กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 2 in 1 model วัคซีนใจสู่การบำบัดยาเสพติด
รหัสโครงการ 63-L2477-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลจะแนะ
วันที่อนุมัติ 25 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 18,690.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนูรอามีลา วาเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.ย. 2563 9 ก.ย. 2563 18,690.00
รวมงบประมาณ 18,690.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 16 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ติดยาเสพติดที่เสพยาอย่างต่อเนื่องจนมีความบกพร่องต่อหน้าที่ในชุมชน(คน)
16.00
2 ร้อยละของผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติดแล้วหยุดเสพซ้ำหลังผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชน
79.49

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยใน ช่วง 3 ปีมีผู้ติดยาที่มีอาการทางจิตเข้ารักษาปีละเกือบ 4 พันรายต่อปี นพ.เจษฎา โชคดำรงสุขอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การติดสารเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่เกิดขึ้นทีละน้อย จากการใช้ยาเป็นครั้งคราวสู่การใช้ถี่ขึ้น จนใช้ทุกวัน วันละหลายครั้ง ซึ่งเมื่อใช้บ่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จะนำไปสู่ภาวะ "สมองติดยา" โดยสารในตัวยาจะเข้าไปทำลายสมองส่วนคิด ทำให้การใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลเสียไป สมองส่วนอยากจึงเข้ามามีอิทธิพลเหนือสมองส่วนคิด โดยเฉพาะช่วงอยากสารเสพติด ทำให้ผู้เสพติดทำอะไรตามใจตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล การเปลี่ยนแปลงสารเคมีในสมอง ทำให้เกิดอาการจิตประสาทหลอนได้ง่าย โดยผู้เสพบางรายจะมีอาการ หลงผิด หวาดระแวง หูแว่ว เห็นภาพหลอน ซึ่งจะเป็นอยู่ครั้งคราวเมื่อมีการใช้สารเสพติดนั้น และหากมีการใช้เป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดอาการทางจิตอย่างถาวรได้ ซึ่งอาการจะคล้ายกับผู้ป่วย "โรคจิตเภท" คือนอกจาก หวาดระแวง มีหูแว่ว หลงผิด แล้วยังไม่สามารถรับรู้โลกความเป็นจริง มีความบกพร่อง ขาดการดูแลตนเองการดำรงชีวิตประจำวันอีกด้วย ปัจจุบันมีรูปแบบการบำบัดยาเสพติดที่หลากหลาย ทั้งการบำบัดรักษาด้านร่างกาย บำบัดแบบค่าย และการรักษาด้านจิตใจ หนึ่งในทางเลือกของการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดคือวิธีการศาสนบำบัด จากการศึกษาพบว่าอิสลามบำบัดมีแนวคิดและหลักการสำคัญ 4 ประการดังนี้ 1) อิสลามบำบัดไม่ใช่มุ่งเน้นการบำบัดสารเสพติดแต่มุ่งเน้นการพัฒนาความศรัทธาในศาสนาให้เพิ่มขึ้น เพราะความศรัทธาจะทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้ใช้สารเสพติด 2) การประกอบศาสนกิจจะทำให้ผู้ติดสารเสพติดลืมสารเสพติดได้ 3) การหายจากสารเสพติดไม่ได้มาจากความสามารถของมนุษย์แต่มาจากพระเจ้า และ 4) หลักการในศาสนาอิสลามเป็นหลักการที่สมบูรณ์สามารถแก้ไขปัญหาได้ (ณัฐนิชากันซัง,2560) ข้อมูลจากการสำรวจผู้รับบริการในคลินิกจิตเวช ในปี 2562 พบว่าอำเภอจะแนะมีผู้ป่วยจิตเภทที่เข้าสู่กระบวนการรักษา ทั้งหมด จำนวน 162 ราย โดยมีผู้ป่วยจิตเภทจากการใช้ยาและสารเสพติด จำนวน 119 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.91 มีผู้ป่วยจิตเภทจากพฤติกรรม จำนวน 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.46 และมีผู้ป่วยจิตเภทจากพันธุกรรม จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.23 ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดจำนวนทั้งหมด 78 ราย โดยหลังการบำบัดมีผู้ที่ไม่กลับไปเสพซ้ำ 62 ราย คิดเป็นร้อยละ 79.49 และกลับไปเสพซ้ำ 16 ราย ราย คิดเป็นร้อยละ 20.51 มีผู้ป่วยที่มีการกำเริบซ้ำของโรคทั้งหมด จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.24 แบ่งได้ดังนี้ ในผู้ป่วยจิตเภทจากการใช้ยาและสารเสพติดมีการ จำนวน 16 รายคิดเป็นร้อยละ 13.44 ในผู้ป่วยจิตเภทจากพฤติกรรม จำนวน 4 รายคิดเป็นร้อยละ 9.75และไม่มีผู้ป่วยจิตเภทจากพันธุกรรมที่มีอาการกำเริบซ้ำ โดยผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาในคลินิกจิตเวช และฟื้นฟูบำบัดตามแนวทางจิตสังคมบำบัด ดังนั้นหน่วยงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลจะแนะ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการผสมผสานการบำบัดรักษาตามแนวทางจิตสังคมบำบัดในรูปแบบของอิสลามบำบัดโดยเน้นการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคลให้สามารถดูแลตัวเองได้เต็มศักยภาพ และการฟื้นฟูอีมาน (หลักศรัธทา) เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งทางใจ จนสามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้อย่างอิสระ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้ติดยาเสพติดที่เสพยาอย่างต่อเนื่องจนมีความบกพร่องต่อหน้าที่ในชุมชน

จำนวนผู้ติดยาเสพติดที่เสพยาอย่างต่อเนื่องจนมีความบกพร่องต่อหน้าที่ในชุมชน ลดลงเหลือ(คน)

16.00 15.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติดหยุดเสพซ้ำ ต่อเนื่อง 3 เดือนหลังเข้าร่วมกิจกรรม

ร้อยละของผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติดที่หยุดเสพซ้ำ ต่อเนื่อง 3 เดือนหลังเข้าร่วมกิจกรรม

79.49 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,690.00 4 17,600.00
7 ต.ค. 63 อบรมเสริมสร้างศักยภาพครอบครัวและผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาและสารเสพติด 0 6,890.00 6,200.00
7 ต.ค. 63 อบรมเชิงปฏิบัติการ “ตะเล็ม” (แลกเปลี่ยนเรียนรู้) สุขภาพจิตศึกษาในมิติทางศาสนา 0 5,200.00 5,200.00
7 ต.ค. 63 มูฮาซาบะฮฺ (เปิดใจ) บำบัดอารมณ์ ฟื้นฟูทักษะการรู้คิด ปรับพฤติกรรม 0 6,200.00 6,200.00
7 ต.ค. 63 เสริมสร้างการใช้สัมพันธภาพและสิ่งแวดล้อม ; เฏาะฮาเราะฮฺ จิตอาสา ทำคุณประโยชน์ 0 400.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาและสารเสพติด
  • ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาและสารเสพติด
  • สามารถนำโมเดลไปปรับใช้ในผู้ใช้ยาและสารเสพติดรายอื่นๆในพื้นที่ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2563 00:00 น.