กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้13 มกราคม 2564
13
มกราคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ ฉบับสมบูรณ์

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมทันตกรรม แก่นักเรียน (กิจกรรมต่อเนื่อง)13 กันยายน 2563
13
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

2.1 จัดซื้ออุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน

2.2 นักเรียนแกนนำอนามัยโรงเรียน สอน/สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้กับนักเรียนในโรงเรียน

2.3 บันทึกสุขภาพช่องปากนักเรียนแต่ละชั้นเรียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ร้อยละ 100 นักเรียนมีอุปกรณ์การแปรงฟันทุกคน
  2. ร้อยละ 90 นักเรียนแกนนำได้สอน/สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้กับน้องได้ถูกต้อง
  3. ร้อยละ 100 นักเรียนได้แปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันทุกวัน  และบันทึกการแปรงฟันแต่ละชั้น
  4. ร้อยละ 80 นักเรียนได้รับความรู้ทันตสุขศึกษาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้อง และถูกวิธี
  5. ร้อยละ 80 นักเรียนได้ทำ Workshop เกี่ยวกับการส่งเสริมทันตกรรม เช่น  โครงสร้างของฟัน  การแปรงฟันที่ถูกวิธี  อาหารที่ทำลายฟัน  และอาหารที่ทำให้สุขภาพฟันดี
  6. นักเรียนได้รู้จักคิด  การวางแผน  การทำงานเป็นกลุ่ม  และการนำเสนอผลงาน
  7. ร้อยละ 100 นักเรียนมีความสุขและสนุกกับกิจกรรมทันตกรรม
  8. สามารถสร้างทัศนะคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพฟันให้กับนักเรียนได้
  9. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 90 มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีขึ้น
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเฝ้าระวัง (กิจกรรมต่อยอด)1 กันยายน 2563
1
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

4.1 เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก (ต่อยอด อสม.น้อย) - แกนนำ อสม.น้อย ร่วมกับนักเรียน ลงพื้นที่สำรวจบริเวณโรงเรียนและชุมชน เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พร้อมทั้งแจกทรายอะเบทให้กับครัวเรือนในชุมชน 4.2 เฝ้าระวังเรื่องอาหาร (ต่อยอด อย.น้อย) - แกนนำ อย.น้อย สำรวจร้านค้าจำหน่ายอาหารในชุมชน บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารของแต่ละร้าน - แกนนำ อย.น้อย ทำการทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร บันทึกผลการตรวจ และแจ้งผลไปยังร้านค้า 4.3 เฝ้าระวังยาเสพติด (ต่อยอด สารวัตร.น้อย) - แกนนำ สารวัตรน้อย เดินรณรงค์ในวันต่อต้านยาเสพติดโลก - จัดประกวดแข่งขันวาดภาพเกี่ยวกับยาเพสติด - จัดทำป้ายโปสเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แกนนำนักเรียนร้อยละ 100 ดำเนินงานเฝ้าระวัง และส่งเสริมด้านสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน
  2. ร้านค้าในชุมชนร้อยละ 100 จำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย
  3. โรงเรียนและสถานที่ในชุมชน ร้อยละ 100 ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
  4. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของนักเรียนและประชาชนในชุมชนลดลง
กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการออกกำลังกาย (กิจกรรมต่อเนื่อง)13 กรกฎาคม 2563
13
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

3.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการ

3.2 ฝึกฝนการเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล ตะกร้อ เป็นต้น

3.3 ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ให้นักเรียนรดน้ำต้นไม้ พืชผักสวนครัว และปรับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน

3.4 กิจกรรมกีฬาพื้นบ้าน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนกับโรงเรียน เช่น การวิ่งสามขา เกมอุ้มแตง ชักกะเย่อ เดินกะลา เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียนร้อยละ 100 มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และอัตราการเจ็บป่วยของนักเรียนลดลง
  2. นักเรียนได้รู้จักวิธีการปลูกผักสวนครัว แบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นอาหาร และสร้างรายได้
  3. นักเรียนรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองให้การดูแลรักษาผักสวนครัว  และการรดน้ำต้นไม้
  4. ช่วยปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้สวยงามด้วยต้นไม้ และดอกไม้ ให้น่าอยู่ น่ามอง
  5. ร้อยละ 100 นักเรียนสนุกและมีความสุขกับกิจกรรมการกีฬาพื้นบ้าน  ได้แก่ วิ่งสามขา  เดินกะลา  และชักกะเย่อ  เป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในทีม
  6. นักเรียนได้รู้จักการละเล่นพื้นบ้าน  รู้แพ้  รู้ชนะ  รู้อภัย  และได้รู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น
กิจกรรมที่ 1 เยาวชนรุ่นใหม่ เรียนรู้ดูแลสุขภาพตนเอง (Self Care)22 กุมภาพันธ์ 2563
22
กุมภาพันธ์ 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.1 จัดหลักสูตรอบรมนักเรียนที่เข้าใหม่ ชั้น ป.1 และหลักสูตรอบรมฟื้นฟูสำหรับนักเรียนเก่า ชั้น ป.2 - 6
1.2 จัดทำแบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้น ป.1-6, แบบประเมินความรู้การดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียน ก่อน-หลังอบรม
1.3 ประเมินผลกิจกรรมด้วยการประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียน  บุคลากรทางการศึกษา  และผู้ปกครองให้ความร่วมมือ  และสนใจในเรื่องที่วิทยากรให้ความรู้เป็นอย่างดี
  2. นักเรียนร้อยละ 90 ของนักเรียนเก่า (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 - 6)  ได้ทบทวนและฟื้นฟูความรู้ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง  การปฐมพยาบาลเบื้องต้น  การป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ  และการรู้เท่าทันยาเสพติด
  3. นักเรียนร้อยละ 90 ของนักเรียนใหม่ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1) มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง  การปฐมพยาบาลเบื้องต้น  การป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ  และการรู้เท่าทันยาเสพติด
  4. ร้อยละ 80 นักเรียนทำแบบทดสอบหลังการอบรมได้คะแนนดีขึ้น
  5. ร้อยละ 80 นักเรียนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดุแลสุขภาพของตนเอง
  6. นักเรียนร้อยละ 80 มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย  อารมณ์  สติปัญญา  และสุขภาพแข็งแรง
  7. ผู้ปกครองมีความรู้  ความเข้าใจ  สามารถดูแลสุขภาพนักเรียนในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง
  8. ร้อยละ 100 นักเรียนและผู้ปกครอง  มีความพึงพอใจในกิจกรรมการเรียนรู้ดูแลสุขภาพตนเอง