุกเฉินแบบบุรณาการและมีส่วนร่วมในชุมชนตำบลแว้ง ดดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เครือข่ายมีทักษะในการคัดกรอง ประเมินผู้ป่วยจิตเวชที่มีภาวะฉุกเฉินและกำจัดพฤติกรรมรุนแรงได้ปลอดภัย ๒. ด้านปัจจัยนำเข้าโครงการในภาพรวม พบว่า เป็นโครงการที่มีความเป็นไปได้สูงสอดคล้องกับบริบทปัยหาสุขภาพจิตเวชพื้นที่ตำบลแว้ง เพื่อให้มีระบบการจัดการที่ดีโดยเฉพาะความพร้อมของเจ้าหน้าที่และเครือข่าย ซึ่งเป็นโครงการที่กำหนดวัตถุประสงคื กิจกรรม ผลผลิต ผลลัพธ์ สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่ ๓. ด้านกระบวนการดำเนินโครงการในภาพรวม พบว่า เป็นโครงการที่มีการออกแบบกระบวนการดำเนินงานสอดคล้องกับประเด็น ยุทธศาสตรืของหน่วยงานและสอดคล้องกับปัญหาพื้นที่ โดยเพราะการให้ความรู้ คัดกรอง ประเมินผู้ป่วยจิตเวช ฝึกปฎิบัติกรณีที่มีภาวะฉุกเฉินและผึกทักษะการกำจัดพฤติกรรมรุนแรง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยในพื้นที่และมีแนวทางปฎิบัติการดุแลผู้ป่วยโรคจิตเวชเป็นแนวทางเดียวกัน ๔. ด้านผลผลิต ผลลัพธ์ ในภาพรวม พบว่า จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯร้อยละ ๑๐๐ ผู้ร่วมโครงการมีความสนใจและให้ควาร่วมมือในกิจกรรมชของโครงการเป็นอย่างดี มีผู้ป่วยในพื้นที่สามารถประสานนำส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้อย่งปลอดภัย ๕. ผลกระทบโครงการสจิตเวชแุกเฉินแบบบุรณาการและมรส่วนร่วมในชุมชน ตำบลแว้ง พบว่า โครงการนี้ส่งผลกระทบในเชิงบวกอย่างชัดเจนดังกล่าวมาแล้ว ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับประโยชน์ในการนำความรู้คัดกรอง ประเมินผู้ป่วยจิตเวช และฝึกทักษะการกำจัดพฤติกรรมรุนแรง ดังนั้นงานสุขภาพจิตโรงพยาบาลแว้งจึงพัฒนาแนวทางการดุแลและการนำส่งผู้ป่วยจิตเวชที่มีภาวะฉุกเฉินระบบเพื่อเข้าถึงบริการและปลอดภัย ไม่มีอาการข้างเคียงในการนำส่ง ๖. ด้านความพึงพอใจของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ อยู่ที่ระดับ ๙๑% นับว่าสูง เป็นไปตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้ประเด็นที่พึงพอใจมากที่สุด คือ สามารถนำสิ่งที่ได้รับจากโครงการมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ที่ระดับ ๙๔% รวมถึงกลุ่มเป้าหมายในการจัดโครงการฯมีความสนใจและให้ความร่วมมือขณะทำกหิจกรรม