กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาตูม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็ก 0-5 ปี ให้เป็นเด็ก SMART KID

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาตูม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

นายอิลฮามี โต๊ะลู
นางสาวอามีเน๊าะ บือโต
นางเจ๊ะมัยซัน เต๊ะ
นางสาวสารีผะ มะเกะ
นางสาวปาตีมา กาซอ

ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กสมาร์ทคิตส์ที่ต้องเฝ้าระวัง

 

300.00
2 จำนวนเด็ก0-5 ปี ที่มีภาวะโภชนาการบกพร่อง

 

20.00
3 จำนวนเด็ก 0-5 ปี ที่ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์

 

66.00
4 จำนวนเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการผิดปกติ

 

9.00
5 จำนวนเด็ฏ 0-5 ปี ที่มีฟันผุ

 

4.00
6 ร้อยละเด็กสมาร์ทคิตส์

 

35.20

ปัญหากลุ่มเด็กปฐมวัย (0-5ปี) ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการตายมารดาและเด็กอายุ 0-5 ปี ของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง โดยอัตราตายมารดาลดลงจาก 374.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปี พ.ศ.2505 เป็น 23.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปีพ.ศ.2557 แต่ยังสูงกว่าเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (MDGs) ที่กำหนดไว้เท่ากับ 18 ต่อการมีชีพแสนคน

สำหรับภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่า อุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ยังเป็นปัญหาและยังไม่บรรลุเป้าหมายที่กระทรวงกำหนดไว้ไม่เกิน ร้อยละ 7 และจากผลการตรวจคัดกรองและประเมินพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่า มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 99.3 และ 98.7 ซึ่งเกินกว่าค่าที่กระทรวงกำหนดไว้ที่ร้อยละ 85

จากนโยบาย “ปัตตานีสมาร์ทคิตส์” นายแพทย์ชัยรัตน์ ลำโป กล่าวว่า ภาวะโภชนาการของเด็กปัตตานี มีเด็กผอม และ เด็กเตี้ย จำนวนไม่น้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ บิดามารดาไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตร และด้านพัฒนาการพบว่า มีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า จากผลสำรวจ IQ เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามี IQ เฉลี่ยแล้ว ต่ำที่สุดในประเทศไทย และเรื่องของวัคซีน พบว่าการครอบคลุมในการรับวัคซีน ต่ำมากเกือบทุกตัว สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการรับวัคซีนช้า ไม่เห็นประโยชน์ของวัคซีน และเกิดอาการข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน อีกทั้งยังพบปัญหาฟันผุในเด็ก เนื่องจากมีพฤติกรรมการไม่แปรงฟังและดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง ด้วยสาเหตุเหล่านี้ทำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้กำหนดวาระสำคัญที่จะพัฒนาเด็กวัย 0-5 ปี ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ Pattani Smart kids และจัดกิจกรรมเปิดตัว Pattani Smart Kids พร้อมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยได้รับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1,2,3 และ สำนักการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี เพื่อจัดการศึกษาและประสบการณ์การเรียนรู้ สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมส่งเสริมในเรื่องการกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าระวังฟัน และวัคซีน เพื่อสร้างเด็กตานี ดี 10 อย่าง มีคุณภาพชีวิตที่ดี เหมาะสมตามวัย เป็นพลเมืองสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมในอนาคตต่อไป

เด็ก สมาร์ทคิตส์ คือเด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 และต้องมีสุขภาพครบ 4 ด้าน อย่างน้อยร้อยละ 60ได้แก่ ฟันดี วัคซีนครบตามเกณฑ์ พัฒนาการสมวัย และสูงดีสมส่วน เมื่อพิจารณาเด็กที่ผ่านสมาร์ทคิตส์ ณ ไตรมาศที่ 4 ปีงบประมาณ 2561 พบว่า รพ.สต.เขาตูม มีเด็กสมาร์ทคิตส์ ร้อยละ 35.2 โดยพิจารณารายด้านพบว่า ด้านวัคซีนไม่ผ่านร้อยละ 51.6 รองลงมาคือด้านโภชนาการไม่ผ่าน ร้อยละ 15.6 ด้านพัฒนาการไม่ผ่านร้อยละ 7 และด้านทันตกรรมไม่ผ่านร้อยละ 3.1 (ข้อมูลจากโปรแกรมสมาร์ทคิตส์ปัตตานี ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 )จะเห็นได้ว่ารพ.สต.เขาตูมยังไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่นโยบายจังหวัดได้กำหนดไว้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งโครงการฉบับนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ไม่มากก็น้อย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีเด็กสมาร์ทคิตส์เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กสมาร์ทคิตส์

