กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์
รหัสโครงการ 63-L7257-3-03
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2563
ปี 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มีนาคม 2563 - 30 พฤศจิกายน 2563
งบประมาณ 465,000.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์เทศบาลเมืองคอหงส์ โดย นางสาวจารุวรรณ ยอดหนู ผู้ช่วยเจ้าพนักงานโภชนาการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ประเด็น
แผนงานอาหารและโภชนาการ
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน ขนาด 160.00
  2. ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย ขนาด 160.00

ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 มาตรา 16 กล่าวว่า ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง โดย (10) คือ การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 อำนาจหน้าที่ของเทศบาลฯ มาตรา 54(4) ให้มีและบำรุง การสงเคราะห์มารดาและเด็ก ประกอบกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) มีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยให้มีการพัฒนาการเต็มศักยภาพ โดยกำหนดตัวชี้วัดให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ซึ่งในช่วงระยะเวลา ๒ ปี ที่ผ่านมาตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบูรณาการ ๔ กระทรวงด้านงานเด็กปฐมวัย ปี พ.ศ. 2560 กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมจัดทำมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ โดยได้นำมาตรฐานสาธารณสุขเด็กปฐมวัย เช่นให้เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปรับประทานอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอ และส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม มีการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็ก และดูแลการเจ็บป่วยเบื้องต้น ด้วยเหตุนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์ทุกแห่ง จึงได้วางแนวทางในการจัดทำแผนงาน/โครงการ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมภาวะโภชนาการขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอาหารกลางวัน และอาหารเช้าสำหรับนักเรียน ทั้งนี้ ในส่วนของการจัดอาหารเช้าให้กับนักเรียนทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์ทั้ง 4 แห่ง ต่างให้ความสำคัญกับมื้อเช้าของเด็กโดยเฉพาะเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากอาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่ขาดไม่ได้จำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กจะต้องได้รับประทานอาหารเช้า กอรปกับการที่เด็กจะต้องมาเรียนหนังสือซึ่งเป็นช่วงที่มีการใช้สมองอย่างมาก เพื่อเป็นแหล่งพลังงานที่เด็กจะใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ มีส่วนช่วยพัฒนาการต่อทั้งร่างกายและสมองซึ่งจะช่วยให้ร่างกายของเด็กทำงานได้ดีขึ้น มีพละกำลังในการทำงานกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาสมองของเด็กพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างมีสมาธิและมีความจำ หากเด็กในวัยนี้ซึ่งเป็นวัยที่ซุกซน อยากรู้ อยากเห็น หากไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนหรือไม่เพียงพอจะส่งผลเสียเนื่องจากต่อสุขภาพร่างกายกับระบบภูมิคุ้มกันอาจจะทำให้ป่วยง่าย พร้อมยังมีผลในเรื่องสติปัญญา จะทำให้เด็กเรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง และจำอะไรได้ไม่ค่อยดี ซึ่งสอดรับกับข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่เปิดเผยข้อมูลจากนักโภชนาการ มื้ออาหารเช้าสำหรับเด็กควรได้รับสารอาหารในกลุ่มประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- อาหารในกลุ่มข้าวแป้ง ให้สารอาหารที่เรียกว่า “คาร์โบไฮเดรต” เป็นแหล่งพลังงาน จึงควรเลือกข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง หรือขนมปังโฮลวีท หรือไม่ก็เป็นอาหารเช้าที่ทำจากธัญพืช เพราะอาหารในกลุ่มนี้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีใยอาหารช่วยให้เด็กมีพลังงานที่ค่อยย่อยและดูดซึม ซึ่งเป็นพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาอย่างช้า ๆ ทำให้เด็กมีพลังงานอย่างต่อเนื่อง มีผลต่อสมาธิและอารมณ์ - อาหารในกลุ่มของเนื้อสัตว์ ให้สารอาหารที่เรียกว่า “โปรตีน” ช่วยให้เด็กมีสมาธิ และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ดังนั้น ควรเลือกจำพวก ไข่ ปลา เนื้อหมู และเนื้อไก่ - นม และผลิตภัณฑ์จากนมต่าง ๆ นอกจากจะเป็นแหล่งของโปรตีนที่ดีแล้ว ยังเป็นแหล่งของแคลเซียม รวมถึงวิตามิน ต่าง ๆ จะช่วยบำรุงทั้งร่างกายและสองอีกด้วย
