กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน


“ โครงการชุมชนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2563 ”

อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นายสุพงศ์ ดอคา

ชื่อโครงการ โครงการชุมชนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2563

ที่อยู่ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63-L4147-05-02 เลขที่ข้อตกลง 63-L4147-05-01

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2020 ถึง 30 กันยายน 2020


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการชุมชนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2563 จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการชุมชนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2563



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการชุมชนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2563 " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 63-L4147-05-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2020 - 30 กันยายน 2020 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำ ให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมการจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่ และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากร และมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำ การที่มนุษย์สร้างการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศ การเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่ เป็นไปอย่างรวดเร็ว

จากรายงานเฝ้าระวังสถานการณ์ไข้เลือดออก ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธันวาคม 2561ข้อมูลจากกลุ่มโรคติดต่อนำโดยยุงลาย สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงกรมควบคุมโรค สถานการณ์ไข้เลือดออกในปี 2562 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก (Dengue fever: DF, Denguehemorrhagic fever: DHF, Dengue shock syndrome : DSS) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 สะสมรวม 128,964 รายอัตราป่วย 194.51 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 133 ราย ในพื้นที่เขต 12 พบผู้ป่วย 9,628 รายอัตราป่วย 109.10 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 10 ราย สงขลา 4 ราย สตูล 0 ราย ตรัง 0 ราย พัทลุง 1 ราย ปัตตานี 0 ราย นราธิวาส 4 ราย ยะลา 1 ราย และสำหรับพื้นที่จังหวัดยะลา พบผู้ป่วย 1,438 ราย อัตราป่วย 271.42 ต่อประชากรแสนคน ข้อมูลจากรายงาน 506 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 พื้นที่อำเภอยะหา พบผู้ป่วยจำนวน 102 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต พื้นที่ตำบลบาโงยซิแน พบผู้ป่วยจำนวน 45 ราย อัตราป่วย 733.11 ต่อแสนประชากร ไม่พบผู้เสียชีวิต

และข้อมูลสถานการณ์โรคไข้มาลาเรีย ปี 2562 พบผู้ป่วยจำนวน 711 ราย จังหวัดยะลาพบผู้ป่วยจำนวน 129 ราย อำเภอยะหา พบผู้ป่วยจำนวน 79 ราย และตำบลบาโงยซิแน พบผู้ป่วย จำนวน 6 รายอัตราป่วย 46.79 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้เสียชีวิต

จากปัญหาดังกล่าวจึงนำเข้าสู่การทำเวทีประชาคมหมู่บ้าน เพื่อสะท้อนถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ชุมชนเห็นความสำคัญของปัญหา และจากการทำเวทีประชาคมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่พบว่าประชาชนยังไม่ตระหนักและให้ความสำคัญกับการควบคุมป้องกันแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ประกอบกับบริบทชุมชน เป็นชุมชนกึ่งเมือง มีประชากรหนาแน่น

ชุมชนตำบลบาโงยซิแน และโรงพยาบาลส่งเสริมส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน จึงได้เสนอแนวคิด “การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือด และโรคนำโดยแมลง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน” ขึ้นโดยภาคีเครือข่ายในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการชุมชนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2563

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลง
  2. เพื่อให้มีการพัฒนาบ้านสะอาด รอบบ้านน่ามอง ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนสถานที่ราชการ มัสยิดและโรงเรียน
  3. เพื่อให้หลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค
  4. เพื่อให้แกนนำสาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ฝึกอบรมให้ความแก่แกนนำประชาชน นักเรียน อสม.
  2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์
  3. การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและกำจัดตัวเต็มวัย
  4. ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุ และตัวเต็มวัย บ้านผู้ป่วย และบ้านสงสัยป่วย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลง
2.ประชาชน นักเรียน อสม. มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุม และป้องกันโรค จนสามารถดำเนินการควบคุม และป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงได้เองอย่างต่อเนื่อง
3.สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลง
ตัวชี้วัด : เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลง
733.11 50.00

 

2 เพื่อให้มีการพัฒนาบ้านสะอาด รอบบ้านน่ามอง ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนสถานที่ราชการ มัสยิดและโรงเรียน
ตัวชี้วัด : 1. ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนให้ค่า HI ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 10 2. จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนสถานที่ราชการศูนย์เด็กมัสยิดมีค่าเท่ากับร้อยละ 0 (CI = 0)
12.00 10.00

 

3 เพื่อให้หลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค
ตัวชี้วัด : 1. ทุกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค
45.00 10.00

 

4 เพื่อให้แกนนำสาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ของแกนนำสาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 6480
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลง (2) เพื่อให้มีการพัฒนาบ้านสะอาด รอบบ้านน่ามอง ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนสถานที่ราชการ มัสยิดและโรงเรียน (3) เพื่อให้หลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค (4) เพื่อให้แกนนำสาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ฝึกอบรมให้ความแก่แกนนำประชาชน นักเรียน อสม. (2) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ (3) การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและกำจัดตัวเต็มวัย (4) ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุ และตัวเต็มวัย บ้านผู้ป่วย และบ้านสงสัยป่วย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการชุมชนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2563 จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63-L4147-05-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสุพงศ์ ดอคา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด