กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สตรี 2020 รู้เร็ว รู้ทัน มะเร็งรักษาได้
รหัสโครงการ 63-L5245-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโต้
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 กุมภาพันธ์ 2563 - 13 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,480.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพลาพร จะรา
พี่เลี้ยงโครงการ นายณัฏฐเกียรติ ชำนิธุรการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขามีเกียรติ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.774,100.524place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 48 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากในสตรีซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของสตรีและเป็นภาวะเสี่ยงที่พบได้มากในสตรีทุกคน ทั้ง ๆ ที่มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่สามารถตรวจพบได้ในระยะเริ่มแรกและสามารถรักษาได้ หากเราดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพราะหลังจากได้รับเชื้อ Humanpapilloma Virus (Hpv) ชนิด High risk type ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก มีลักษณะเป็นเหมิอนไวรัสทั้่วไปแต่เป็นเชื้อที่สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ โดยเมื่อรับเชื้อแล้วจะใช้เวลาประมาณ 10-15 ปี ในการทำให้ปากมดลูกที่ผิดปกติเปลี่ยนแปลงมาเป็นปากมดลูกที่ผิดปกติจนกระทั้่งกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุด การึ้นหาสตรีที่ปากมดลูกผิดปกติระยะก่อนเป็นมะเร็ง จึงเป็นแนวทางที่ให้ผลคุ้มค่าและมีประโยชน์อย่างมาก ในการช่วยลดการป่วยจากโรคมะเร็งและสามารถทำการรักษาได้รวดเร็ว และทำการตรวจคัดกรอง แต่ความครอบคลุมของการตรวจมะเร็งปากมดลูกสะสมในช่วง 5 ปี ของ รพ.สต.ท่าโต้ มีเพียง 354 คน หรือ คิดเป็นร้อยละ 71.81 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดจากจำนวน 493 คนเท่านั้น (เป้าหมายความครอบคลุมของการตรวจมะเร็งปากมดลูกสะสมในช่วง 5 ปี เท่ากับร้อยละ 100 หรือจำนวน 493คน) เนื่งอจากสตรีไทยมีความละอายเจ้าหน้าที่ทำให้ไม่กล้ารับการตรวจ อีกทั้งมีหน้าที่ทำงานเป็นกำลังสำคัญในการหาเลี้ยงครอบครัวทำให้ไม่มีเวลาในการดูแลสุขภาพเท่าที่ควร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโต้ได้มองเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและคำนึ่งความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก จึงได้จัดกิจกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก และดำเนินกิจกรรมการส่งต่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที กรณีพบผลผิดปกติ ซึ่งเป็นทางหนึ่งในการช่วยลดอัตราป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและเข้าใจขั้นตอนวิธีการตรวจ 3. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก

1.สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20
2. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและเข้าใจวิธีการตรวจ ร้อยละ 80 3. ผู้ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี
  2. จัดกิจกรรมเชิงรุกเคาะประตูบ้านเพื่อประชาสัมพันธ์ให้สตรีอายุ 30-60 ปี เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
  3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่อง รู้ทันโรคมะเร็งปากมดลูก
  4. ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap Smear แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย
  5. บันทึกข้อมูลการให้บริการลงในโปรแกรมข้อมูล JHCIS และนำส่งข้อมูลเข้าสู่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
  6. นำส่งสิ่งตรวจให้กับห้องปฏิบัติการ รพศ.หาดใหญ่ และติดตามรับผลการตรวจ
  7. รายงานและแจ้งผลการตรวจทางโทรศัพท์และจดหมาย ติดตามผู้ที่ผลผิดปกติเพื่อส่งต่อ เข้ารับการรักษาตามขั้นตอนต่อไป
  8. สรุปผลการดำเนินงาน รายงานผลการตรวจเป็น File ข้อมูล ส่งสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูก และให้ความสนใจในการเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20 คิดเป็นจำนวน 96 คน จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 484 คน
  2. ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกทุกระยะได้รับการรักษา
  3. อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะหลังลดน้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2563 11:16 น.