จากข้อมูลสถานการณ์เด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พบว่า จำนวนเด็กมีจำนวนทั้งสิ้น ๓๐๐ คน เป็นเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและด้อยโอกาส รวมจำนวน ๑๖๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๓ % โดยเด็กกลุ่มเสี่ยงตามเป้าหมายปรากฎดังตามตารางดังนี้
กลุ่มเป้าหมาย จำนวน (คน) ๑. เด็กเตี้ย ๘ คน ๒. เด็กค่อนข้างเตี้ย ๑๒ คน ๓. เด็กผอม 2๐ คน ๔. เด็กค่อนข้างผอม ๒๑ คน ๕. เด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อการทุพโภชนาการ ๙๙ คน รวมทั้งสิ้น (คน) ๑๖๐ คน
ทั้งนี้เด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการทุพโภชนาการ หมายถึง เด็กที่มีฐานะยากจน และ/หรือเด็กที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพกรีดยางในช่วงเช้ามืด และ/หรือเด็กที่ผู้ปกครองมีอาชีพไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ และหรือเด็กที่มีปัญหาครอบครัว ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์ จึงเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย ในการสนับสนุนอาหารเช้าให้กับนักเรียน จึงกำหนดจัดโครงสร้างส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ขึ้นนั่นเอง

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์ ที่ทุพโภชนาการ มีอาหารเช้ารับประทานอย่างเพียงพอ ส่งผลให้นักเรียนมีน้ำหนัก สมส่วนเพิ่มขึ้น
  2. เพื่อลดปัญหาเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน
  3. เพื่อลดเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมครูผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อชีแจ้งสถานการณ์ด้านปัญหาสุขภาพ
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย
  4. ติดตามประเมินผลโครงการ
  5. สรุปผลการดำเนินงาน
  6. ประชุมครูผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อชีแจ้งสถานการณ์ด้านปัญหาสุขภาพ
  7. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  8. กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย (เงินคืนโครงการ)
  9. กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย ประจำเดือนกรกฏาคม 2563
  10. กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย ประจำเดือนสิงหาคม 2563
  11. กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย ประจำเดือนกันยายน 2563
  12. ติดตามประเมินผลโครงการ
  13. สรุปผลการดำเนินงาน
  14. กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย ประจำเดือนตุลาคม 2563
  15. กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
วิธีดำเนินการ
  1. จัดประชุมครู ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพ
  2. ดำเนินการจัดหาอาหารเช้าในเด็กที่มีภาวะเสี่ยงด้านโภชนาการ จำนวน ๒ ภาคเรียน
  3. ติดตาม และประเมินผล ดังนี้
    3.1 ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงเด็กเป็นประจำทุกเดือน
    3.2 บันทึกภาวะโภชนาการรายบุคคลในสมุดรายงานประจำตัวเด็กปฐมวัย
    3.3 นำผลการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงมาวิเคราะห์ผล และจัดทำรายงานภาวการณ์เจริญเติบโตของเด็กทุก ๔ เดือน
  4. ดำเนินการจัดทำบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ให้กับผู้ปกครอง
  5. ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  6. รายงานผลการดำเนินงานโครงการให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ (สปสช.)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองเปล เทศบาลเมืองคอหงส์ ที่ทุพโภชนาการ มีอาหารเช้ารับประทานอย่างเพียงพอ ส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักสมส่วนเพิ่มขึ้น
  2. ผู้ปกครองนักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านโภชนาการเพิ่มขึ้น