กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้26 สิงหาคม 2563
26
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  2. จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีรายงานผลโครงการฉบับสมบูรณ์

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะ1 เมษายน 2563
1
เมษายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.คณะผู้จัดทำโครงการลงพื้นที่ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อติดตามการจัดการขยะของแต่ละครัวเรือน จำนวน 2 ครั้ง โดยการคัดแยกขยะแต่ละประเภท ดังนี้

  • ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ เป็นต้น แต่ละครัวเรือนจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียกครัวเรือน
  • ขยะทั่วไป เช่น ถุงพลาสติก ซองขนม ทิชชู แก้วกระดาษ เป็นต้น กำจัดขยะโดยการเก็บรวบรวมในถังขยะ และรถของ อบต.จะดำเนินการจัดเก็บขยะ
  • ขยะอันตราย เช่น น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ถ่ายไฟ หลอดไฟ เป็นต้น เก็บรวบรวม ณ จุดในหมู่บ้าน อบต.จะดำเนินการรวบรวมและส่งให้ อบจ.กำจัดเอง
  • ขยะรีไซเคิล เช่น ขวดพลาสติก กระป๋องน้ำอัดลม กล่องเครื่องดื่มต่างๆ ขวดแก้ว เป็นต้น สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หรือนำขายที่ร้านรับซื้อของเก่า

2.ติดตามอัตราการป่วยของประชาชนในชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ติดตามครัวเรือนแกนนำ จำนวน 50 ครัวเรือน เกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1

  • ด้านการลดการเกิดขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 84.4
  • ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย  คิดเป็นร้อยละ 81.2
  • ด้านการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 83.6

ครั้งที่ 2

  • ด้านการลดการเกิดขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 89.2
  • ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย  คิดเป็นร้อยละ 87.2
  • ด้านการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 88.8
    จะเห็นได้ว่าครัวเรือนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น สามารถจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี และไม่พบอัตราการป่วยของประชาชนในชุมชนที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด
กิจกรรมที่ 3 รณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล6 มีนาคม 2563
6
มีนาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. คณะผู้จัดทำโครงการร่วมกับแกนนำชุมชน แกนนำนักเรียน เดินรณรงค์ทำงานแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่สาธารณะในชุมชน

  2. ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 50 ครัวเรือน เข้าร่วมประกวดครัวเรือนตัวอย่างการจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล

  3. ครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ประเมินครัวเรือนต้นแบบ จะได้รับป้ายสัญลักษณ์ “ครัวเรือนปลอดขยะ”

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชนรณรงค์ทำงานแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่สาธารณะในชุมชน พร้อมทั้งติดป้ายรณรงค์เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี และติดป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณจุดที่ผู้คนสามารถเห็น ได้ง่าย สถานที่ราชการหรือที่สาธารณะในชุมชน จำนวน 5 จุด มีครัวเรือนเข้าร่วมประกวดครัวเรือนตัวอย่างการจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล จำนวน 50 ครัวเรือน ผลการประเมิน พบว่า

ครั้งที่ 1

  • ผ่านเกณฑ์  จำนวน 30 ครัวเรือน    คิดเป็นร้อยละ 60

  • ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 20 ครัวเรือน    คิดเป็นร้อยละ 40

ครั้งที่ 2

  • ผ่านเกณฑ์  จำนวน 50 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100

จะเห็นได้ว่า ครัวเรือนทั้งหมดผ่านเกณฑ์ครัวเรือนตัวอย่างร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การเรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางและการจัดการขยะแบบ 3Rs แก่กลุ่มครัวเรือนแกนนำในชุมชน จำนวน 50 ครัวเรือน28 กุมภาพันธ์ 2563
28
กุมภาพันธ์ 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ให้ความรู้การเรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางและการจัดการขยะแบบ 3Rs แก่กลุ่มครัวเรือนแกนนำในชุมชน จำนวน 50 ครัวเรือน จัดกิจกรรมจำนวน 1 วัน

  2. ประเมินความรู้ก่อน – หลังอบรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมายแกนนำครัวเรือน จำนวน 50 คน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังอบรม จำนวน 10 ข้อ พบว่า ก่อนได้รับความรู้ ผู้เข้าร่วมอบรมไม่ผ่านเกณฑ์ (คะแนน 0-5) ร้อยละ 16 ผ่านเกณฑ์พอใช้ (คะแนน 6-7) ร้อยละ 52 และผ่านเกณฑ์ดี (คะแนน 8-10) ร้อยละ 32 หลังจากดำเนินการอบรมให้ความรู้ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนน 8-10) ร้อยละ 88 และอยู่ในเกณฑ์พอใช้(คะแนน 6-8) ร้อยละ 12 ซึ่งประชาชนมีความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทางการจัดการขยะแบบ 3Rs ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดตั้งแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน5 กุมภาพันธ์ 2563
5
กุมภาพันธ์ 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. คัดเลือกแกนนำในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชน เป็นต้น

  2. จัดตั้งแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน

  3. พัฒนาแกนนำ โดยประชุมค้นหาและวิเคราะห์ปัญหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน หาแนวทางแก้ไขและติดตามผลการดำเนินงาน จำนวน 3 ครั้ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดำเนินการคัดเลือกแกนนำในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนในพื้นที่ จำนวน 20 คน มีการจัดตั้งแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน ประชุมค้นหาและวิเคราะห์ปัญหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน หาแนวทางแก้ไข และติดตามผลการดำเนินงาน จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งการจัดตั้งแกนนำดังกล่าวให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน และเป็นครัวเรือนต้นแบบที่จัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล