กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟันสวย หัวใจเบิกบาน ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L4147-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอโนชา เหละดุหวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 666 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กกลุ่มอายุ 12 ปีมีฟันผุในฟันแท้
85.00
2 เด็กกลุ่มอายุ 3 ปีมีฟันผุในฟันน้ำนม
26.00
3 ร้อยละเด็กกลุ่มอายุ 9 ปีมีฟันผุในฟันแท้
50.00
4 ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานได้ตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก
40.00
5 ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานได้ตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก
40.00
6 ร้อยละผู้สูงอายุ ได้รับการตรวจช่องปาก
81.54

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคในช่องปากเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัด แม้โรคในช่องปากจะเป็นโรคซึ่งไม่ได้ติดต่อร้ายแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ได้ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอันเนื่องมาจากความเจ็บปวดซ้ำซาก ซึ่งเป้าหมายทันตสุขภาพระยะยาวของประเทศไทยปี 2563 ระบุว่า “คนไทยมีสุขภาพช่องปากดี บดเคี้ยวได้ อยู่ในสังคมอย่างปกติสุข ทุกช่วงวัยของชีวิต” การที่จะบรรลุเป้าหมายระยะยาวได้นั้นจะต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก หรือเริ่มตั้งแต่ระยะฟันน้ำนมเริ่มขึ้น หากฟันได้รับการดูแลอย่างดี เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่จะมีฟันใช้งานได้ครบทั้งปากไม่มีโรคในช่องปากไม่มีความเจ็บปวดในช่องปาก คงสภาวะเช่นนี้ได้ตลอดชีวิต

โรคฟันผุยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากที่สุด โดยลักษณะธรรมชาติของโรคฟันผุ มักผุที่ฟันกรามด้านบดเคี้ยวเป็นส่วนใหญ่ซึ่งฟันกรามซี่แรกจะขึ้นมาในช่องปากช่วงอายุ 6 ปี ในช่วงนี้พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กยังเข้าใจว่าฟันแท้ที่ขึ้นมาในช่องปากเป็นฟันน้ำนม ทำให้ละเลยการดูแลฟันกรามนี้เป็นพิเศษ ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรคฟันผุในฟันกรามซี่แรก โดยเฉพาะการเคลือบหลุมร่องฟัน (Sealant) เคลือบหลุมร่องฟันที่ลึก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กได้ นอกจากนี้ประชาชนควรได้รับการดูแลส่งเสริมการให้ความรู้ และคำแนะนำทันตสุขภาพอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการสร้างกระแสเพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้อง และนอกจากนี้ การส่งเสริมการให้ความรู้ด้านการแปรงฟันโดยเน้นการลงมือฝึกปฏิบัติจริงในช่องปาก จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการส่งเสริมป้องกันโรคฟันผุได้ดี โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 0-5 ปี ซึ่งไม่มีความสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้เอง การค้นหาปัญหาโรคฟันผุในเด็ก 0-5 ปีในพื้นที่ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา พบว่า พฤติกรรมการแปรงฟันและการบริโภคของกรุบกรอบในเด็ก 0-5 ปี ยังเป็นปัญหาที่สำคัญที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ดีเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแล หญิงตั้งครรภ์ ผู้นำศาสนา และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อทันตสุขภาพมีความจำเป็นยิ่งในการดูแลช่องปาก ไม่วาจะเป็นการจัดกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน การเฝ้าระวังทันตสุขภาพโดยการตรวจฟันปีละ 2 ครั้ง

การเฝ้าระวังทันตสุขภาพ โดยเฉพาะการเพิ่มพูน ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีมีความจำเป็นที่ต้องส่งเสริมสุขภาพในทุกกลุ่มวัย เช่น หญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิด-2 ปี เด็กวัยเรียน (6-12 ปี) และ ผู้สูงอายุ เพื่อที่จะนำความรู้ไปปฏิบัติ และถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้โดยเน้นการส่งเสริม ป้องกันโรคช่องปาก ควบคู่กับการรักษา และให้ทันตสุขศึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคในช่องปาก สามารถคงสภาพฟันที่ดีใช้งานได้ตลอดไป

ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโงยซิแน ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการฟันสวย หัวใจเบิกบาน ปี 2563 เพื่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของเด็ก ทำให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้อง เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีแก่เด็กนักเรียน และประชาชนทั่วไป เพื่อที่จะนำความรู้ไปปฏิบัติ และถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 1. เพื่อสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ได้แก่ ฝึกทักษะการแปรงฟันหญิง ช่วงฝากครรภ์, เยี่ยมหญิงหลังคลอด และตรวจสุขภาพฟัน และ OHI ช่วงฝากครรภ์ และรักษาทางทันตกรรมตามชุดสิทธิประโยชน์ที่ระบุ

ร้อยละ 30 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจฟันและรักษาทันตกรรม

