กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็ก 0-5 ปี ให้เป็นเด็ก SMART KID
รหัสโครงการ 63-L3027-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 4 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กันยายน 2563
งบประมาณ 42,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิลฮามี โต๊ะลู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กสมาร์ทคิตส์ที่ต้องเฝ้าระวัง
300.00
2 จำนวนเด็ก0-5 ปี ที่มีภาวะโภชนาการบกพร่อง
20.00
3 จำนวนเด็ก 0-5 ปี ที่ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
66.00
4 จำนวนเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการผิดปกติ
9.00
5 จำนวนเด็ฏ 0-5 ปี ที่มีฟันผุ
4.00
6 ร้อยละเด็กสมาร์ทคิตส์
35.20

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหากลุ่มเด็กปฐมวัย (0-5ปี) ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการตายมารดาและเด็กอายุ 0-5 ปี ของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง โดยอัตราตายมารดาลดลงจาก 374.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปี พ.ศ.2505 เป็น 23.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปีพ.ศ.2557 แต่ยังสูงกว่าเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (MDGs) ที่กำหนดไว้เท่ากับ 18 ต่อการมีชีพแสนคน

สำหรับภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่า อุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ยังเป็นปัญหาและยังไม่บรรลุเป้าหมายที่กระทรวงกำหนดไว้ไม่เกิน ร้อยละ 7 และจากผลการตรวจคัดกรองและประเมินพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่า มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 99.3 และ 98.7 ซึ่งเกินกว่าค่าที่กระทรวงกำหนดไว้ที่ร้อยละ 85

จากนโยบาย “ปัตตานีสมาร์ทคิตส์” นายแพทย์ชัยรัตน์ ลำโป กล่าวว่า ภาวะโภชนาการของเด็กปัตตานี มีเด็กผอม และ เด็กเตี้ย จำนวนไม่น้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ บิดามารดาไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตร และด้านพัฒนาการพบว่า มีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า จากผลสำรวจ IQ เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามี IQ เฉลี่ยแล้ว ต่ำที่สุดในประเทศไทย และเรื่องของวัคซีน พบว่าการครอบคลุมในการรับวัคซีน ต่ำมากเกือบทุกตัว สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการรับวัคซีนช้า ไม่เห็นประโยชน์ของวัคซีน และเกิดอาการข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน อีกทั้งยังพบปัญหาฟันผุในเด็ก เนื่องจากมีพฤติกรรมการไม่แปรงฟังและดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง ด้วยสาเหตุเหล่านี้ทำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้กำหนดวาระสำคัญที่จะพัฒนาเด็กวัย 0-5 ปี ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ Pattani Smart kids และจัดกิจกรรมเปิดตัว Pattani Smart Kids พร้อมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยได้รับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1,2,3 และ สำนักการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี เพื่อจัดการศึกษาและประสบการณ์การเรียนรู้ สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมส่งเสริมในเรื่องการกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าระวังฟัน และวัคซีน เพื่อสร้างเด็กตานี ดี 10 อย่าง มีคุณภาพชีวิตที่ดี เหมาะสมตามวัย เป็นพลเมืองสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมในอนาคตต่อไป

เด็ก สมาร์ทคิตส์ คือเด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 และต้องมีสุขภาพครบ 4 ด้าน อย่างน้อยร้อยละ 60ได้แก่ ฟันดี วัคซีนครบตามเกณฑ์ พัฒนาการสมวัย และสูงดีสมส่วน เมื่อพิจารณาเด็กที่ผ่านสมาร์ทคิตส์ ณ ไตรมาศที่ 4 ปีงบประมาณ 2561 พบว่า รพ.สต.เขาตูม มีเด็กสมาร์ทคิตส์ ร้อยละ 35.2 โดยพิจารณารายด้านพบว่า ด้านวัคซีนไม่ผ่านร้อยละ 51.6 รองลงมาคือด้านโภชนาการไม่ผ่าน ร้อยละ 15.6 ด้านพัฒนาการไม่ผ่านร้อยละ 7 และด้านทันตกรรมไม่ผ่านร้อยละ 3.1 (ข้อมูลจากโปรแกรมสมาร์ทคิตส์ปัตตานี ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 )จะเห็นได้ว่ารพ.สต.เขาตูมยังไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่นโยบายจังหวัดได้กำหนดไว้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งโครงการฉบับนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ไม่มากก็น้อย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีเด็กสมาร์ทคิตส์เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กสมาร์ทคิตส์

100.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 240 42,400.00 4 42,400.00
27 ส.ค. 63 ประชุม อสม. เพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ 20 1,500.00 1,500.00
3 - 10 ก.ย. 63 ให้ความรู้ผู้ปกครองและคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย 100 22,500.00 22,500.00
3 - 10 ก.ย. 63 ฝึกทักษะการแปรงฟันในเด็กให้ผู้ปกครอง 100 10,000.00 10,000.00
13 ก.ย. 63 ส่งเสริมการรับประทานอาหารในเด็กที่มีภาวะโภชนาการบกพร่องที่ถูกต้อง 20 8,400.00 8,400.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-เด็ก 0-5 ปี ที่เข้าร่วมโครงการเป็นเด็กสมาร์ทคิตส์เพิ่มขึ้น -ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจระดับดีขึ้นไปร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2563 15:19 น.