กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการด้านร่างกายและการดูแลสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านตูแตหรำ
รหัสโครงการ 2563 – L8010 – 02 - 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านตูแตหรำ
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 102,245.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านตูแตหรำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านสุขภาพของเด็กวัยเรียนในปัจจุบัน มีความแตกต่างจากปัญหาสุขภาพของเด็กวัยเรียนในอดีต ทั้งนี้อาจมีสาเหตุเนื่องมาจากสภาพสังคม วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์ ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพมากขึ้น มีปัญหาต่อสุขภาพส่งผลกระทบต่อการเรียนและอนาคตของประชากรกลุ่มนี้ ดังนั้นงานอนามัยโรงเรียน จึงเป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพ สร้างให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องสุขภาพ เป็นการลดปัญหาสุขภาพ ส่งผลบวกต่อการเรียน ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือและการประสานงานจากทุกฝ่ายทั้งครอบครัว ชุมชน และโรงเรียน

จากการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียนโรงเรียนบ้านตูแตหรำ ปี 2562 ที่ผ่านมา ปัญหาสุขภาพนักเรียนที่ยังพบมาตลอดในโรงเรียน เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 20 ซึ่งทางโรงเรียนได้มีการสนับสนุน ส่งเสริมให้นักเรียนได้แปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนทุกวัน แต่ยังพบว่านักเรียนบางคนไม่ได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและไม่ได้ใส่ใจเรื่องการแปรงฟันขณะอยู่ที่บ้าน ปัญหานักเรียนขาดการดูแลใส่ใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง ประมาณร้อยละ 60 ส่วนหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมในครอบครัว การประกอบอาชีพ ทำให้การดูแลเด็กไม่เหมือนกัน เนื่องจากเด็กบางคนไม่ได้อาศัยอยู่กับผู้ปกครองโดยตรง รวมทั้งสภาพแวดล้อมในชุมชนพื้นที่หมู่ที่ 12 เป็นชุมชนแออัด การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ทำการประมง มีสภาพแวดล้อมรอบๆ ชุมชนเป็นที่ชุกของยุง ที่เป็นพาหะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ซึ่งในปีที่ผ่านมาโรงเรียนได้แกนนำ อสม.น้อย รณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก พร้อมทั่งให้ประชาชนในชุมชนจัดบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็ลดลงมา แต่ยังไม่หมดไปจากชุมชน ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด เนื่องมาจากประชาชนที่อาศัยในชุมชนมีความหลากหลาย ทั้งชาวไทยและต่างชาติที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ ทำให้มีการนำเข้ายาเสพติดมาในชุมชน ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ทางโรงเรียนและชุมชนจะต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อเป็นการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งโรงเรียนได้ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เช่น การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ ส่งเสริมพัฒนาการ ปลูกผักสวนครัว เล่นกีฬาพื้นบ้าน เป็นต้น

โรงเรียนบ้านตูแตหรำได้ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการด้านร่างกายและการดูแลสุขภาพนักเรียน ได้มีการต่อยอดโครงการจากที่ผ่านมา โดยได้ส่งเสริมจากกลุ่มแกนนำในการทำหน้าที่เฝ้าระวังและส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขภาพให้กับนักเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพของนักเรียนในการดูแลสุขภาพของตนเอง
  1. นักเรียนร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง
  2. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 60 มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีขึ้น
  3. นักเรียนในโรงเรียน ร้อยละ 90 มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และอัตราการเจ็บป่วยของนักเรียนลดลง
90.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและส่งเสริมด้านสุขภาพของนักเรียนทั้งในโรงเรียนและชุมชน
  1. แกนนำสุขภาพในโรงเรียน ร้อยละ 100 ดำเนินงานเฝ้าระวังและส่งเสริมด้านสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน
  2. ร้านค้าในชุมชนจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย ร้อยละ 100
  3. โรงเรียนและสถานที่ในชุมชน ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
  4. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดของนักเรียนและประชาชนในชุมชนลดลง
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 515 102,245.00 5 102,245.00
1 ม.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมทันตกรรม แก่นักเรียน (กิจกรรมต่อเนื่อง) 114 22,630.00 22,630.00
1 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเฝ้าระวัง (กิจกรรมต่อยอด) 164 37,040.00 37,040.00
1 - 31 ก.ค. 63 กิจกรรมที่ 1 เยาวชนรุ่นใหม่ เรียนรู้ดูแลสุขภาพตนเอง (Self Care) 137 25,175.00 25,175.00
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการออกกำลังกาย (กิจกรรมต่อเนื่อง) 100 16,000.00 16,000.00
1 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 1,400.00 1,400.00

ขั้นดำเนินการ

กิจกรรมที่ 1 เยาวชนรุ่นใหม่ เรียนรู้ดูแลสุขภาพตนเอง (Self Care)
1.1 จัดหลักสูตรอบรมนักเรียนที่เข้าใหม่ ชั้น ป.1 และหลักสูตรอบรมฟื้นฟูสำหรับนักเรียนเก่า ชั้น ป.2 - 6

1.2 จัดทำแบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้น ป.1-6, แบบประเมินความรู้การดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียน ก่อน-หลังอบรม

1.3 ประเมินผลกิจกรรมด้วยการประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม


กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมทันตกรรม แก่นักเรียน (กิจกรรมต่อเนื่อง)

2.1 จัดซื้ออุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน

2.2 นักเรียนแกนนำอนามัยโรงเรียน สอน/สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้กับนักเรียนในโรงเรียน

2.3 บันทึกสุขภาพช่องปากนักเรียนแต่ละชั้นเรียน


กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการออกกำลังกาย (กิจกรรมต่อเนื่อง)

3.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการ

3.2 ฝึกฝนการเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล ตะกร้อ เป็นต้น

3.3 ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ให้นักเรียนรดน้ำต้นไม้ พืชผักสวนครัว และปรับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน

3.4 กิจกรรมกีฬาพื้นบ้าน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนกับโรงเรียน เช่น การวิ่งสามขา เกมอุ้มแตง ชักกะเย่อ เดินกะลา เป็นต้น


กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเฝ้าระวัง (กิจกรรมต่อยอด)

4.1 เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก (ต่อยอด อสม.น้อย)

  • แกนนำ อสม.น้อย ร่วมกับนักเรียน ลงพื้นที่สำรวจบริเวณโรงเรียนและชุมชน เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พร้อมทั้งแจกทรายอะเบทให้กับครัวเรือนในชุมชน

4.2 เฝ้าระวังเรื่องอาหาร (ต่อยอด อย.น้อย)

  • แกนนำ อย.น้อย สำรวจร้านค้าจำหน่ายอาหารในชุมชน บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารของแต่ละร้าน

  • แกนนำ อย.น้อย ทำการทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร บันทึกผลการตรวจ และแจ้งผลไปยังร้านค้า

4.3 เฝ้าระวังยาเสพติด (ต่อยอด สารวัตร.น้อย)

  • แกนนำ สารวัตรน้อย เดินรณรงค์ในวันต่อต้านยาเสพติดโลก

  • จัดประกวดแข่งขันวาดภาพเกี่ยวกับยาเพสติด

  • จัดทำป้ายโปสเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง
  2. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีขึ้น
  3. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
  4. แกนนำสุขภาพในโรงเรียน ดำเนินงานเฝ้าระวังและส่งเสริมด้านสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน
  5. ร้านค้าในชุมชนจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย
  6. โรงเรียนและสถานที่ในชุมชน ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
  7. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดของนักเรียนและประชาชนในชุมชนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563 14:08 น.