20.00 30.00
2 กลุ่มเด็กปฐมวัย (0-5ปี) 1. เพื่อตรวจช่องปากเด็ก และให้ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพช่อง ปากตามระบบใน WBC 2. เพื่อฝึกทักษะการแปรงฟันให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี 3. เพื่อตรวจช่องปากปีละ 2 ครั้ง และให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากกับผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครอง 4.เพื่อจัดให้มีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน 5.เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมในศูนย์เด็กให้เอื้อต่อสุขภาพฟันเช่น การควบคุมอาหารหวานและอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพในศูนย์และโรงเรียนอนุบาล
  1. ร้อยละ80 ของเด็กอายุ 0-2 ปีได้รับการเคลือบฟลูออไรด์วานิช
  2. ร้อยละ80 ของเด็กอายุ3-5ปีได้รับการตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์วานิช
  3. ในศูนย์เด็กเล็กมีกิจกรรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพฟันเช่น การควบคุมอาหารหวานและอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
80.00 90.00
3 กลุ่มเด็กนักเรียน(6-12 ปี) 1. เพื่อส่งเสริมป้องกันและรักษาสุขภาพในช่องปากกลุ่มเด็กวัยเรียน 2. เด็กวัยเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และฝึกทักษะการแปรงฟันเป็นรายบุคคล 3. รับบริการทางทันตกรรมตามความเหมาะสม 4.มีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
  1. ร้อยละ 20 ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่1-6 ที่มีปัญหาโรคฟันผุ ได้รับการอุดฟัน
  2. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา มีการจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
20.00 30.00
4 กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยเบาหวาน 1.เพื่อส่งเสริมป้องกันและรักษาสุขภาพในช่องปาก 2.เพื่อส่งเสริมให้ชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 3.จัดบริการทันตกรรมป้องกันแก่ผู้ป่วยเบาหวานในรายที่มีปัญหาช่องปาก

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุและผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจฟัน

81.54 85.00
5 เพื่อให้แกนนำสาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้

ร้อยละ 70 ของแกนนำสาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 เสริมสร้างและฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี 0 35,000.00 -
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 การส่งเสริม ป้องกันโรคในช่องปาก เชิงรุกในและนอกสถานบริการ 0 0.00 -
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 การควบคุมกำกับ และการประเมินผล 0 0.00 -

เสริมสร้างและฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี
1.การฝึกทักษะการแปรงฟันให้ผู้ปกครองเด็ก 0- 5 ปี ในชุมชน
- ค่าแปรงสีฟันเด็ก จำนวน 400 ชิ้น ๆละ 15 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
2.การแปรงฟันอย่างมีคุณภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
- ชุดกิ๊ฟเซต (กระเป๋า ยาสีฟัน แปรงสีฟัน) จำนวน 100 ชิ้น ๆ ละ 55 บาท เป็นเงิน 5,500 บาท
3.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวานเพื่อให้บริการตรวจฟันและแนะนำการดูแลช่องปากด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี
- ค่าแปรงสีฟันผู้ใหญ่ จำนวน 250 ชิ้นๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน 7,500 บาท 4.อบรมให้ความรู้และฝึกทักษะ การแปรงฟันที่ถูกวิธีแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2 โรงเรียน โรงเรียนละ 50 คน รวมเป้น 100 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท รวม 2 มื้อ จำนวน 100 คน เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 70 บาท รวม 1 มื้อ จำนวน 100 คน เป็นเงิน 7,000 บาท
5.ฝึกและทดสอบการแปรงอย่างถูกวิธีของผู้ปกครองเด็กอายุ 0-2 ปี จำนวน 40 คน
- ชุดกิ๊ฟเซต (ยาสีฟัน แปรงสีฟัน แก้วหัดดื่ม ) จำนวน 40 ชิ้น ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท รวม 35,000 บาท
การส่งเสริม ป้องกันโรคในช่องปาก เชิงรุกในและนอกสถานบริการ
ขึ้นทะเบียนเด็กอายุ 0-12 ปีทุกราย ในเขตรับผิดชอบของรพ.สต. บาโงยซิแน
1. จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกระดับชั้นทุกห้องเรียนโดยพร้อมเพรียงกันทุกวัน
2. จัดคลินิกฟันสวยเริ่มที่ซี่แรก โดยให้บริการเคลือบฟลูออไรด์วานิชในและนอกสถานบริการ
3. จัดทำแผนการปฏิบัติงานนอกสถานที่ โดย จนท. ร่วมกับ อสม.
4. จัดกิจกรรมตรวจฟันและให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเบาหวาน
5. จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และการแปรงฟันที่ถูกวิธี แก่หญิงตั้งครรภ์ และ ผู้ปกครองนักเรียนในชุมชน
สร้างแกนนำและรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชุมชน โรงเรียนตระหนักถึงโรคในช่องปากและสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพช่องฟัน
1. อบรมให้ความรู้และทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี แก่แอกนนำสาธารณสุข อสม. สตรีมีครรภ์ ประชาชนทั่วไป ผู้สูงอายุ และนักเรียน
2.สร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ได้แก่ ฝึกทักษะการแปรงฟันแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี การควบคุมกำกับ และการประเมินผล 1. ติดตามผลการดำเนินงาน
2. ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการเพื่อถอดบทเรียน ประเมินปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินโครงการ พร้อมข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข
3. สรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนประถมศึกษามีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันโดยมีการควบคุมกำกับ ดูแล โดยแกนนำนักเรียน หรือครูประจำชั้น
  2. โรงเรียนมีกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ชัดเจน เป็นรูปแบบและสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี
  3. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีทัศนคติที่ดีในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันของเด็กก่อนวัยเรียน
  4. ชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
  5. หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการตรวจสุขภาพฟัน OHI และรักษาทางทันตกรรมตามชุดสิทธิประโยชน์
  6. ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเบาหวาน มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2563 15:57 น.