กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์
รหัสโครงการ 63-L7257-3-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มีนาคม 2563 - 30 พฤศจิกายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 465,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์เทศบาลเมืองคอหงส์ โดย นางสาวจารุวรรณ ยอดหนู ผู้ช่วยเจ้าพนักงานโภชนาการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2563 465,000.00
รวมงบประมาณ 465,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน
160.00
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย
160.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 มาตรา 16 กล่าวว่า ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง โดย (10) คือ การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 อำนาจหน้าที่ของเทศบาลฯ มาตรา 54(4) ให้มีและบำรุง การสงเคราะห์มารดาและเด็ก ประกอบกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) มีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยให้มีการพัฒนาการเต็มศักยภาพ โดยกำหนดตัวชี้วัดให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ซึ่งในช่วงระยะเวลา ๒ ปี ที่ผ่านมาตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบูรณาการ ๔ กระทรวงด้านงานเด็กปฐมวัย ปี พ.ศ. 2560 กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมจัดทำมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ โดยได้นำมาตรฐานสาธารณสุขเด็กปฐมวัย เช่นให้เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปรับประทานอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอ และส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม มีการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็ก และดูแลการเจ็บป่วยเบื้องต้น ด้วยเหตุนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์ทุกแห่ง จึงได้วางแนวทางในการจัดทำแผนงาน/โครงการ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมภาวะโภชนาการขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอาหารกลางวัน และอาหารเช้าสำหรับนักเรียน ทั้งนี้ ในส่วนของการจัดอาหารเช้าให้กับนักเรียนทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์ทั้ง 4 แห่ง ต่างให้ความสำคัญกับมื้อเช้าของเด็กโดยเฉพาะเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากอาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่ขาดไม่ได้จำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กจะต้องได้รับประทานอาหารเช้า กอรปกับการที่เด็กจะต้องมาเรียนหนังสือซึ่งเป็นช่วงที่มีการใช้สมองอย่างมาก เพื่อเป็นแหล่งพลังงานที่เด็กจะใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ มีส่วนช่วยพัฒนาการต่อทั้งร่างกายและสมองซึ่งจะช่วยให้ร่างกายของเด็กทำงานได้ดีขึ้น มีพละกำลังในการทำงานกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาสมองของเด็กพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างมีสมาธิและมีความจำ หากเด็กในวัยนี้ซึ่งเป็นวัยที่ซุกซน อยากรู้ อยากเห็น หากไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนหรือไม่เพียงพอจะส่งผลเสียเนื่องจากต่อสุขภาพร่างกายกับระบบภูมิคุ้มกันอาจจะทำให้ป่วยง่าย พร้อมยังมีผลในเรื่องสติปัญญา จะทำให้เด็กเรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง และจำอะไรได้ไม่ค่อยดี ซึ่งสอดรับกับข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่เปิดเผยข้อมูลจากนักโภชนาการ มื้ออาหารเช้าสำหรับเด็กควรได้รับสารอาหารในกลุ่มประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- อาหารในกลุ่มข้าวแป้ง ให้สารอาหารที่เรียกว่า “คาร์โบไฮเดรต” เป็นแหล่งพลังงาน จึงควรเลือกข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง หรือขนมปังโฮลวีท หรือไม่ก็เป็นอาหารเช้าที่ทำจากธัญพืช เพราะอาหารในกลุ่มนี้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีใยอาหารช่วยให้เด็กมีพลังงานที่ค่อยย่อยและดูดซึม ซึ่งเป็นพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาอย่างช้า ๆ ทำให้เด็กมีพลังงานอย่างต่อเนื่อง มีผลต่อสมาธิและอารมณ์ - อาหารในกลุ่มของเนื้อสัตว์ ให้สารอาหารที่เรียกว่า “โปรตีน” ช่วยให้เด็กมีสมาธิ และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ดังนั้น ควรเลือกจำพวก ไข่ ปลา เนื้อหมู และเนื้อไก่ - นม และผลิตภัณฑ์จากนมต่าง ๆ นอกจากจะเป็นแหล่งของโปรตีนที่ดีแล้ว ยังเป็นแหล่งของแคลเซียม รวมถึงวิตามิน ต่าง ๆ จะช่วยบำรุงทั้งร่างกายและสองอีกด้วย
จากข้อมูลสถานการณ์เด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พบว่า จำนวนเด็กมีจำนวนทั้งสิ้น ๓๐๐ คน เป็นเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและด้อยโอกาส รวมจำนวน ๑๖๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๓ % โดยเด็กกลุ่มเสี่ยงตามเป้าหมายปรากฎดังตามตารางดังนี้
กลุ่มเป้าหมาย จำนวน (คน) ๑. เด็กเตี้ย ๘ คน ๒. เด็กค่อนข้างเตี้ย ๑๒ คน ๓. เด็กผอม 2๐ คน ๔. เด็กค่อนข้างผอม ๒๑ คน ๕. เด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อการทุพโภชนาการ ๙๙ คน รวมทั้งสิ้น (คน) ๑๖๐ คน
ทั้งนี้เด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการทุพโภชนาการ หมายถึง เด็กที่มีฐานะยากจน และ/หรือเด็กที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพกรีดยางในช่วงเช้ามืด และ/หรือเด็กที่ผู้ปกครองมีอาชีพไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ และหรือเด็กที่มีปัญหาครอบครัว ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์ จึงเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย ในการสนับสนุนอาหารเช้าให้กับนักเรียน จึงกำหนดจัดโครงสร้างส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ขึ้นนั่นเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์ ที่ทุพโภชนาการ มีอาหารเช้ารับประทานอย่างเพียงพอ ส่งผลให้นักเรียนมีน้ำหนัก สมส่วนเพิ่มขึ้น

