กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน

ดำเนินการคัดเลือกแกนนำในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนในพื้นที่ จำนวน 20 คน มีการจัดตั้งแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน ประชุมค้นหาและวิเคราะห์ปัญหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน หาแนวทางแก้ไข และติดตามผลการดำเนินงาน จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งการจัดตั้งแกนนำดังกล่าวให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน และเป็นครัวเรือนต้นแบบที่จัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางและการจัดการขยะแบบ 3Rs แก่กลุ่มครัวเรือนแกนนำในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายแกนนำครัวเรือน จำนวน 50 คน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังอบรม จำนวน 10 ข้อ พบว่า ก่อนได้รับความรู้ ผู้เข้าร่วมอบรมไม่ผ่านเกณฑ์ (คะแนน 0-5) ร้อยละ 16 ผ่านเกณฑ์พอใช้ (คะแนน 6-7) ร้อยละ 52 และผ่านเกณฑ์ดี (คะแนน 8-10) ร้อยละ 32 หลังจากดำเนินการอบรมให้ความรู้ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนน 8-10) ร้อยละ 88 และอยู่ในเกณฑ์พอใช้(คะแนน 6-8) ร้อยละ 12 ซึ่งประชาชนมีความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทางการจัดการขยะแบบ 3Rs ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล

แกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชนรณรงค์ทำงานแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่สาธารณะในชุมชน พร้อมทั้งติดป้ายรณรงค์เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี และติดป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณจุดที่ผู้คนสามารถเห็น ได้ง่าย สถานที่ราชการหรือที่สาธารณะในชุมชน จำนวน 5 จุด มีครัวเรือนเข้าร่วมประกวดครัวเรือนตัวอย่างการจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล จำนวน 50 ครัวเรือน ผลการประเมิน พบว่า

ครั้งที่ 1

  • ผ่านเกณฑ์  จำนวน 30 ครัวเรือน    คิดเป็นร้อยละ 60
  • ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 20 ครัวเรือน    คิดเป็นร้อยละ 40

ครั้งที่ 2

  • ผ่านเกณฑ์  จำนวน 50 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100 จะเห็นได้ว่า ครัวเรือนทั้งหมดผ่านเกณฑ์ครัวเรือนตัวอย่างร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด


กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะ จำนวน 2 ครั้ง ติดตามครัวเรือนแกนนำ จำนวน 50 ครัวเรือน เกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1

  • ด้านการลดการเกิดขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 84.4
  • ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย  คิดเป็นร้อยละ 81.2
  • ด้านการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 83.6

ครั้งที่ 2

  • ด้านการลดการเกิดขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 89.2
  • ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย  คิดเป็นร้อยละ 87.2
  • ด้านการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 88.8


จะเห็นได้ว่าครัวเรือนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น สามารถจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี และไม่พบอัตราการป่วยของประชาชนในชุมชนที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดอัตราป่วยของประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับโรคติดต่อในท้องถิ่นที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค
ตัวชี้วัด : 1. อัตราการป่วยของประชาชนในชุมชนที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค มีอัตราการป่วยลดลง ร้อยละ 80
80.00 100.00

ไม่พบอัตราการป่วยของประชาชนในชุมชนที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค

2 เพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบในชุมชนมีการจัดการขยะในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี และเป็นครัวเรือนต้นแบบให้กับครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชนได้
ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทางการจัดการขยะแบบ 3Rs และมีการจัดทำถังขยะอินทรีย์/ถังขยะเปียกในครัวเรือน 2. ครัวเรือนต้นแบบในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง 3. ครัวเรือนต้นแบบ ร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ประเมินครัวเรือนสะอาดถูกหลักสุขาภิบาล
80.00 88.00
  1. ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทางการจัดการขยะแบบ 3Rs
  2. ครัวเรือนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น สามารถจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี
  3. ครัวเรือนทั้งหมดผ่านเกณฑ์ครัวเรือนตัวอย่างร้อยละ 100