100.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม อสม. เพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุม อสม. เพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 20 คน เป็นเงิน 1000 บาท -ค่าอาหารว่าง25 บาท x 1 มื้อ x 20 คน เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.เข้าร่วมประชุมร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ผู้ปกครองและคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ผู้ปกครองและคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้ผู้ปกครองในเรื่อง ได้แก่ การดูแลสุขภาพช่องปาก การสังเกตและกระตุ้นพัฒนาการโดยผู้ปกครอง โภชนาการในเด็กเล็ก ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัคซีนขั้นพื้นฐานโดยจัดโซนการให้บริการจำนวน 16 แห่งแยกตามพื้นที่ดังนี้ -หมู่ที่ 1 จำนวน 8 แห่งได้แก่ กูแบรูซอ, ปาแดแซแงะ, บะตี, บูเกะแยระ, บาซาปาแย -หมู่ที่ 2 จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ จาเราะและ บูเกะดาตู -หมู่ที่ 3 จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ บูเกะตีพะ, ลูโบะบาลา, โสร่ง 1, โสร่ง 2 -หมู่ที่ 7 จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนหมู่ที่ 7 และ หน้าค่าย ชคต. ค่าใช้จ่าย 1.-ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 100 คน เป็นเงิน 5000 บาท -ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 1 มื้อ x 100 คน เป็นเงิน 2500 บาท 2.สื่อประชาสัมพันธ์ ชนิดโรลอัพ ขนาด 200x80 ซม. จำนวน 5 ชุด x 3,000 บาทเป็นเงิน 15,000 บาท (ได้แก่ เรื่องฟันผุ ในเด็ก, การแปรงฟันในเด็ก, พัฒนาการตามวัย, ธงโภชนาการ, และวัคซีนตามวัย)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครองเข้าร่วมโครงการร้อยละ 85 2.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจระดับดีขึ้นไปร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22500.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกทักษะการแปรงฟันในเด็กให้ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
ฝึกทักษะการแปรงฟันในเด็กให้ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ชุดทำความสะอาดฟันเด็ก(แปรงสีฟัน+ยาสีฟัน) จำนวน 100 ชุด x 100 บาท เป็นเงิน10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองสามารถแปรงฟันได้ถูกต้องร้อยละ 80 โดยสุ่มสาธิตร้อยละ 10 จากกลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการรับประทานอาหารในเด็กที่มีภาวะโภชนาการบกพร่องที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการรับประทานอาหารในเด็กที่มีภาวะโภชนาการบกพร่องที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมการรับประทานอาหารที่ถูกต้องดังนี้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน ติดตามทุก 1 เดือน นาน 3 เดือน 1.รพ.สต.จ่ายยาเสริมธาตุเหล็กให้กลุ่มเป้าหมายโดยกินยาทุกวันนาน 1 เดือน 2.รพ.สต.จ่ายยา MTV จนกว่าน้ำหนักจะเพิ่มขึ้น 3.สนับสนุนการกินโปรตีนเสริมจากอาหารเดิมโดย กินไข่ต้มวันละ 1 ฟอง และถั่วเขียวต้ม วันละ 1 ถ้วยเป็นอย่างน้อย -ไข่3 แผง(30 ฟอง) x 100 บาท x 20 คน เป็นเงิน 6,000 บาท -ถั่วเขียว 3 ถุง(500 กรัม) x 40 บาท x 20 คน เป็นเงิน2,400 บาท 4.ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กโดยอสม. ทุก 1 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 เด็กที่มีภาวะโภชนาการบกพร่องได้รับการส่งเสริมอาหารที่มีประโยชน์ ร้อยละ 50 เด็กที่มีภาวะโภชนาการบกพร่องมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-เด็ก 0-5 ปี ที่เข้าร่วมโครงการเป็นเด็กสมาร์ทคิตส์เพิ่มขึ้น
-ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจระดับดีขึ้นไปร้อยละ 80


>