กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยDM,HT
รหัสโครงการ 2563-L3310-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโคกยา
วันที่อนุมัติ 8 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจีรยา ชำนาญกิจ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 64 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบทอีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจหรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มาก กว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ซึ่งทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคคลและอาจมีอายุสั้นกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การตรวจโรคและโรคแทรกซ้อนด้วยเหตุที่โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาเพื่อควบคุมโรคนั้นประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การใช้ยา การออกกำลังกาย และการปฏิบัติตามหลัก 3 อ.2ส. การดูแลสุขภาพทั่วไป ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฎิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตใกล้เคียงกับคนปกติและสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ยืนยาวและมีความสุข
จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมดแยกเป็นรายหมู่ หมู่ที่ 1 จำนวน 42 คน หมู่ที่ 9 จำนวน 40 คน หมู่ที่ 14 จำนวน 25 คน รวมทั้งหมด107 คน ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจำนวน 64 คนพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน 1 ราย จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด แยกเป็นรายหมู่ หมู่ที่ 1 จำนวน 72 คน หมู่ที่ 9 จำนวน 102 คน หมู่ที่ 14 จำนวน 52 คน รวมทั้งสิ้น 226 คน มีผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 2 ราย มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 37คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาได้ตระหนักถึงความสำคัญ และเป็นบทบาทหน้าที่ในการป้องกันควบคุมโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่รับยาในคลินิกประจำเดือนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา จึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนางานขึ้นเสริมจากงานปกติ (งานเชิงรุก)โดยมีกลยุทธ์ กลวิธีที่มีลักษณะเฉพาะที่เน้นการให้ความรู้และส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เห็นในเชิงประจักษ์ เพื่อสร้างทักษะความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน กลุ่มป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ลดงบประมาณรายจ่ายของประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมดีขึ้นในอนาคต วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) -ให้ความรู้ในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงให้ตระหนักถึงอันตรายและความรุนแรงของโรคโดยใช้บัตรคิวรักษ์สุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -ประเมินผลความรู้ที่อ่านได้จากบัตรคิวโดยเจ้าหน้าที่ -ฝึกออกกำลังกายโดยท่ามณีเวช 5 ท่าและผู้ป่วยสามารถนำไปใช้ออกกำลังกายที่บ้านได้ -ส่งเสริมการใช้สมาธิบำบัดและการกำหนดลมหายใจแบบ SKT -ฝึกประเมินทักษะการกำหนดแคลอรี่ในอาหารแต่ละมื้อ อย่างง่าย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ -ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับยาในคลินิกโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านโคกยาได้รับความรู้ 100% -ลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยให้สามารถมีความรู้ในการดูแลตนเองไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ -สร้างความต่อเนื่องและยั่งยืนในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมไม่เกินร้อยละ 7 ได้ ร้อยละ 50

ระดับน้ำตาลสะสมไม่เกินร้อยละ 7 ในผู้ป่วยเบาหวาน

0.00
2 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิต อยู่ในระดับ 130/80 mmHg ร้อยละ 90

ระดับน้ำตาลสะสมไม่เกินร้อยละ 7 ในผู้ป่วยเบาหวาน

0.00
3 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิต อยู่ในระดับ 130/80 mmHg ร้อยละ 90

ระดับความดันโลหิต อยู่ในระดับ 130/80 mmHg ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

0.00
4 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มป่วย

90%ของกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ตา เท้า ไต สมอง หัวใจ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,000.00 0 0.00
??/??/???? 1โปรแกรมให้สุขศึกษารายบุคคล ด้วย “บัตรคิวรักษ์สุขภาพผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” 2.กิจกรรมฝึกออกกำลังกายด้วยท่ามณีเวชพื้นฐาน 5 ท่า และสามารถนำไปปฏิบัติต่อที่บ้านได้ทุกคน ทุกวัย 3.การฝึกสมาธิบำบัดโดยใช้หลัก การฝึกกำหนดลมหายใจ แบบ SKT เพื่อช่วยลดความเครียดแ 0 12,000.00 -

1โปรแกรมให้สุขศึกษารายบุคคล ด้วย “บัตรคิวรักษ์สุขภาพผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” 2.กิจกรรมฝึกออกกำลังกายด้วยท่ามณีเวชพื้นฐาน 5 ท่า และสามารถนำไปปฏิบัติต่อที่บ้านได้ทุกคน ทุกวัย 3.การฝึกสมาธิบำบัดโดยใช้หลัก การฝึกกำหนดลมหายใจ แบบ SKT เพื่อช่วยลดความเครียดและผ่อนคลายอารมณ์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับยาในคลินิกโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านโคกยาได้รับความรู้ 100% -ลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยให้สามารถมีความรู้ในการดูแลตนเองไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ -สร้างความต่อเนื่องและยั่งยืนในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563 11:25 น.