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
ครัวเรือนต้นแบบ 50 50
แกนนำชุมชน 10 10

บทคัดย่อ*

ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาของทุกคนในชุมชนซึ่งทุกคนเป็นผู้ผลิตขึ้นมา และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆทำให้สุขภาพอนามัยของคนในชุมชนไม่ดี ชุมชนบ้านท่าแลหลามีประชากรจำนวน 1,766 คน 488 ครัวเรือน ทำให้มีปริมาณขยะที่เกิดจากการทิ้งและการคัดแยกไม่ถูกวิธีมีจำนวนมาก บริเวณข้างถนนมีการทิ้งขยะกลาดเกลื่อน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาสุขอนามัยกับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น ปัญหาของกลิ่น ปัญหาแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงต่างๆ ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อลดอัตราป่วยของประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับโรคติดต่อในท้องถิ่นที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค 2.) เพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบในชุมชนมีการจัดการขยะในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี และเป็นครัวเรือนต้นแบบให้กับครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชนได้ ผลการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน

ดำเนินการคัดเลือกแกนนำในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนในพื้นที่ จำนวน 20 คน มีการจัดตั้งแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน ประชุมค้นหาและวิเคราะห์ปัญหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน หาแนวทางแก้ไข และติดตามผลการดำเนินงาน จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งการจัดตั้งแกนนำดังกล่าวให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน และเป็นครัวเรือนต้นแบบที่จัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางและการจัดการขยะแบบ 3Rs แก่กลุ่มครัวเรือนแกนนำในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายแกนนำครัวเรือน จำนวน 50 คน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังอบรม จำนวน 10 ข้อ พบว่า ก่อนได้รับความรู้ ผู้เข้าร่วมอบรมไม่ผ่านเกณฑ์ (คะแนน 0-5) ร้อยละ 16 ผ่านเกณฑ์พอใช้ (คะแนน 6-7) ร้อยละ 52 และผ่านเกณฑ์ดี (คะแนน 8-10) ร้อยละ 32 หลังจากดำเนินการอบรมให้ความรู้ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนน 8-10) ร้อยละ 88 และอยู่ในเกณฑ์พอใช้(คะแนน 6-8) ร้อยละ 12 ซึ่งประชาชนมีความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทางการจัดการขยะแบบ 3Rs ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล

แกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชนรณรงค์ทำงานแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่สาธารณะในชุมชน พร้อมทั้งติดป้ายรณรงค์เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี และติดป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณจุดที่ผู้คนสามารถเห็น ได้ง่าย สถานที่ราชการหรือที่สาธารณะในชุมชน จำนวน 5 จุด มีครัวเรือนเข้าร่วมประกวดครัวเรือนตัวอย่างการจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล จำนวน 50 ครัวเรือน ผลการประเมิน พบว่า

ครั้งที่ 1

  • ผ่านเกณฑ์  จำนวน 30 ครัวเรือน    คิดเป็นร้อยละ 60
  • ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 20 ครัวเรือน    คิดเป็นร้อยละ 40

ครั้งที่ 2

  • ผ่านเกณฑ์  จำนวน 50 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100 จะเห็นได้ว่า ครัวเรือนทั้งหมดผ่านเกณฑ์ครัวเรือนตัวอย่างร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด


กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะ จำนวน 2 ครั้ง ติดตามครัวเรือนแกนนำ จำนวน 50 ครัวเรือน เกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1

  • ด้านการลดการเกิดขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 84.4
  • ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย  คิดเป็นร้อยละ 81.2
  • ด้านการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 83.6

ครั้งที่ 2

  • ด้านการลดการเกิดขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 89.2
  • ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย  คิดเป็นร้อยละ 87.2
  • ด้านการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 88.8


จะเห็นได้ว่าครัวเรือนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น สามารถจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี และไม่พบอัตราการป่วยของประชาชนในชุมชนที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh