กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
รหัสโครงการ 2563 – L8010 – 2 - 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 38,092.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอย (หมายถึง ขยะทั่วไปที่เกิดจากการอุปโภค บริโภค กิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ชุมชน ตลาด ร้านค้า และโรงงาน) ในประเทศไทยถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการบริโภคและการแยกขยะจากต้นทาง การจัดการขยะที่ไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดมลพิษและไม่เกิดการนำกลับมาใช้ซ้ำ ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม เช่น ปฏิกิริยาเรือนกระจกที่มีสาเหตุจาก ขยะเทกอง ที่ปล่อยก๊าซมีเทน ซัลเฟอร์กับคาร์บอนไดออกไซต์ออกมา ปัญหาขยะในทะเลที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ในทะเล เป็นต้น

ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาของทุกคนในชุมชนซึ่งทุกคนเป็นผู้ผลิตขึ้นมา และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆทำให้สุขภาพอนามัยของคนในชุมชนไม่ดี ชุมชนบ้านท่าแลหลามีประชากรจำนวน 1,766 คน 488 ครัวเรือน ทำให้มีปริมาณขยะที่เกิดจากการทิ้งและการคัดแยกไม่ถูกวิธีมีจำนวนมาก บริเวณข้างถนนมีการทิ้งขยะกลาดเกลื่อน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาสุขอนามัยกับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น ปัญหาของกลิ่น ปัญหาแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงต่างๆ ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค คือ ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก แมลงวันพาหะนำโรคอุจจาระร่วง แมลงสาบพาหะนำโรคอุจจาระร่วง สถานการณ์โรคในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา ตั้งแต่ปี 2560 - 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 3, 21 และ 23 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 177.096, 1193.86 และ 1307.56 ตามลำดับ (ที่มา จากศูนย์ระบาดอำเภอละงู ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2561) เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการขยะในชุมชนที่ถูกหลักสุขาภิบาล สามารถทำให้อัตราป่วยด้วยโรคดังกล่าวลดลงและหมดไปในอนาคต

ผู้จัดทําได้ตระหนักและให้ความสำคัญของปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ “ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” โดยมีการสร้างแกนนำครัวเรือนต้นแบบ เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคติดต่อที่มีพาหะนำโรคโดยอาศัยการแพร่พันธุ์ในกองขยะ และเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชนต่อไปโดยเน้นการให้ความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล การคัดแยกขยะจากต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยของประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับโรคติดต่อในท้องถิ่นที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค
  1. อัตราการป่วยของประชาชนในชุมชนที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค มีอัตราการป่วยลดลง ร้อยละ 80
80.00
2 เพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบในชุมชนมีการจัดการขยะในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี และเป็นครัวเรือนต้นแบบให้กับครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชนได้
  1. ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทางการจัดการขยะแบบ 3Rs และมีการจัดทำถังขยะอินทรีย์/ถังขยะเปียกในครัวเรือน
  2. ครัวเรือนต้นแบบในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
  3. ครัวเรือนต้นแบบ ร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ประเมินครัวเรือนสะอาดถูกหลักสุขาภิบาล
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 175 38,092.00 5 36,692.00
1 ม.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดตั้งแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน 20 14,000.00 14,000.00
1 - 29 ก.พ. 63 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การเรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางและการจัดการขยะแบบ 3Rs แก่กลุ่มครัวเรือนแกนนำในชุมชน จำนวน 50 ครัวเรือน 50 12,600.00 12,600.00
1 มี.ค. 63 - 30 มิ.ย. 63 กิจกรรมที่ 3 รณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล 50 8,692.00 8,692.00
1 มี.ค. 63 - 31 ก.ค. 63 กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะ 50 0.00 0.00
1 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5 2,800.00 1,400.00

วิธีดำเนินการ ( ออกแบบให้ละเอียด )

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดตั้งแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน

  1.1 คัดเลือกแกนนำในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชน เป็นต้น

  1.2 จัดตั้งแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน

  1.3 พัฒนาแกนนำ โดยประชุมค้นหาและวิเคราะห์ปัญหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน หาแนวทางแก้ไขและติดตามผลการดำเนินงาน จำนวน 3 ครั้ง

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การเรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางและการจัดการขยะแบบ 3Rs แก่กลุ่มครัวเรือนแกนนำในชุมชน จำนวน 50 ครัวเรือน

  2.1 บรรยายให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง

  2.2 บรรยายให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะแบบ 3Rs

  2.3 บรรยายให้ความรู้การจัดทำถังขยะอินทรีย์/ถังขยะเปียกในครัวเรือน และให้ครัวเรือนแกนนำ นำไปปฏิบัติในครัวเรือน

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล

  3.1 คณะผู้จัดทำโครงการร่วมกับแกนนำชุมชน แกนนำนักเรียน เดินรณรงค์ทำงานแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่สาธารณะในชุมชน

  3.2 จัดทำป้ายรณรงค์เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี และติดป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณจุดที่ผู้คนสามารถเห็นได้ง่าย สถานที่ราชการหรือที่สาธารณะในชุมชน จำนวน 5 จุด

  3.3 ประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องขยะ ตามช่องทางต่างๆ เช่น เสียงตามสายในชุมชน หลังละหมาดวันศุกร์ เป็นต้น

  3.4 ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 50 ครัวเรือน เข้าร่วมประกวดครัวเรือนตัวอย่างการจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล

  3.5 ครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ประเมินครัวเรือนต้นแบบ จะได้รับป้ายสัญลักษณ์ “ครัวเรือนปลอดขยะ”

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะ

  4.1 แกนนำชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงพื้นที่ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อติดตามการจัดการขยะของแต่ละครัวเรือน และให้คำแนะนำต่างๆ จำนวน 2 ครั้ง

  4.2 ติดตามอัตราการป่วยของประชาชนในชุมชน

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  5.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  5.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนมีอัตราการป่วยลดลง
  2. ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs
  3. มีครัวเรือนต้นแบบในชุมชน เป็นบ้านเรือนที่สะอาด ถูกหลักสุขาภิบาลและปลอดขยะ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563 13:35 น.