๑. จำนวนเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีจำนวนลดลง ๕ คน
๒. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถจัดการอาหารเช้าให้เด็กกลุ่มเสี่ยงด้านภาวะโภชนาการ ครบ ๑ ปี โดยเด็กสมส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๕
๓. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครอง เทศบาล มีส่วนร่วมในการติดตามภาวะโภชนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง
๔. ผู้ปกครองและผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านโภชนาการเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อลดปัญหาเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน

ร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน ลดลง

160.00 0.00
3 เพื่อลดเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย ลดลง

160.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ประชุมครูผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อชีแจ้งสถานการณ์ด้านปัญหาสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 5,600.00 1 0.00
23 มี.ค. 63 ประชุมครูผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อชีแจ้งสถานการณ์ด้านปัญหาสุขภาพ 0 5,600.00 0.00
2 ประชาสัมพันธ์โครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 5,000.00 1 0.00
23 มี.ค. 63 - 3 เม.ย. 63 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 5,000.00 0.00
3 กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 960 462,076.00 6 292,400.00
23 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย (เงินคืนโครงการ) 160 172,600.00 0.00
1 - 31 ก.ค. 63 กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย ประจำเดือนกรกฏาคม 2563 160 57,024.00 57,600.00
3 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย ประจำเดือนสิงหาคม 2563 160 60,192.00 60,800.00
1 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย ประจำเดือนกันยายน 2563 160 60,192.00 60,800.00
1 - 30 ต.ค. 63 กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย ประจำเดือนตุลาคม 2563 160 63,360.00 64,000.00
2 - 30 พ.ย. 63 กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 160 48,708.00 49,200.00
4 ติดตามประเมินผลโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
1 - 30 ก.ย. 63 ติดตามประเมินผลโครงการ 0 0.00 -
5 สรุปผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
30 ก.ย. 63 สรุปผลการดำเนินงาน 0 0.00 -
  1. จัดประชุมครู ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพ
  2. ดำเนินการจัดหาอาหารเช้าในเด็กที่มีภาวะเสี่ยงด้านโภชนาการ จำนวน ๒ ภาคเรียน
  3. ติดตาม และประเมินผล ดังนี้
    3.1 ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงเด็กเป็นประจำทุกเดือน
    3.2 บันทึกภาวะโภชนาการรายบุคคลในสมุดรายงานประจำตัวเด็กปฐมวัย
    3.3 นำผลการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงมาวิเคราะห์ผล และจัดทำรายงานภาวการณ์เจริญเติบโตของเด็กทุก ๔ เดือน
  4. ดำเนินการจัดทำบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ให้กับผู้ปกครอง
  5. ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  6. รายงานผลการดำเนินงานโครงการให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ (สปสช.)
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองเปล เทศบาลเมืองคอหงส์ ที่ทุพโภชนาการ มีอาหารเช้ารับประทานอย่างเพียงพอ ส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักสมส่วนเพิ่มขึ้น
  2. ผู้ปกครองนักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านโภชนาการเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 14:31 น.